ตำนาน
- หน้าแรก
- ตำนาน
ตำนาน
ทั้งบุคลากรการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
พระราชทานวังจันท์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ระหว่างวันที่ ๗ เมษายน ๒๔๔๐ นั้น ได้ทรงเห็นการพัฒนาบ้านเมืองและการคมนาคม จึงมีพระราชดำริ ที่จะพัฒนาบ้านเมืองและการคมนาคม จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนา เมืองไทยให้ทันสมัยเทียมเท่าต่างประเทศ
หลังจากเสด็จกลับจาก ยุโรปแล้ว ได้เสด็จไปประทับแรมที่ตำบลสามเสน เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๑ ต่อจากนั้นได้โปรดให้ใช้เงินพระคลังข้างที่อันเป็นส่วนของ พระมหากษัตริย์หาซื้อที่ดินที่สวนต่อที่นาในระหว่างคลองผดุง กรุงเกษมจนถึงคลองสามเสน โปรดให้สร้างพลับพลาขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ พระราชทานนามว่า “สวนดุสิต” แล้วสร้างถนน พระราชทานนามว่า “ถนนราชดำเนิน” ตามแบบอย่างถนนเมล์ใน กรุงลอนดอนและถนนชองปัส-เอลิเซส์ ในกรุงปารีส มีสะพาน หินอ่อนงดงาม คือ สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ และสะพานมัฆวานรังสรรค์ มีการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม โดยใช้วัสดุและช่างจากอิตาลี และมีการสร้างอนุสาวรีย์ พระบรมรูปทรงม้าด้วย เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงพระราชสมภพ ครั้นมีพระชนมายุ 10 พรรษา ได้เสด็จ เข้าศึกษาใน โรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง และต่อมาได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทรงได้รับสถาปนาเป็นสยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๓๗ และเสด็จกลับสู่ประเทศไทยผ่าน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๔๔๕ รวมระยะเวลาที่ประทับในประเทศอังกฤษ ๗ ปี ๘ เดือน พ.ศ. ๒๔๔๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เงินพระคลัง ข้างที่ซื้อที่ดินเพื่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ที่นครปฐม เริ่มก่อสร้างพระราชวังในปี พ.ศ.๒๔๕๐ สร้างเสร็จ พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานที่ดินเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ด้านทิศตะวันตก ให้แก่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เพื่อสร้างเป็นวังที่ประทับสำหรับพระเกียรติยศ เรียกชื่อ ว่า”วังจันท์” โดยได้พระราชทานเงินค่าก่อสร้างหมื่นชั่งด้วย
กระทรวงธรรมการย้ายมาอยู่วังจัน
กระทรวงธรรมการ ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาสถาปนาขึ้นเมื่อ วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ มีที่ทำการเริ่มแรกอยู่ริมประตูพิมานไชยศรี ในพระบรมมหาราชวัง มีเสนาบดีคน แรกคือ พระยาภาสกรวงษ์ (พร บุนนาค) ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้ย้ายไปที่ตึกสุนันทาลัยปากคลองตลาดปี ๒๔๔๘ -๒๔๕๒ ใช้ที่บริเวณ พระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเป็นโรงละคอนแห่งชาติ ต่อมา พ.ศ.๒๔๕๒ ใช้บ้านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ปากคลองโอ่งอ่าง ซึ่งต่อมาใช้เป็นที่ทำการของ กรมประมง และเช่าที่ตึกของบริษัทเอส สมิตแอนด์ซัน ซึ่งต่อมาเป็นบริษัท ไฟฟ้าวัดเลียบและการไฟฟ้านครหลวง และในต้นปี ๒๔๘๒ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้เข้ามาใช้ สถานที่วังจันทรเกษม ปรากฎหลักฐานตามรายงานการ ประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ ๗๗/๒๔๘๒ สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และนาวาเอก หลวงสินธุ์สงครามชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวง “ธรรมการ” ว่าย
กระทรวงธรรมการรายงานว่า
ที่ว่าการกระทรวงธรรมการมีสถานที่คับแคบมากไม่พอกับกิจการที่กำลังขยายตัวอยู่ในเวลานี้ได้
พิจารณาว่าวังจันทรเกษม ซึ่งใช้เป็นโรงเรียนการเรือนอยู่นี้มีอาณาเขตกว้างขวาง
เหมาะสมที่จะดัดแปลงเป็นที่ว่าการกระทรวงธรรมการได้ ที่ประชุมตกลงอนุมัติให้ดำเนินการ
เป็นเงิน ๔๓,๐๐๐ บาท ส่วนที่ว่าการกระทรวงธรรมการเดิมนั้น ให้ขึ้นทะเบียนเป็นราชพัสดุ ต่อไป
๑๗ หลวงสินธุ์สงครามชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ ได้มอบหมายให้ หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) นายช่าง กรมการศาสนา ออกแบบ ดัดแปลงวังจันทรเกษม ให้เป็นที่ทำการของกระทรวงธรรมการ เข้าใจว่าจะได้มีการสร้างตราเสมาธรรมจักรขนาดใหญ่ ทำด้วยปูนปั้นมี ลวดลายเถาด้านข้างสวยงามมาก เพื่อบังตราราชวัลลภของทหารมหาดเล็กรักษา พระองค์ในตอนนี้ เพราะต้องดัดแปลงอาคารของทหารเป็นอาคารสำนักงาน ของกระทรวงธรรมการ เนื่องจากหลวงวิศาลศิลปกรรม เป็นนายช่างไทยชั้นยอดเยี่ยม เคยเป็น ครูโรงเรียนเพาะช่างและอาจารย์ใหญ่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย คงจะ ไม่อยากรื้อทำลายตราราชวัลลภของทหารมหาดเล็ก ดังนั้น จึงสร้างหน้าบัน อีกชั้นหนึ่งมีตราเสมาธรรมจักร ซึ่งเป็นตราที่ได้รับพระราชทาน ครอบหน้า บันตราราชวัลลภของเดิม คล้ายวิธีบูรณะเจดีย์เก่าของไทยที่สร้างเจดีย์ใหม่ครอบ เจดีย์เดิม ปรากฎหลักฐานว่า ณ สถานที่ดังกล่าวมีหน้าต่างสองชั้นซ้อนกัน อยู่ทั้ง ชั้นล่างและชั้นบน มีปูนปั้นตราธรรมจักรกลมพร้อมลายเถาที่หน้ามุขอาคาร ทั้งสองข้างด้วย กระทรวงธรรมการได้ย้ายเข้ามาใช้สถานที่วังจันทรเกษม เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๓..