ผลการดำเนินงาน ศธ.

ศึกษาธิการ – สรุปผลการดำเนินงานด้านการศึกษาในรอบ 3 เดือนของกระทรวงศึกษาธิกา (กันยายน-ธันวาคม 2557) ความก้าวหน้าตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และทิศทางการดำเนินงานด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การบริหารงานของพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ



1. การดำเนินงานด้านการศึกษาช่วงที่ผ่านมาของรัฐบาล


จากการที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557  โดยได้กำหนดนโยบายไว้ 11 ด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 19  ที่ระบุให้รัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน และส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ


กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะที่มีภารกิจในการจัดและส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการนำพาประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน โดยมีบทบาทหลักดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในข้อที่นโยบายการศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม  นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการยังเป็นส่วนราชการที่สำคัญในการร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายที่ 1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์  นโยบายที่ 2 นโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ  นโยบายที่ 7 นโยบายการส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน   นโยบายที่ 8 นโยบายการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม และนโยบายที่ 10 นโยบายการส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ


ในช่วงเวลาที่ผ่านมา 3 เดือน นับตั้งแต่ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร และพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการวันแรกที่กระทรวงศึกษาธิการ ภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 จนถึงเดือนธันวาคม 2557 ได้มีผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านต่างๆ ดังนี้


นโยบายที่ 1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์


– ได้จัดงานเทิดไท้พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดินระหว่างวันที่ 3 – 5 ธันวาคม 2557 ณ บริเวณโดยรอบกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์และปฏิญาณตนเป็นข้าราชการที่ดีของแผ่นดิน


– จัดกิจกรรมคาราวานจิตอาสา กระทรวงศึกษาธิการ โดยให้หน่วยงานในสังกัดทุกแห่งในส่วนกลางจัดข้าราชการออกไปบำเพ็ญประโยชน์ในสถานที่ต่างๆ อาทิ วัด โรงพยาบาล บ้านพักคนชรา


จัดโครงการเสริมสร้างอุดมการณ์ความรักชาติ ศาสนา และเทิดทูนพระมหากษัตริย์ โดยจัดประชุมผู้บริหาร กศน. ทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอใน 4 ภูมิภาค เพื่อสร้างความรู้ ความตระหนัก เทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในชาติ รวมทั้งสามารถนำไปถ่ายทอดแก่ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทุกภาคส่วน 


นโยบายที่ 2 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ


– ดำเนินโครงการรณรงค์และแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โดยเข้าไปสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกัน
ยาเสพติดแก่เด็กปฐมวัยในโรงเรียนอนุบาล และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่งทั่วประเทศ 20,000 แห่ง


จัดกิจกรรมป้องกันเด็กและเยาวชนก่อนวัยเสี่ยงให้มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ในโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนทุกแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน


จัดทำคู่มือจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6  และส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับโรงเรียนและสถานศึกษาเป้าหมายทุกแห่งทั่วประเทศ ที่เป็นสถานศึกษาขยายโอกาสมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ทั้งสังกัดภาครัฐและเอกชน 


– ดำเนินโครงการ To Be Number One โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เพื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษามาอย่างต่อเนื่อง


– ดำเนินการจัดตั้งและการดำเนินงานศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) หรือกระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้าณ สำนักงานศึกษาธิการ ภาค 12 จังหวัดยะลา โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้การดำเนินงานทุกหน่วยในพื้นที่ให้มีเอกภาพและบูรณาการงานของกระทรวงศึกษาธิการ มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและความสันติสุขอย่างยั่งยืน  พัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีให้มีคุณภาพ จัดค่ายพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ จัดค่าย O–NET .6 และ ป.6 จัดกิจกรรมสนับสนุนการฝึกอาชีพในโรงเรียนและกิจกรรมเข้าค่ายอาเซียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา จัดสรรเงินอุดหนุนสถาบันศึกษาปอเนาะ สำหรับเป็นค่าบริหารจัดการสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 373 แห่ง จัดสรรทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกเพื่อผลิตและพัฒนาอาจารย์และบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาลที่ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 จังหวัด นอกจากนี้ได้มีการพัฒนาชุดนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย หลักสูตร 350 ชั่งโมงอ่านออกเขียนได้ เพื่อให้เป็นหลักสูตรต้นแบบในการสอนภาษาไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งพัฒนาครูเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการสอนภาษาไทย จำนวน 4 หลักสูตร 


นโยบายที่ 4 การศึกษาและการเรียนรู้ ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม


มุ่งมั่นที่จะนำการศึกษามาสร้างสังคมไทยให้เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพและคุณธรรม โดยเร่งปฏิรูปการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาซึ่งใช้ผลประเมินเป็นโจทย์ในการพัฒนา นำแนวทางการสอบ PISA มาใช้ขับเคลื่อนระบบการวัดและประเมินสมรรถนะผู้เรียน


– ดำเนินโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พัฒนาทักษะการเรียนรู้ และคุณลักษณะการเป็นพลเมืองไทยที่ดี โดยกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการปฏิรูปการเรียนรู้ในระดับเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้ในสถานศึกษา โดยใช้ระบบ Coaching Team และ Teacher’s Feedback


ดำเนินกิจกรรมยกระดับคุณภาพการศึกษาในเขตเป้าหมาย เพื่อยกระดับผลทดสอบระดับชาติ (O-NET) ของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ดำเนินการส่งเสริมผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ (เด็กอัจฉริยะ) เพื่อเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดดในอนาคต 


          ด้านการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ยากจนหรือด้อยโอกาส 


ศธ.ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ค่าจัดการเรียนการสอน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน และค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในภาคเรียนที่ 2/2557 และภาคเรียนที่ 1/2558 มีผู้เรียนได้รับการสนับสนุน จำนวน 11,591,627 คน


– ดำเนินการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในปีการศึกษา 2557 สำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่จำนวน 54,946 ราย


โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว จำนวน 4 รุ่น มีผู้ได้รับทุน 3,093 คน ให้ไปเรียนต่อในสาขาตามที่สนใจในต่างประเทศ และมีการปรับแนวทางการดำเนินงานที่การส่งเสริมให้ไปเรียนสายอาชีวศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการด้านกำลังคนของประเทศในสายอาชีวะจำนวนมาก ทั้งภาคอุตสาหกรรม การไฟฟ้า และเกษตรกรรม โดยเฉพาะผู้ที่จบสายอาชีวะโดยตรงจากต่างประเทศ


ดำเนินงาน กศน.ตำบล จำนวน 7,424 แห่ง โดยจัดบริการการศึกษาให้แก่เด็กที่ตกหล่น ยากจน และไร้ที่พึ่ง อันเนื่องมาจากอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล หรือยากลำบากในการคมนาคม ติดต่อสื่อสารเด็ก/เยาวชนที่ออกกลางคันจากระดับการศึกษาภาคบังคับ กลุ่มผู้จบการศึกษาภาคบังคับแต่ไม่ได้เรียนต่อ กลุ่มเด็ก/เยาวชนเร่ร่อน/ไร้บ้าน กลุ่มเด็ก/เยาวชน/บุตรกรรมกรก่อสร้าง


          ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต


นำเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านโครงการขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเข้ามาใช้ โดยจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ. จำนวน 15,369 โรง ครอบคลุมผู้เรียน จำนวน 1,015,974 คน และได้เตรียมการขยายไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การศึกษานอกระบบในวัดแบบไม่เป็นทางการ เชื่อมโยงระหว่างบ้าน-วัด-โรงเรียน (บวร) เข้าด้วยกัน โดยการจัดการเรียนการสอนในขั้นพื้นฐาน อาทิ จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดค่ายพักแรมลูกเสือเนตรนารี เป็นต้น การจัดการศึกษาต่อเนื่อง (ฝึกอาชีพระยะสั้น)


ดำเนินโครงการจัดการความรู้เพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งชุมชน โดยส่งเสริมจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนในระดับต่ำกว่าปริญญา การศึกษาเพื่ออาชีพ และจัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรเพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งมีเป้าหมายการให้บริการ 15,025 คน ใน 44 ชุมชนทั่วประเทศ


            การส่งเสริมค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ 


ดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ใฝ่ค่านิยมโดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นนักศึกษา ประชาชน จำนวน 64,900 คน ใน 928 อำเภอทั่วประเทศ


ดำเนินโครงการส่งเสริมความเป็นพลเมือง โดยผ่านทักษะการอ่านคำกลอนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยโปร่งใส บัณฑิตไทยไม่โกงโดยใช้หลักค่านิยม 12 ประการ คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ครอบครัว ศาสนา และชุมชน ในการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง รวมทั้งจัดทำบทเรียนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม


– กิจกรรมการพัฒนาผู้บริหารและครูเอกชนในระดับจังหวัด เรื่อง การคิดวิเคราะห์การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ความพอเพียง การเสริมสร้างค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ที่มีเป้าหมายเป็นผู้บริหารและครู จำนวน 30,180 คน 


            ด้านการส่งเสริมอาชีวศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะโดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีความต้องการแรงงาน และพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาให้เชื่อมโยงกับมาตรฐานวิชาชีพ 


ออกประกาศเรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชน มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่ากรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา


– จัดงานอาชีวศึกษาทวิภาคีไทยเพื่อสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจัดอาชีวศึกษา
ระบบทวิภาคี ส่งเสริมสนับสนุนให้มีผู้เข้าเรียนอาชีวศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทวิภาคีให้มากขึ้น


ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถานประกอบในการพัฒนาและผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษา อาทิ ร่วมกับหอการค้าเยอรมันไทย หอการค้าไทย และกลุ่มมิตรผล เพื่อผลิตกำลังคนรองรับภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตรและภาคบริการ โดยนำร่องในวิทยาลัยเทคนิคและวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 6 แห่ง ใน 3 จังหวัด ข้อตกลงความร่วมมือกับศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) เพื่อพัฒนากำลังคนด้านการควบคุมเรือประมง ในระยะเวลา 3 ปี มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน  4 แห่ง   ข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัทโฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) โดยร่วมกันพัฒนาหลักสูตรผลิตกำลังคนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาธุรกิจค้าปลีก เพื่อป้อนอุตสาหกรรมค้าปลีกของประเทศ


          การพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามที่สอน


– ดำเนินโครงการผลิตครูมืออาชีพ ในรูปแบบประกันการมีงานทำ เพื่อผลิตครูคุณภาพและแก้ไขปัญหาขาดแคลนครู ในปี 2557 มีนิสิตนักศึกษาครูที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 5 และกลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 1,047 คน ซึ่งได้รับการบรรจุเข้ารับราชการครูเรียบร้อยแล้ว


– ดำเนินการพัฒนาครูผู้สอนในทุกระดับการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน อาทิ จัดทำหลักสูตรเพื่ออบรมครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (ครู สควค.) เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เตรียมการพัฒนาบุคลากรด้านการวัดผลประเมินผลที่เน้นการคิดวิเคราะห์ตามแนวทาง PISA วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ความรู้ สามารถนำไปจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การแก้ไขปัญหาความขาดแคลนครู  ศธ.ได้จัดทำประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง กำหนดประเภทวิชาและสาขาวิชาขาดแคลน ด้านอาชีวศึกษา (9 ประเภทวิชา 86 สาขาวิชา) จัดทำแนวทางปฏิบัติในการออกหนังสืออนุญาตปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กรณีผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาวิชาขาดแคลน กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยที่มีเหตุพิเศษ ปรับหลักเกณฑ์และวิธีการโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นและข้าราชการอื่นมาบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน  ปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งครูผู้ช่วย และพัฒนาระบบเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังครูในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอาชีวศึกษา


นโยบายที่ 7 การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน


ได้มีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน รวมถึงภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (post 2015) .. 2559 – 2563


– จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอาเซียนศึกษาในหน่วยงานในสังกัด เพื่อประสานและขับเคลื่อนความเข้าใจ ส่งเสริมต้นแบบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงด้านภาษา


จัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินความร่วมมือกับประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม


พัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากล หลักสูตรภาษาอังกฤษ EP MEP EIS ในสถานศึกษา


จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา


ดำเนินการพัฒนาทักษะการเรียนการสอน ด้านภาษาอังกฤษและ ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน โดยพัฒนาครูวิทยากรแกนนำการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ English Bilingual Education (EBE)


จัดค่ายวิชาการภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนภายในเดือนมกราคม 2558 


นโยบายที่ 8 การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม


มุ่งเน้นการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้กับการทำงาน การให้บุคลากรด้านการวิจัยของภาครัฐสามารถไปทำงานภาคเอกชน และสามารถสร้างสังคมนวัตกรรม โดยสนับสนุนทุนให้แก่มหาวิทยาลัยภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา 70 แห่ง รวมทั้งสิ้น 538 โครงการ สนับสนุนผลงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้โดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ รวมไปถึงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี


ดำเนินโครงการบูรณาการการยกระดับการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับสู่มาตรฐานสากล โดยพัฒนาและขยายผลอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเยาวชน


 – ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าโครงการอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2557 ซึ่งมีนักเรียนสมัครสอบเข้าแข่งขันจำนวน 131,740 คน


ดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตครูผู้มีความสามารถพิเศษ ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) โดยสรรหาผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 1,136 คน 


นโยบายที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ


ได้กำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน โดยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป...) ในการให้ความรู้กับบุคลากรในสถาบันการศึกษา และกระบวนการจัดการโดยการวางระบบ และให้ ป... จังหวัดมีส่วนร่วมกับโครงการขนาดใหญ่


 – ดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาป้องกันการทุจริตโรงเรียนสุจริต


จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลงาน Best Practice “โรงเรียนสุจริต ผลิตนวัตกรรม นำสู่การปฏิบัติโดยมีผู้ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยนักเรียน ครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์/นักวิชาการ 


 



2. ความก้าวหน้านโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษา


1) ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา


กระทรวงศึกษาธิการเป็นองค์กรหลักที่มุ่งจัดและส่งเสริมการศึกษาใหประชาชนมีความรูความสามารถ มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเองเสริมสร้างสังคมคุณธรรม พัฒนาสังคมฐานความรูและสามารถยืนหยัดในเวทีโลกบนพื้นฐานของความเป็นไทย โดยมีการจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง เพื่อทำหนาที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกํากับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา ติดตามตรวจสอบและประเมินผล


แต่จากการปฏิบัติราชการพบสภาพปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญคือ การกระจายโอกาสทางการศึกษายังไมเป็นธรรมและทั่วถึง เกิดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงบริการการศึกษา มาตรฐานและการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในทุกระดับกำหนดจากส่วนกลาง ซึ่งไมสอดคลองกับสภาพปัจจุบันและความแตกต่างของแต่ละท้องถิ่น การส่งเสริมการจัดการศึกษายังไมเหมาะสมกับการศึกษาแต่ละระดับและประเภท นโยบายการผลิตผู้สำเร็จการศึกษาไมสอดคลองกับทิศทางความต้องการของตลาดแรงงานนโยบายการบริหารจัดการศึกษาขาดความต่อเนื่องและชัดเจน เนื่องจากมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง โครงสร้างการจัดระเบียบบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการยังไมสอดคลองกับภารกิจและไมเป็นเอกภาพ การตัดสินใจการบริหารและจัดสรรงบประมาณรวมศูนย์กลางไว้ในส่วนกลาง สถานศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานมีปริมาณไม่เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการในทุกระดับและทุกสาขาวิชา


ดังนั้น จากสภาพปัญหาอุปสรรคต่างๆ จึงเป็นกรอบกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ดังนี้


1. เพิ่มและสร้างโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทยอย่างเท่าเทียม


2. ปฏิรูปการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพการศึกษา


3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และส่งเสริมการวิจัยพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน


4. ผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ


5. ปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ


6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทันสมัย


2) เป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา


กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่จัดและส่งเสริมการจัดการศึกษาของชาติ ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ และการพัฒนาประเทศโดยรัฐบาลมุ่งจัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ


1. สร้างคุณภาพคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้ ด้วยความใฝ่รู้และทักษะที่เหมาะสม


2. คนไทยเป็นคนดีมีคุณธรรม


3. สร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่


สำหรับกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ ได้กำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษาไว้ คือ สร้างระบบการศึกษาของไทยเป็นที่ยอมรับและเกิดความมั่นคงยั่งยืน  สร้างโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทยอย่างเท่าเทียมเป็นธรรม ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานสากล  ยกสถานะวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ครูเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี และบูรณาการการปฏิบัติราชการทุกระดับเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล


3) ผลการดำเนินงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา


กระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้


คณะที่ปรึกษา ประกอบด้วย นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์  นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์  – นายตวง อันทะไชย  นางทิชา ณ นคร นายมีชัย วีระไวทยะ


คณะกรรมการ  โดยมีพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ นายกฤษณพงศ์  กีรติกร และพลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการ โดยมีกรรมการอีก 21 คน เช่น – พลเอก สุทัศน์  กาญจนานนท์กุล  – นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ – นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา  – นายวิจารณ์ พานิช  – นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์  – นายสมชัย ฤชุพันธุ์ – นางประภาภัทร นิยม – นายวรากรณ์ สามโกเศศ  – นางสิริกร มณีรินทร์  – นายนคร ตังคะพิภพ  – นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ – นายอมรวิชช์ นาครทรรพ  – นายสมพร ใช้บางยาง  – นางสุทธศรี วงษ์สมาน – นายแพทย์กำจร ตติยกวี – นายกมล  รอดคล้าย  – นายชัยพฤกษ์  เสรีรักษ์ – นายพินิติ รตะนานุกูล เป็นกรรมการและเลขานุการ 
นายประวิต เอราวรรณ์  นายชาญ ตันติธรรมถาวร และนายเฉลิมชนม์  แน่นหนา เป็นผู้ช่วยเลขานุการ


อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว มีหน้าที่จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปด้านการศึกษา เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับด้านการศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มอบหมายบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการตามที่เห็นสมควร รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานเพื่อดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย


คณะกรรมการดังกล่าว ได้ประชุมครั้งแรกไปแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ โดยที่ประชุมได้หารือถึงกรอบการปฏิรูปการศึกษา เพื่อต้องการให้การปฏิรูปการศึกษาเป็นนโยบายพื้นฐานของทุกรัฐบาล ที่ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาล ก็ควรดำเนินการตามกรอบ เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาของไทยเกิดความต่อเนื่อง ยั่งยืน และไม่ถูกแทรกแซงจากระบบการเมือง ทั้งยังเห็นพ้องในหลักการว่าควรมี คณะกรรมการระดับชาติ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิรูปการศึกษา ทั้งระยะเร่งด่วน (1 ปี) ระยะปานกลาง (1-3 ปี) และระยะยาว (5-10 ปี)


นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ ในคณะกรรมการชุดนี้ 7 คณะ เพื่อเป็นกลไกการดำเนินงานกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อาทิ คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาระบบงบประมาณและทรัพยากรเพื่อการศึกษา, คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล, คณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายการศึกษา, คณะอนุกรรมการด้านการกระจายอำนาจ, ด้านการปฏิรูปหลักสูตร ด้านการผลิตและพัฒนาครู เป็นต้น


ประการสำคัญ คือ ได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการปฏิรูประบบการเรียนรู้สู่ผู้เรียน (Education Reform Lab & Coaching Lab) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการเพื่อนำร่องการกระจายความรับผิดชอบ (หรือกระจายอำนาจ) ลงสู่เขตพื้นที่การศึกษา เป็นเวลา 3 ปีต่อเนื่อง (พ.ศ.2558-2560) ในเขตพื้นที่การศึกษา 20 เขตๆ ละ 15 โรงเรียน ครอบคลุมโรงเรียนแกนนำซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีผลการเรียนรู้ต่ำเป็นกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน รวมทั้งสิ้น 300 โรง โดยให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาวิเคราะห์สถานภาพและตั้งโจทย์การพัฒนาโรงเรียนดังกล่าว พร้อมทั้งจัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน (Reform Lab) และปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน (Coaching Lab) จากนั้นจึงจะร่วมกันเลือกประเด็นปัญหาสำคัญที่ต้องการแก้ไข เพื่อให้คณะทำงาน พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และนักประเมินผลติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะทุกๆ 3 เดือน และ 6 เดือนต่อไป


ทั้งนี้ จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 7 มกราคม 2558 ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่า เพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ให้การปฏิรูปการศึกษาเป็นการวางรากฐานที่ดีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆ ของประเทศอย่างยั่งยืน จึงจะให้มีการประชุมหารือร่วมกันมากขึ้น ทั้งในส่วนของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการทั้ง 7 คณะ อาจเป็นเดือนละ 1-2 ครั้ง



3. ทิศทางการดำเนินงานด้านการศึกษา


การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติเป็นคำพูดที่ชี้ให้เห็นว่าการศึกษานั้นมีความสำคัญต่อการพัฒนาคนและประเทศ เพราะคนถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนทรัพยากรในด้านอื่นๆ ของชาติ หากประเทศใดประชาชนมีความรูสูง มีความฉลาดทั้งด้านปัญญา อารมณ์และจิตสำนึกเพื่อสังคม มีความเข้มแข็งทางภูมิปัญญามากพอที่จะช่วยกันแกไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ย่อมส่งผลให้ประเทศนั้นมีความเจริญตามไปด้วย


จึงสรุปไดาการศึกษาเป็นกลไกที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาชาติ เนื่องจากการศึกษาจะช่วยให้ประชาชนอ่านออกเขียนไดคิดวิเคราะห์เป็น เรียนรูคุณธรรมจริยธรรม ความเป็นพลเมือง และการ