โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ – นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ในคณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน เพื่อยกระดับผลการทดสอบ PISA ประจำปีการศึกษา 2557 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีนางผานิตย์ มีสุนทร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ดร.อ่องจิต เมธยะประภาส รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งผู้บริหาร ศธ. นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา เข้าร่วม 50 คน เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2557
รมว.ศธ.ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมภายหลังการประชุม โดยกล่าวถึงประเด็นการพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ยกร่างมา แผนดังกล่าวมีเป้าหมายให้แต่ละวิชามีผลคะแนนเพิ่มขึ้น และมีผลต่อการตั้งเป้าหมายในเรื่องอันดับ PISA ที่สูงขึ้น รวมถึงร้อยละของนักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ว่าจะต้องลดลงเป็นเท่าไร ร้อยละของนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 คือนักเรียนที่มีศักยภาพสูง จะต้องเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไหร่ ไม่เพียงคำนึงถึงแต่ค่าเฉลี่ย
ทั้งนี้ มีแนวปฏิบัติที่จะเริ่มดำเนินการในกลุ่มเป้าหมาย ป.4 – ป.6 และ ม.1 – ม.3 ต้องแยกกันเป็น 2 กลุ่ม เพราะเป็นสองรุ่นที่จะสอบคนละครั้งกัน ม.1 – ม.3 คือผู้ที่จะสอบในปี 2558 และ ป.4 – ป.6 คือผู้ที่จะสอบในคราวถัดไป คือ ปี 2561 แต่จะเน้นที่รุ่นแรกก่อน คือ ม.1 – ม.3 โดยมีแนวปฏิบัติ แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1) การแทรกกิจกรรมพัฒนาด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ ตามแนว PISA ในทุกรายวิชาหรือรายวิชาที่เหมาะสม ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
2) ปรับเปลี่ยนข้อสอบ โดยเพิ่มข้อสอบที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ศักยภาพในการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบตามแนว PISA เพิ่มมากขึ้น
3) สร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริหารการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง และสังคมทั่วไป ให้มีความรู้ ความเข้าใจ
4) ส่งเสริม สนับสนุนโรงเรียนกลุ่มที่มีผลการสอบ PISA ปี 2555 ต่ำ
5) สร้างความเข้มแข็ง ของการกำกับ ติดตามและประเมินผล ให้เป็นเครื่องมีสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน
การประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้แสดงความเห็นเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันที่สำคัญคือ โครงการนี้เป็นโครงการที่มีการจัดสรรงบประมาณ 210 ล้านบาท จึงควรกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่า การเลื่อนอันดับ PISA ของประเทศเป็นเพียงตัวชี้วัด โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ การยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน และมีสาระสำคัญ คือ การส่งเสริมให้มีการคิดวิเคราะห์ ซึ่งที่ประชุมไดมีข้อสรุปสำคัญเพิ่มเติมว่า เรื่องใดที่สามารถดำเนินการได้เร็ว เช่น การจัดหาข้อสอบ แบบเรียน สามารถดำเนินการได้เร็วด้วยวิธีจัดหามาจากสิ่งที่มีอยู่แล้วทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ ควรรีบดำเนินการ จะได้มีเวลาสำหรับการดำเนินการในเรื่องที่ต้องใช้เวลามากกว่า เช่น การฝึกอบรมครู การนำข้อสอบมาวิเคราะห์ เพื่อให้ทราบว่า การที่เด็กจะทำข้อสอบประเภทนั้นได้ จะต้องมีการเรียนการสอนอย่างไร จะต้องเปลี่ยนเนื้อหาตั้งแต่หลักสูตร และการเรียนการสอนอย่างไร ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการเรื่อง PISA
ข้อสรุปสุดท้ายคือ ขอให้มีการไปทำปฏิทินการทำงาน หรือ Roadmap ว่าจากนี้ไป จะต้องดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไร โดยงบประมาณที่จัดสรรในครั้งนี้ ก็จะมีการจัดสรรให้กับโครงการในแต่ละด้าน ขณะเดียวกันก็จะมีการมอบไปยังเขตพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการได้ด้วย ไม่ได้รวมอยู่ที่ส่วนกลางเท่านั้น
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.moe.go.th/websm/2014/jan/019.html
ร่างแผนยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน มาตรการที่ 1 การสร้างความตระหนักให้กับผู้บริหารการศึกษาจากส่วนกลาง จากเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารการศึกษาจากหน่วยงานอื่น คณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและสังคมทั่วไป ให้มีความรู้ความเข้าใจ เห็นคุณค่าและความสำคัญของการเข้าร่วมโครงการ PISA ของประเทศไทย – กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้กับผู้บริหารการศึกษาส่วนกลาง ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารการศึกษาจากหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน | ||
| ||
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมในการยกระดับคุณภาพการศึกษา และนำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จในการยกระดับผลการประเมินตามโครงการ PISA ของประเทศไทยได้ตามที่ตั้งไว้ กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดแนวปฏิบัติให้สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินการ ดังนี้ 2. จัดกิจกรรมเสริมเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับสภาพของนักเรียนและบริบทของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมก่อนเข้าเรียน หลังเลิกเรียน กิจกรรมชุมนุม ประมาณสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง
|