จังหวัดขอนแก่น – นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดการประชุมผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เรื่อง
“การติดตามผลการดำเนินงานอาชีวศึกษา” ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 เมื่อวันที่ 24
กุมภาพันธ์ 2557 ณ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา
ออร์คิด
-
เร่งปรับสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะต่อสายสามัญให้เป็น 51:49
รมว.ศธ.กล่าวว่า ในปัจจุบันมีความต้องการกำลังคนสายอาชีวศึกษาจำนวนมาก แต่เราผลิตได้น้อย
เพราะมีคนมาเรียนเพียงร้อยละ 34 ของนักเรียนที่จบชั้น ม.3 แต่ในส่วนของสายสามัญมีคนเรียนมาก คือร้อยละ 66
ซึ่งเป็นการผลิตกำลังคนที่สวนทางกับความต้องการของประเทศ
เพราะในความเป็นจริงผู้เรียนสายอาชีวะควรเป็นร้อยละ 60 ต่อผู้เรียนสายสามัญร้อยละ
40
ดังนั้น ศธ.จึงมีนโยบายเร่งปรับสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะต่อสายสามัญให้เป็น
51:49
โดยมีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น
ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ในการแนะแนวแก่นักเรียนที่จบ ม.3
ซึ่งจากการประเมินล่าสุดพบว่า
ขณะนี้มีสถานศึกษาอาชีวะหลายแห่งมีผู้สนใจสมัครเข้าเรียนอาชีวะจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด
หลายแห่งมาสมัครก่อนเวลาเปิดรับสมัคร
หลายแห่งมีจำนวนผู้สมัครเต็มจำนวนที่จะรับ
คาดว่าในปีการศึกษา 2557
จะสามารถรับผู้เรียนอาชีวศึกษาของประเทศได้ตามสัดส่วนที่วางไว้คือ 51:49 ซึ่งได้ให้นโยบายแก่ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวะในครั้งนี้ว่า
หากมีนักเรียนสมัครเข้ามาจำนวนมาก ก็ขอให้รับไว้ก่อน
อย่าปฏิเสธรับเด็กเข้าเรียน เพราะสามารถบริหารจัดการโดยจัดหาครู
ขยายห้องเรียน ประสานกับสถาบันในจังหวัด/กลุ่มจังหวัด หรือขอความช่วยเหลือมายัง
สอศ. ในการสนับสนุนงบประมาณ หรือหากจำเป็นจะต้องขอรับงบกลางจากคณะรัฐมนตรี
ก็คาดว่าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่น่าจะขัดข้องอะไร แต่หากมีปัญหา
ก็สามารถใช้มาตรการสุดท้ายคือ
ใช้การเปลี่ยนแปลงงบประมาณแทน
-
หลากหลายนโยบายที่ได้วางแผนดำเนินการไปแล้ว
โดยเฉพาะ กรอ.อศ.12
กลุ่มอาชีพ
สำหรับนโยบายต่างๆ ของอาชีวศึกษานั้น
รมว.ศธ.ย้ำว่า
ได้มีการประเมินสถานการณ์การอาชีวศึกษาอย่างเร่งด่วน,
มีการเร่งผลิตและพัฒนากำลังคนระดับ ปวช./ปวส.,
มีการจัดตั้ง
(กรอ.อศ.) ซึ่งขณะนี้มีคณะอนุกรรมการ
12 กลุ่มอาชีพ คือ กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน กลุ่มแม่พิมพ์
และกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ความต้องการกำลังคน การวางแผนกำลังคนเชิงปริมาณและคุณภาพ
ส่งเสริมการสนับสนุนการจัดอาชีวศึกษาแบบมีส่วนร่วมในรูปแบบที่หลากหลาย
รวมทั้งคุณภาพและมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษา
ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน
เผยแพร่การประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของ กรอ.อศ. ตลอดจ
ปวช./ปวส. เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนเรื่องนี้ได้ภายในปีการศึกษา
2557
-
พร้อมปรับหลักสูตรเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้ประกอบการและภาคการผลิต
จะมีการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรที่จะสนองตอบต่อความต้องการของผู้ประกอบการและภาคการผลิต
โดยจะมีทั้งในส่วนของการฝึกอบรมในระยะสั้น เช่น ฝึกอบรมทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ
สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอน
ก็จะมีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน
รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของอาชีวะเอกชนด้วย
ถัดจากนั้นก็เป็นเรื่องที่จะจัดทำระบบแผนการผลิตกำลังคนระดับอาชีวศึกษา
ทั้งระยะปานกลางและระยะยาวใน 5 ปี
รวมทั้งจัดระบบการสนับสนุนภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพต่อไป
-
ย้ำให้ดำเนินการตามตัวชี้วัดอย่างเป็นรูปธรรม และนำสิ่งดีๆ
เผยแพร่ต่อสาธารณชน
อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดที่สำคัญของการนโยบายการอาชีวศึกษา คือ
จำนวนโครงการหรือหลักสูตรที่มีส่วนร่วมกับสถานประกอบการ หรือนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ
หรือความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เช่น เกาหลี จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี เวียดนาม ฯลฯ ซึ่ง
สอศ.อาจนำต้นแบบสถานศึกษาอาชีวะของประเทศต่างๆ 2-3
แห่งมาปรับใช้ให้สอดคล้องหรือตรงตามศักยภาพของเรา เช่น ครู อุปกรณ์
โรงฝึกงาน ฯลฯ ซึ่งโครงการความร่วมมือต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
ไม่ต้องการเห็นภาพเมื่อเริ่มต้นงาน ก็ยื่นบิลเรียกเก็บเงิน
แต่ต้องการให้เน้นการเรียนการสอนอาชีวะอย่างมีคุณภาพ
ตรงตามศักยภาพอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ต้องการให้
สอศ.ดำเนินงานโครงการตามตัวชี้วัดต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม และรวบรวมสิ่งดีๆ
ที่ประสบความสำเร็จของอาชีวะ เช่น คนดีอาชีวะ ศิษย์เก่าดีเด่น
หลักสูตรที่จบแล้วมีรายได้สูง ไม่ตกงาน หรือภาพลักษณ์ต่างๆ ที่ดีของการอาชีวศึกษา
เพื่อนำไปประมวลเป็นตัวเลือกที่จะโฆษณาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่สาธารณชนต่อไป
อันจะนำมาถึงความสำเร็จตามเป้าหมายสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาอีกด้วย
-
ต้องการให้สื่อสารความสำคัญของระบบคุณวุฒิวิชาชีพ
รมว.ศธ.กล่าวว่า
การจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสื่อสารให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า
เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการเรียนอาชีวะ สร้างอาชีพ
เพราะหากเปรียบเทียบกับอัตราบัญชีเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนแล้ว
ระบบคุณวุฒิวิชาชีพจะมีความแตกต่างกัน เพราะคิดคนละแบบกับระบบปริญญาบัตร
โดยยกตัวอย่างช่างยนต์จากต่างประเทศที่มีฝีมือดี
หากเราจะจ้างเข้ามาทำงานโดยให้รับรายได้ตามวุฒิ คนๆ นั้นอาจจะรับเงินเดือนเพียง
14,000 บาท ซึ่งไม่สามารถนำคนเหล่านี้มาทำงานได้
เพราะรายได้ในบริษัทต่างๆ สูงกว่ามาก ดังนั้นหากนำเอาระบบคุณวุฒิวิชาชีพมาใช้
ก็จะช่วยดึงคนเหล่านี้ที่แม้จะไม่จบปริญญาตรี
แต่ก็สามารถมีรายได้สูงกว่าเป็นอย่างมาก จึงขอให้ช่วยดำเนินการพัฒนาหลักสูตรต่างๆ
ของระบบคุณวุฒิวิชาชีพให้เป็นไปตลอดกระบวนการ
-
หวังให้ สอศ.
ยกระดับการศึกษาทั้งแรงงานไทยและแรงงานอาเซียน
ด้านการยกระดับการศึกษาแรงงานไทย รมว.ศธ.ได้ขอให้มีการจัดวางระบบเครื่องมือให้มาตรฐาน
พร้อมทั้งไม่ต้องการให้มีเด็กอาชีวะออกกลางคัน โดยเฉพาะเด็กที่จบ ม.3 และผู้ที่อยู่ในภาคแรงงาน
ซึ่งอาชีวะจะต้องช่วยพัฒนาบุคคลกลุ่มเหล่านี้
โดยจะได้นำตัวอย่างจากศูนย์ฝึกอาชีพของกระทรวงแรงงาน เมืองฮอกไกโด ญี่ปุ่น
ซึ่งเน้นการพัฒนาคนโดยใช้ภาคปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี
มีการวางแผนพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของภาคเอกชนเป็นอย่างมากด้วย
ส่วนการพัฒนาแรงงานต่างด้าว แม้
สอศ.จะไม่สามารถดำเนินการในระยะเร่งด่วนได้ในเวลานี้
ก็อาจวางแผนดำเนินการในระยะกลาง เพราะเมื่อเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) แล้ว จะเกิดการถ่ายเทแรงงานในประเทศต่างๆ มากขึ้น โดย
สอศ.อาจจะเริ่มดำเนินการพัฒนาแรงงานอาเซียนก่อนในจังหวัดที่มีศักยภาพหรือมีความจำเป็นก่อน
เพื่อส่งสัญญาณที่ดีให้ผู้คนที่เกี่ยวข้องมาช่วยกันคิด พัฒนา หารือ
วางแผนร่วมกันในเรื่องนี้ต่อไป รวมทั้งนโยบายอาชีวะร่วมกับประเทศอาเซียนนั้น
ก็ถือเป็นนโยบายสำคัญของ สอศ.ที่จะต้องมีการหารือกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เช่น ลาว
เวียดนาม พม่า
เพื่อให้เกิดแลกเปลี่ยนด้านอาชีวะร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น
-
ศธ.ได้ปรับเกณฑ์ 1 อำเภอ 1 ทุน
เพื่อเพิ่มผู้เรียนอาชีวะได้มีโอกาสไปเรียนต่อต่างประเทศ
ด้านโครงการ 1 อำเภอ 1
ทุน (ODOS)
ก็เป็นนโยบายสำคัญที่ให้มีการปรับเกณฑ์โดยพยายามส่งเสริมให้นักศึกษาอาชีวะมีโอกาสไปเรียนต่างประเทศมากขึ้น
ซึ่งขณะนี้ สอศ.ได้ทาบทามหลายประเทศไว้แล้ว และนโยบายนี้จะมีผลให้เด็กเก่งๆ
เข้ามาเรียนอาชีวะมากขึ้นด้วย
รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ในช่วงก่อนปิดภาคเรียน
ต้องการให้มีการวางแผนกิจกรรม/โครงการต่างๆ ล่วงหน้า สำหรับเด็กให้มากขึ้น
เพื่อให้สามารถวางแผนจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ทันทั้งช่วงปิดเทอมและเปิดเทอม
เชื่อมั่นว่าหากมีความร่วมมือกันอย่างแท้จริงแล้ว ในปีต่อๆ
ไปจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของการอาชีวศึกษาที่ชัดเจน จะเป็นก้าวใหม่ของอาชีวะ
ส่วนสิ่งใดที่ สอศ.ต้องการที่จะให้รัฐบาลสนับสนุน ก็ขอให้รวบรวมเสนอ
เพื่อให้การพัฒนาอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญในเวลาไม่นาน
และหวังว่าการประชุมสัมมนาครั้งนี้
จะมีส่วนสำคัญให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันอย่างจริงจัง
และนำเสนอแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ของการอาชีวศึกษา
เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนให้เกิดผลที่ดีต่อไป
สรุป/รายงาน
24/2/2557