ศธ.จัดอบรมรวมพลังสร้างสรรค์ทีม “MOE One Team“
กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P.Group) จัด
ในการนี้
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พล.ต.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, ม.ล.ปริยดา ดิศกุล ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ (ซี 9-10-11) ตามโครงการเสริมสร้างศักยภาพการทำงานเป็นทีม “รวมพลังสร้างสรรค์ทีม” หรือ MOE One Team ร่วมกับผู้บริหารระดับ CEO ของ
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้มีการหารือร่วมกับผู้บริหาร C.P.Group หลายครั้งเพื่อให้เกิดการฝึกอบรมครั้งนี้ ด้วยเห็นว่าการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องไม่ยอมที่จะหยุดที่จะคิด แต่ต้องคิดเพื่อจะทำสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา และการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น จะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องมีทีมงานที่แข็งแกร่ง การสร้างทีมจึงจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นจากสร้างความรู้สึกผ่อนคลายในทีมให้เกิดขึ้นร่วมกันก่อน และต้องมีวิธีการให้เกิดความเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันในระดับผู้บริหารระดับสูงสุดของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นจึงจะพัฒนาต่อยอดเชื่อมโยงการทำงานออกไปในวงกว้างมากขึ้น เช่น แสวงหาความร่วมมือกับภาคเอกชนตามโครงการสานพลังประชารัฐ รวมถึงการฝึกอบรมผู้บริหารระดับสูงในครั้งนี้
เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการมีงานใหญ่ที่ต้องดำเนินการคือ การปฏิรูปการศึกษาด้วยเวลาอันจำกัด เพราะที่ผ่านมามีความล้มเหลวที่เคยเกิดขึ้น และอาจจะมีความล้มเหลวรออยู่ในวันข้างหน้าได้ หากไม่ใช้โอกาสนี้ การปฏิรูปแม้จะดำเนินไปได้ แต่ก็จะช้ามาก
การประชุมครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ผู้บริหารระดับซี 9-10-11 ของกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมเวิร์คช็อปตลอดระยะเวลา 3 วัน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-20 พฤศจิกายน 2559 โดยในวันแรกที่ CEO ของ C.P.Group เข้าร่วมการอบรมพร้อมกันด้วย
ในแง่ของความแตกต่างการทำงานเป็นทีมระหว่างภาครัฐและเอกชนนั้น รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ผู้บริหารภาคเอกชนส่วนใหญ่มักจะได้ทำงานอยู่กับที่ หากมีความสามารถมากพอ ในขณะที่ผู้บริหารภาครัฐ ไม่ว่าจะเก่งเพียงใด ก็จะต้องเติบโตและก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นตามจังหวะและโอกาสของแต่ละคน รวมทั้งกฎ ระเบียบ และกติกาของภาครัฐจะมีมากกว่าภาคเอกชน ทำให้ผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการทำงานได้คล่องตัวน้อยกว่าภาคเอกชน จึงจำเป็นจะต้องปรับแก้กฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้ราชการมีความคล่องตัวมากขึ้น
ผลของการอบรมตลอด 3 วันนี้ ต้องการให้ผู้บริหารทุกท่านนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับกลับไปสร้างระบบในองค์กรของตนเอง ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ เช่น ระบบข้อมูลด้านการศึกษาที่จะต้องถูกต้องตรงกันทุกหน่วยงาน เป็นต้น สิ่งสำคัญอีกประการที่คาดหวัง คือความเชื่อมโยงในการทำงานและประสานงานร่วมกันได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมีรัฐมนตรี ทั้งยังคาดหวังว่าการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จะสร้างผลลัพธ์ (Outcome) ตามที่คาดหวังได้อย่างชัดเจน แต่ผลลัพธ์ด้านการศึกษา อาจจะไม่ชัดเจนเท่าภาคเอกชน เพราะงานด้านการศึกษาต้องใช้เวลา อาจไม่เห็นผลในทันที
ท้ายนี้ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวแสดงความขอบคุณคณะผู้บริหารของ C.P. Group ที่ได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันในคณะทำงานสานพลังประชารัฐ และความร่วมมือในการอบรมครั้งนี้
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงการฝึกอบรมในครั้งนี้ต้องบันทึกไว้ในประวัติการทำงานส่วนตัวว่า เป็นความทรงจำที่ดีมากอีกครั้งหนึ่งของชีวิตที่ได้เห็นผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการและผู้บริหารจากภาคเอกชนมาเข้าอบรมพร้อมกัน
จากการสังเกตการฝึกอบรม ทำให้เห็นว่าที่ประชุมมีความตั้งใจสูงมาก ถือเป็นปรากฏการณ์ของกระทรวงศึกษาธิการ เพราะยังไม่มีการอบรมครั้งใดที่รวมผู้บริหารระดับสูงสุดไว้ได้พร้อมกันอย่างมากมายเช่นนี้ จึงสมควรได้รับการจดบันทึกไว้ในประวัติการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการเช่นกันด้วย
ทั้งนี้ ข้อมูลต่าง ๆ จากการระดมสมองร่วมกัน ขอให้มีการบันทึกรวบรวมไว้ เพื่อต่อยอดนำไปสู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและนายกรัฐมนตรีได้รับทราบต่อไปด้วย ที่สำคัญอีกประการคือแนวทางต่าง ๆ จากการอบรม จะนำไปสู่การขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ประเทศ คือ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตลอดจนนำไปสู่สุดปลายทางความฝันอันยอดเยี่ยมของพวกเราต่อไป
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวต้อนรับในนามของเครือเจริญโภคภัณฑ์ และในนามของหัวหน้าภาคเอกชนโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) สู่การเวิร์คช็อปในครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้รับประสบการณ์เช่นนี้ นอกเหนือจากการเป็นคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ และในการอบรมครั้งนี้ก็มีผู้บริหาร C.P.Group หลายท่านที่ร่วมเป็นคณะทำงานในประชารัฐ E5 มาเข้ารับการอบรมพร้อมกันด้วย
รูปแบบการอบรมครั้งนี้ ได้ใช้ Action Learning Program ซึ่งเป็นวิถีที่ประธาน C.P.Group ได้ริเริ่มดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว เพราะได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของคนเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อต้องการพัฒนาผู้นำที่ดีและเก่ง กล่าวคือ มีทั้งคุณธรรมและศักยภาพ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเวิร์คช็อปในครั้งนี้ จะทำให้พวกเรามีโอกาสเรียนรู้ซึ่งกันและกันในเวลาเดียวกัน ทำให้เราได้เปิดมิติของมุมมองที่เป็นหนึ่งเดียว สู่เป้าหมายเดียว
การทำงานในลักษณะ Action Learning คือการทำจริง ได้รับประสบการณ์จริง แลกเปลี่ยนจริง ก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และที่สำคัญคือทำให้เกิดการทำงานข้าม (Cross) ระหว่างองค์กรและหน่วยงานด้วยกัน ที่เรียกว่าเป็น “ไซโล” เพราะหากองค์กรยังคงมีการสื่อสาร มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกิดขึ้นไม่เพียงพอ เราก็คงไม่สามารถมองปัญหาเป็นองค์รวมหนึ่งเดียวได้ เมื่อแยกกันทำก็ไม่สามารถแก้ปัญหา หรือสร้างโครงการใหม่ ๆ ที่เกิดประสิทธิผลได้จริง ดังนั้น “การทลายไซโล” จึงเป็นจุดสำคัญของกระบวนการและหลักสูตรการฝึกอบรมครั้งนี้ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในองค์กรของรัฐและเอกชนหลายแห่งของโลก
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พวกเราจะได้เรียนรู้ร่วมกัน โดยย้ำว่า C.P.Group มีความตั้งใจอย่างสูงที่จะมาเรียนรู้จากทุกคนของกระทรวงศึกษาธิการเช่นกัน เพื่อจะได้นำหลักการไปปรับใช้เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบการศึกษาและเป้าหมายของประเทศต่อไป
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวให้ข้อคิดเกี่ยวกับวิสัยทัศน์การพัฒนาผู้นำ C.P. Group ว่ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นครั้งแรกที่ได้อยู่ในหมู่อาจารย์ใหญ่หรือ “ผู้นำ” ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีนักเรียนนักศึกษาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบกว่า 7 ล้านคน และต้องยอมรับว่าระบบการบริหารงานของ C.P. Group ง่ายกว่าการบริหารงานในระบบราชการมาก เช่น การเปลี่ยนผู้บริหาร การเลื่อนตำแหน่ง
ตั้งแต่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการใหญ่จนถึงปัจจุบัน โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 25 ปี ในตำแหน่งผู้จัดการธุรกิจอาหารสัตว์ จนกระทั่งก้าวเข้าสู่ตำแหน่งประธานเมื่ออายุ 35 ปี จนถึงปัจจุบันใช้เวลานานกว่า 55 ปี ทำให้เห็นว่าการบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการไม่ใช่จะบริหารได้ง่ายๆ เพราะมีข้าราชการที่เก่ง ๆ จำนวนมาก เป็นกระทรวงที่ยิ่งใหญ่และมีงบประมาณมากที่สุด ตลอดจนดูแลรับผิดชอบสถานศึกษาในทุกระดับจำนวนมาก และมีบุคลากรในความดูแลถึง 9 แสนคน ต้องบริหารต่อเนื่องและมีความเป็น “ไซโล” มากเช่นกัน และเมื่อเทียบกับ C.P. Group ที่มีบริษัทในเครืออยู่ทั่วประเทศ จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องให้บุคลากรได้รู้จักกัน เพราะแม้แต่ทำงานในบริษัทเดียวกัน หรือบริษัทในเครือเดียวกัน บุคลากรจำนวนมากก็ยังไม่รู้จักกัน จึงได้ก่อตั้งให้ศูนย์ CPLI แห่งนี้เกิดขึ้น
โอกาสนี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ กล่าวย้ำใน 2 ประเด็นหลักว่า
เรื่องแรก : มีความเข้าใจ เห็นใจและยกย่องข้าราชการในวันนี้ เพราะประเทศไทยอยู่ได้ด้วยระบบราชการเป็นหลัก ดังนั้นหากเราปรับระบบราชการให้มีความคล่องตัว ให้ข้าราชการได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ และมีเงินเดือนที่สูงพอ ก็จะรักษาข้าราชการที่ดี ๆ ไว้ในระบบได้ เพราะความเป็นจริงประเทศไทยในวันนี้มีข้าราชการที่เก่ง ๆ จำนวนมาก แต่ในอนาคตข้างหน้าคนเก่งอาจจะไม่เข้ามาเป็นข้าราชการ หากไม่แก้ไขระบบให้ข้าราชการได้มีเงินเดือนที่สูงขึ้น คนเก่ง ๆ ก็จะไปหางานต่างประเทศกันหมด เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทุ่มเทสร้างคนเก่งให้อยู่ในระบบราชการมากขึ้น ซึ่งวิธีการขึ้นเงินเดือนก็ต้องเพิ่มงานให้มากขึ้นตามไปด้วย คนอาจจะหนักสมองได้ แต่อย่าให้หนักทางใจ วิธีการเช่นนี้เป็นหลักการสำคัญในการทำงาน พร้อมฝากเรื่องภาษาอังกฤษด้วย เพราะในโลกนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษกันทั้งนั้น แม้แต่ประเทศจีน จึงเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ มิเช่นนั้นเราจะไม่สามารถก้าวทันโลกได้
เรื่องที่สอง : มีเพียงไม่กี่คนที่อุทิศตนให้กับส่วนรวม เนื่องจากเงินเดือนไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงดูครอบครัว เพียงค่าใช้จ่ายส่งลูกเรียนหนังสือต่างประเทศก็ยังไม่พอ ซึ่ง คำว่า “พอ” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช พอก็คือพอสำหรับครอบครัวก่อน และ “เพียง” ก็คืออย่า Over เพราะแม้แต่ในระดับธุรกิจ ต้องบริหารรายได้ให้พอก่อน จึงจะไปทุ่มเทในส่วนอื่น
ดังนั้น C.P.Group จึงมีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงระบบให้คนเก่งมีโอกาสแสดงความสามารถได้อย่างเต็มที่ โดยจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบไซโลมารวมกัน เพราะ C.P.Group เริ่มต้นจากธุรกิจขนาดเล็ก จะนำระบบของบริษัทใหญ่มาใส่ก็อาจจะไม่เกิดผล จึงต้องให้อิสระเพื่อให้ธุรกิจมีการขยายเติบโต แต่เมื่อเติบโตจนถึงทุกวันนี้ จึงต้องมีศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้ เพื่อดึงคนรุ่นใหม่เก่ง ๆ อายุ 30 กว่า ๆ จากแต่ละบริษัท ให้มาเป็นเจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้ ให้ได้มารู้จัก เรียนรู้ และทำงานร่วมกัน เพราะต้องการสร้างคนกลุ่มนี้ให้เป็น CEO หรือ “เถ้าแก่” ในอนาคต หากพูดให้สั้นก็คือ เถ้าแก่จะต้องรู้ทุกเรื่อง เพราะสมัยนี้จะรู้เรื่องเดียวไม่ได้
อย่างไรก็ตาม หากสร้างคนเก่งขึ้นมาแล้ว แต่เขาไม่อยู่กับเราหรือถูกซื้อตัวไป ก็ควรจะต้องดีใจไปกับความก้าวหน้าและยิ่งต้องมีความเป็นมิตรกับเขามากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องหันกลับมาทบทวนตัวเองด้วยว่าให้โอกาสเขาเหล่านั้นดีไหม เราจึงไม่กลัวที่จะต้องสร้างคนเก่งขึ้นมาแล้วถูกบริษัทอื่นมาชุบมือเปิบไป เพราะถือว่าเป็นการสร้างคนเก่งให้กับสังคม ซึ่งเป็นเรื่องยิ่งใหญ่เรื่องหนึ่งที่ C.P.Group ควรจะต้องทำ
นายธนินท์ เจียรวนนท์ กล่าวด้วยว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้เห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 2 ท่าน มาอยู่ร่วมกันตลอดในการฝึกอบรมครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการที่มีผู้บริหารมาเข้ารับการอบรมพร้อมกันในครั้งนี้
ในนามของภาคเอกชน ต้องการจะเห็นกระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนแปลง เพื่อก้าวให้ทันไปกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อโลกเปลี่ยน เราก็ต้องเปลี่ยน ซึ่งยังไม่ช้าหรือสายเกินไป เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการถือเป็น “ต้นน้ำ” ในการผลิตคนเพื่อการพัฒนาประเทศ ส่วนภาคเอกชนเป็น “ปลายน้ำ” ที่จะใช้คนจากการผลิต จึงขอให้ความสำคัญในการผลิตและพัฒนาคนเก่ง ๆ ออกมาป้อนภาคธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น
ในพิธีปิดซึ่งเป็นไปอย่างเรียบง่าย,
เชื่อเหลือเกินว่า ในการสัมมนาตลอดระยะเวลา 3 วัน ผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการจะนำแนวคิดดี ๆ ไปขยับขยายอย่างไรให้การขับเคลื่อนการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเรายังมี Know-how ล่าสุด แม้แต่ รมว.ศึกษาธิการ ยังวางแผนว่าต้องการให้ที่ดินของ สกสค. ที่เชียงใหม่ ที่มีปัญหาจากการก่อสร้างโรงแรม อาจจะนำไปก่อสร้างเป็นศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาที่ทันสมัยเช่นเดียวกับภาคเอกชน และภายหลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้แล้ว กระทรวงศึกษาธิการจะมีแนวทางการขับเคลื่อนโครงการดี ๆ อย่างต่อเนื่องต่อไป
ยกตัวอย่าง: ในสนามฟุตบอลของอังกฤษมี่มีความจุผู้ชมกว่า 7 หมื่นคน เวลาจะเล่นเวฟทั้งสนามในระหว่างการแข่งขัน พบว่าอาศัยคนเริ่มต้นเพียง 7 คน ลุกขึ้นพร้อมกันเท่านั้น หรือเท่ากับอัตราส่ง 1 : 10,000 หรือเมื่อเปรียบเทียบกับใน 1 ชีวิตคนเรา พบว่าเฉลี่ยแล้วแต่ละคนจะได้พบปะทำงาน จ่ายเงิน ทำกิจกรรมกับผู้อื่นเฉลี่ย 80,000 คนต่อ 1 ชีวิต เพราะฉะนั้นถ้าเราเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนอื่น ๆ ในช่วงชีวิตของเราเพียงแค่ 100 คน หรือ 1 : 100 เท่านั้น ก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นจำนวนมาก หรือภายหลังการอบรมครั้งนี้ สามารถสร้าง Impact ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
ทั้งนี้ ขอปวารณาในฐานะตัวแทนภาคเอกชนรายหนึ่งที่จะทำงานร่วมกัน เป็นไม้เป็นมือ ลองผิดลองถูกร่วมกับภาคราชการ ซึ่งเราเป็นสถาบันหนึ่งในองค์ประกอบที่ค่อนข้างพร้อมทางด้านวิชาชีพที่จะช่วยนำตัวอย่าง การปฏิบัติจริง องค์ความรู้ องค์ประกอบต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกับเรื่องการศึกษาให้เกิดขึ้น หรือทลายไซโลระหว่างภาครัฐกับเอกชนให้ได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ จึงต้องการให้เกิดการทำงานร่วมกันและแชร์วิสัยทัศน์ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ต่อไป
สิ่งสำคัญอีกประการ คือ การตอบแทนบุญคุณแผ่นดินของบุคคลหรือองค์กรต่าง ๆ เป็นเรื่องสำคัญมาก เราอาจจะได้พบผู้บริหารระดับโลกบางคนได้ไม่เกิน 5 นาที แต่สำหรับ
นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ
20/11/2559