พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา
44
เลขที่สัญญา 5/2566
Other Title: | พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา |
Author: | ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ |
Date: | 2023 |
Publisher: | กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบทด้าน Coding และ AI ของครูระดับชั้นประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาของภาครัฐและเอกชน 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมด้าน Coding และ AI ของครูระดับชั้นประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาของภาครัฐและเอกชน 3) เพื่อพัฒนาความรู้ด้าน Coding และ AI ของครูระดับชั้นประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาของภาครัฐและเอกชน 4) เพื่อพัฒนาทักษะด้าน Coding และ AI ของครูระดับชั้นประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาของภาครัฐและเอกชน การดำเนินงานวิจัย แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพบริบทที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 1.1 การใช้เทคโนโลยีของครูผู้สอน 1.2 โครงสร้างหลักสูตร วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาหลักสูตร รูปแบบการอบรม จำนวนชั่วโมง ระยะเวลา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล 1.3 สภาพแวดล้อมการเรียนการสอน Coding และ AI 1.4 ความพร้อมของเทคโนโลยีและอุปกรณ์ ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบหลักสูตร การอบรม ใช้กรอบของ ADDIE Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปทดลองใช้ และการประเมินผลการใช้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา ของสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง 5 จังหวัดได้แก่ พิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร ประกอบด้วย 1) ครูผู้สอนจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 31 คน 2) ครูผู้สอนจังหวัดแพงเพชร จำนวน 30 คน 3) ครูผู้สอนจังหวัดสุโขทัย จำนวน 34 คน 4) ครูผู้สอน จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 32 คน 5) ครูผู้สอนจังหวัดพิจิตร จำนวน 33 คน รวมจำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรอบรมด้าน Coding และ AI 2) แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการอบรม และ 4) แบบประเมินทักษะปฏิบัติหลังการอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพบริบทการเรียนการสอนด้าน Coding และ AI ของครูในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในปัจจุบัน มีความก้าวหน้าไปในทิศทางที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับในอดีต ที่ผ่านมาก แต่ยังมีจุดที่ต้องพัฒนาเพื่อให้การเรียนการสอนด้าน Coding และ AI มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาทักษะด้าน Coding และ AI ของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง 2. หลักสูตรประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เนื้อหาการอบรม แผนการจัดกิจกรรมการอบรม วิดีทัศน์การอบรม การวัดผลประเมินผล ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรการอบรมด้าน Coding และ AI โดยภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ครูผู้สอนที่อบรมตามหลักสูตรทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาด้าน Coding และ AI มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ครูผู้สอนที่อบรมตามหลักสูตรทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาด้าน Coding และ AI มีทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด คำหลัก : Coding และ AI, หลักสูตรทักษะแห่งศตวรรษที่ 21, เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล The purposes of this research were 1) To study the context of Coding and AI for primary or secondary school teachers and educational personnel in the public and private sectors. 2) To develop a training curriculum for Coding and AI for primary or secondary school teachers and educational personnel in the public and private sectors. 3) To develop knowledge in Coding and AI of primary or secondary school teachers and educational personnel in the public and private sectors. 4) To develop Coding and AI skills of primary or secondary school teachers and educational personnel in the public and private sectors. The research operation is divided into 5 steps as follows: Step 1: Study the relevant context, consisting of: 1.1 Teachers’ use of technology 1.2 Curriculum structure, objectives, target groups, course content, training format, number of hours, duration, learning activities, learning media, and evaluation measures 1.3 Coding and AI teaching and learning environment 1.4 Readiness of technology and equipment Step 2: Design a training curriculum using the ADDIE Model framework consisting of 5 steps: Analysis, Design, Development, Implementation, and Evaluation. The target groups include teachers or educational personnel at the primary or secondary level in public and private educational institutions in the lower northern region of Thailand, covering 5 provinces: Phitsanulok, Kamphaeng Phet, Sukhothai, Uttaradit, and Phichit. The sample consists of 1) 31 teachers in Phitsanulok Province, 2) 30 teachers in Kamphaeng Phet Province, 3) 34 teachers in Sukhothai Province, 4) 32 teachers in Uttaradit Province, and 5) 33 teachers in Phichit Province, totaling 160 people. Tools used in the research include: 1) Training courses in Coding and AI 2) Curriculum quality assessment form 3) Achievement measurement form (pre- and post-training) 4) Practical skills evaluation form (post-training) Data were analyzed using mean, standard deviation, and Dependent t-test. The research results found that: 1. The current teaching context for Coding and AI among teachers in the lower northern region of Thailand has shown progress compared to the past. However, there are still areas that need to be developed to make Coding and AI teaching effective and truly achieve the goal of developing students’ Coding and AI skills. 2. The developed curriculum consists of objectives, training content, training activity plans, training videos, and measurement and evaluation tools. The overall quality assessment of the Coding and AI training curriculum was found to be at the highest level of appropriateness 3. Teachers who were trained according to the 21st Century Skills Curriculum on Digital Technology and Innovation for Teachers and Educational Personnel in Coding and AI had significantly higher academic achievement after the training than before, at the .05 level 4. Teachers trained according to the 21st Century Skills Curriculum in Technology and Digital Innovation for Teachers and Educational Personnel in Coding and AI demonstrated the highest level of skills. Keywords: Coding and AI, 21st Century Skills Curriculum, Digital Technology and Innovation |
เจ้าของลิขสิทธิ์: | กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ |
ดู/เปิด: |