แผนการศึกษาพื้นที่ชายแดน ภาคตะวันออก

เมื่อวันศุกร์ที่
28 เมษายน 2560 เวลา 09.30-12.00 น.
ณ โรงแรมนิวแทรเวล บีช รีสอร์ท อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
: พล.อ.สุรเชษฐ์
ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล
ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รับฟังผลการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน

(พ.ศ.2560-2564) ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคตะวันออกของประเทศไทย
คือ จันทบุรี ตราด และสระแก้ว โดยมีสาระที่สำคัญโดยสรุปดังนี้

สุรเชษฐ์”
เผยถึงการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ ด้วยการวางแผนพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ชายแดน

27 จังหวัด 105 อำเภอ

พล.อ.สุรเชษฐ์
ชัยวงศ์
กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาพื้นที่ชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ
คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และราชอาณาจักรกัมพูชา
ครอบคลุมพื้นที่
27 จังหวัด 105 อำเภอ เพื่อส่งเสริมศักยภาพการศึกษาด้านเศรษฐกิจ
ด้วยการส่งเสริมการสร้างนักเรียน นักศึกษา ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
พร้อมทั้งสร้างการพัฒนางานด้านเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ

ในส่วนของจังหวัดภาคตะวันออกของไทย
มีอาณาเขตที่ติดกับประเทศกัมพูชา รวม
3 จังหวัด : จันทบุรี 2 อำเภอ คือ  อำเภอโป่งน้ำร้อน
และสอยดาว
, สระแก้ว 4 อำเภอ คือ
อำเภอคลองหาด ตาพระยา อรัญประเทศ และโคกสูง
, ตราด 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ และอำเภอคลองใหญ่

เน้นการนำ
โอกาสและจุดแข็ง” มาสร้างวิสัยทัศน์ในการผลิต “นักเรียนชายแดน”
ที่มีศักยภาพ

ด้วยเหตุนี้ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ปูพรมเร่งเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ
โดยเน้นการนำ
โอกาสและจุดแข็งชายแดนมาสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ในการผลิต
นักเรียนชายแดนที่มีศักยภาพ
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
รวมทั้งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ ให้โครงการปฏิบัติต่าง ๆ เป็นรูปธรรม
จับต้องได้ มีเกณฑ์ตัวชี้วัด เห็นผลชัดเจนในระยะเวลารวดเร็ว
และสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนนโยบายรัฐบาล

นำร่องใน
4 จังหวัดภาคเหนือ ก่อนขยายสู่พื้นที่ชายแดนอื่น ๆทั่วประเทศ

พร้อมทั้งได้ดำเนินการนำร่องใน 4 จังหวัดภาคเหนือ
คือ จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ ซึ่งได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพื้นที่ชายแดน

(พ.ศ.2560-2564) ขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ไปแล้วเมื่อเร็ว
ๆ นี้ ก่อนขยายสู่พื้นที่ชายแดนอื่น ๆ ทั่วประเทศต่อไป
โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ชายแดน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นำโดย ผศ.ดร.บรรพต
วิรุณราช คณบดี

ดังนั้น กศจ.ในพื้นที่จังหวัดชายแดนดังกล่าว
จึงให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมครั้งนี้
เพื่อร่วมกันคิด
พร้อมทั้งเขียนแผนบูรณาการของจังหวัดเป็นกลุ่ม ๆ โดยให้จังหวัดจันทบุรี ตราด
สระแก้ว เป็นกลุ่มที่
2 ที่จะดำเนินการเขียนแผนสู่การปฏิบัติ และแผนพัฒนา โดยนำจุดแข็งและโอกาสมาเขียนคู่ไปกับปัญหาที่พบ

เผยถึงร่างแผนพัฒนาการศึกษา
3 จังหวัดภาคตะวันออก ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ

จากการรับฟังผลการประชุม
ทำให้เห็นถึงความก้าวหน้า
(ร่าง) แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ.
2560-2564) ทั้ง 3 จังหวัด ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) คือ ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
และสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติระยะ
20 ปี (พ.ศ.2560-2579)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2579) และแผนจัดการศึกษาแบบบูรณาการเพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
(Eastern Economic Corridor : EEC) ด้วย

ดังนั้น
ยุทธศาสตร์การศึกษาของ
3 จังหวัดดังกล่าว จึงมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติทั้ง
6 ด้าน
คือ 1. การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง
2. การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
3. การผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน 4.
การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางการศึกษา 5. การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6.
การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา

● 3 จังหวัดนำเสนอร่างแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน

ทั้ง 3 จังหวัดได้นำเสนอผลการประชุม ซึ่งมีบางส่วนที่น่าสนใจ
เช่น

จันทบุรี  ต้องการครูสอนภาษาเขมรและเวียดนามมากขึ้น
เพื่อสอดรับกับการพัฒนาด่านการค้าชายแดนทั้ง
2 แห่งในจังหวัดจันทบุรี
โดยมุ่งจัดการศึกษาไปสู่
5H คือ Head Heart Hand
Health Happiness และมีหลายโครงการในการส่งเสริมอาชีพชายแดนเพื่อการมีงานทำ
รวมทั้ง
การค้าออนไลน์” ซึ่งได้ขอให้สำนักงาน กศน.จังหวัดจันทบุรี
เป็นหลักในการทำงานที่จะสนับสนุนการค้าออนไลน์ให้แพร่หลาย เช่น การค้าออนไลน์ลำไย เพื่อให้เชื่อมตรงสู่การบริโภคของประชาชน

ตราด  จะมีการจัดทำแนวทางการพัฒนาการศึกษาเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับ
“จุดแข็ง” ของจังหวัด คือ การเป็นเมืองที่มีอากาศดี เป็นเมืองท่องเที่ยว
เป็นเมืองการค้าชายแดน และเป็นเมืองเกษตรผลผลิตพื้นบ้าน โดยใช้ “โอกาส” ที่มีอยู่
คือ การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด รวมทั้งเรื่อง
Trat Green City ตลอดจนการสร้างระบบโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพ

สระแก้ว  เป็นจังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่มาแล้ว
24 ปี ที่จะเน้นให้นักเรียนนักศึกษาและประชาชนในพื้นที่ชายแดนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและเสมอภาคอย่างทั่วถึง
มีทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต และจิตสำนึกร่วมสร้างความมั่นคงพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา”
ตามวิสัยทัศน์ที่ กศจ.สระแก้ว ได้กำหนดไว้

ขอให้วางแผนการศึกษาโดยยืดหยุ่นไปยังอำเภออื่น
ๆ ที่ไม่ใช่พื้นที่ชายแดนด้วย

พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่าศักยภาพในพื้นที่ภาคตะวันออกมีสูงมาก
โดยมี
9 อำเภอใน 3 จังหวัดภาคตะวันออกที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
แต่ไม่ได้หมายถึงจะจำกัดแต่ในพื้นที่อำเภอชายแดนดังกล่าวเท่านั้น ต้องยืดหยุ่นเพื่อให้ขยายไปยังพื้นที่อำเภออื่น
ๆ ด้วย แต่เหตุผลที่ได้กำหนดอำเภอชายแดนก่อน ก็เพื่อให้เป็นก้าวแรกที่มั่นคง เพื่อก้าวต่อไปจะได้เข้มแข็งตามลำดับ
และพื้นที่ภาคตะวันออกมีทั้งจังหวัดที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ คือ ตราด-สระแก้ว
และเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก คือ ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-ระยอง

แต่ในวงใหญ่จริง
ๆ คือ “ภาคตะวันออก” ซึ่งเป็นภาคที่มีศักยภาพสูงมาก มีมูลค่าทางการค้า
การลงทุน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ
EEC ที่จะเป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของภูมิภาคอาเซียนต่อไป
ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงมีบทบาทสำคัญที่สุดในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านต่าง
ๆ ในพื้นที่ตามนโยบายของรัฐบาล

ฝาก
5 ประเด็นหลักในการทำงานตามแผนการศึกษาพื้นที่ชายแดน

โอกาสนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์
กล่าวฝากใน
5 ประเด็นหลัก ดังนี้

  • ฝากติดตามข้อมูลข่าวสารในเรื่องใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์หรือผลกระทบต่อตัวเองหรือพื้นที่ เช่น การที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก
    ร่วมกับกระทรวงแรงงาน และ
    BOI รวมทั้ง TDRI และหน่วยงานต่าง
    ๆ ในการตรวจสอบการผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและการผลิต
    จึงต้องมีการติดตามและนโยบายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ

  • การบูรณาการแผนการศึกษาให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนทุกระดับ
    ทั้งแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ
    และแผนบูรณาการศึกษาในพื้นที่ และขอให้เน้นการนำแผนที่ดีไปสู่การปฏิบัติที่ดีด้วย โดยให้มีการทบทวนและรายงานแผนเป็นห้วง
    ๆ เพื่อให้การปฏิบัติตามแผนห้วงต่อไปให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

  • เน้นการสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้เกิดขึ้นในพื้นที่  ทั้งในองค์กรหรือนอกองค์กร
    เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบความเคลื่อนไหวในการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วนในกระทรวงศึกษาธิการ

  • สร้างบรรยากาศการทำงานอย่างมีพลัง  อย่ากังวลกับปัญหาการทำงานจนส่งผลถึงความเครียดในการทำงาน
    อันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จึงขอให้ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการดูแล
    สนับสนุน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคลากรทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาในพื้นที่ชายแดนห่างไกลที่จะมีปัญหาหลัก
    ๆ คือ ขาดครู ขาดงบประมาณ จึงต้องการช่วยกันแยกแยะปัญหา และร่วมกันแก้ไขไปทีละส่วน

  • ให้หน่วยงานและสถานศึกษาน้อมนำเรื่องของศาสตร์พระราชา
    หลักการทรงงาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”
    ซึ่งถือเป็น “วิชาชีวิต”
    ที่มีค่ามากที่สุดของคนไทยไปเป็นแนวทางในการศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ และขยายผลให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง

    ผศ.ดร.บรรพต
    วิรุณราช คณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
    กล่าวว่า วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
    ม.บูรพา เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐด้านการบริหารจัดการทางธุรกิจที่เปิดสอนปริญญาโทและปริญญาเอก
    และอยู่ในพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
    (EEC) ที่
    จ.ชลบุรี ได้รับมอบหมายในการร่วมนำบุคลากรทุกภาคส่วน ดึงจุดแข็งและโอกาส
    มาสร้างโครงการพัฒนาต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น

    จึงได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
    ในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน โดยนำ
    จุดแข็งและโอกาส
    มาเป็นแนวทางนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
    เป็นการสร้างมุมมองการพัฒนาในอีกมิติที่สามารถมีส่วนในการผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรของแต่ละท้องถิ่นที่มีบริบทแตกต่างกัน
    ซึ่งจะก่อให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตั้งแต่ระดับฐานราก และสามารถเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาร่วมกับเขตเศรษฐกิจต่าง
    ๆ ของประเทศได้ เช่น เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (
    EEC) เป็นต้น
    ตลอดจนสามารถขยายผลต่อยอดได้ในระดับอื่น ๆ เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นได้ในหลายมิติ

    ขณะนี้
    มีหลายโครงการซึ่งวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ดำเนินการในการส่งเสริมสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงให้กับสถานศึกษาในพื้นที่
    เช่นโครงการจัดแข่งขันการขยายสินค้าออนไลน์ เพื่อให้ทุกคนสามารถนำสินค้าในชุมชนชายแดนมาขายผ่านระบบออนไลน์
    ในวันที่
    20 กรกฎาคม 2560 โดยเปิดรับสมัครจังหวัดละ
    1 ทีมเข้าร่วมแข่งขัน พร้อมรับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายทีมละ
    5,000 บาท รวมทั้งโครงการอบรมร่วมระหว่างนักศึกษาเขตชายแดน ร่วมกับนักศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
    ผู้สนใจสอบถามการสมัครเข้าร่วมทั้ง
    2 โครงการได้ที่ www.ex-mba.buu.ac.th
    หรือโทร 038 394 900


    บัลลังก์
    โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน

    อรพรรณ ฤทธิ์มั่น: ถ่ายภาพ
    28/4/2560