’กยศ.’ ไม่ยึดทรัพย์ถ้าชำระหนี้เบี้ยว20ปี – ถ่ายโอนเจอ ’อาญา-บังคับคดี’

‘กยศ.’ ไม่ยึดทรัพย์ถ้าชำระหนี้เบี้ยว20ปี – ถ่ายโอนเจอ ‘อาญา-บังคับคดี’

ชุลีพร อร่ามเนตร qualitylife4444@gmail.com

          “5 กรกฎาคม” ของทุกปี เป็นวันชำระเงินกู้ยืมใน “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” (กยศ.) หากชำระล่าช้าจะทำให้ผู้กู้ยืมต้องเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 12-18 ต่อปี รวมถึงอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายอีกด้วย ล่าสุดษมีการเผยแพร่กระทู้ทางเว็บไซต์พันทิปดอทคอม https://pantip.com/topic/36642257 ระบุว่ากำลังจะถูกยึดบ้านจากกรณีที่ได้รับหนังสือแจ้งยึดทรัพย์ติดหน้าบ้าน มาจาก กยศ. เนื่องจากไม่ได้ไปชำระหนี้มาเป็นเวลา 20 ปี
          กรณีดังกล่าวกลายเป็นกระแสใน ปรีชา บูชางกูรโซเชียล กระทั่ง  รองผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ออกมาอธิบายว่า กระบวนการติดตามผู้กู้มาชำระหนี้มี  3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 เมื่อผู้กู้จบการศึกษาและเริ่มชำระหนี้ กยศ.จะมีหนังสือแจ้งรายละเอียดว่าต้องดำเนินการอะไร กำหนดการชำระหนี้งวดแรก และในแต่ละงวดก็จะมีใบแจ้งด้วย ซึ่งหนังสือจะส่งไปตามที่อยู่ที่ผู้กู้ระบุไว้ในสัญญา
          โดยในสัญญามีการระบุไว้ด้วยว่ากรณีที่ผู้กู้เปลี่ยนแปลงที่อยู่ ให้แจ้งกับทางกองทุน กยศ.ได้ทราบ แต่ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ผู้กู้จะไม่ยอมแจ้งให้ทางกองทุนทราบ ในขั้นตอนนี้หากผู้กู้ไม่มาชำระหนี้ หรือค้างชำระ กองทุนก็มีกระบวนการติดตาม ทั้งจากที่อยู่เดิม หรือข้อมูลจากทะเบียนราษฎร กองทุนก็จะส่งหนังสือแจ้งไป ผู้กู้เองสามารถมาติดต่อปรับโครงสร้างหนี้ หรือไกล่เกลี่ยกันได้
          ขั้นตอนที่ 2 กรณีผู้กู้ค้างชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ตามระยะเวลากำหนด กองทุนจะใช้กระบวนการทางกฎหมายในการฟ้องคดี ซึ่งขั้นตอนนี้ผู้กู้สามารถประนีประนอมในชั้นศาลได้ และชำระหนี้ตามที่ตกลง ตามกรอบเวลาที่กำหนด แต่ท้ายสุดหากไม่มาดำเนินการใดๆ ก็จะต้องเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 คือการบังคับคดี มีกระบวนการสืบทรัพย์ของผู้กู้ และผู้ค้ำประกันว่ามีทรัพย์สินหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนนี้ก็ยังมีการไกล่เกลี่ย โดยที่ผ่านมากองทุนประสานกรมบังคับคดี
          “กยศ.พยายามติดตามให้ผู้ค้างชำระหนี้ให้ได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก แต่เราก็พบปัญหาเรื่องข้อมูล เพราะมีส่วนน้อยมากที่เปลี่ยนแปลงที่อยู่แล้วแจ้งมายังกองทุนทราบ ซึ่งเมื่อมีปรับแก้ไข พ.ร.บ.กองทุน กยศ. พ.ศ. 2560 ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้กู้ได้ จะสะดวกต่อการติดตามมากขึ้น” ปรีชา กล่าว
          ปรเมศวร์ สังข์เอี่ยม ผู้อำนวยการฝ่ายคดี และบังคับคดี กยศ. กล่าวว่า ยอดผู้ชำระหนี้ กยศ.ถึงวันที่  5 กรกฎาคม จำนวนประมาณ 20,000 ล้านบาท แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีผู้ชำระหนี้แล้ว กี่คน เนื่องจากต้องรอจำนวนสรุปจากธนาคาร กรุงไทยในปลายเดือนกรกฎาคมนี้ก่อน  โดยผู้กู้ที่ครบกำหนดชำระหนี้ จะเป็นผู้กู้ ตั้งแต่ปี 2545p2560 ประมาณ 1.5  ล้านคน
          ตั้งแต่เริ่มมาตรการติดตามผู้กู้ให้ชำระหนี้อย่างต่อเนื่องนั้น สามารถทำให้มีผู้มาชำระหนี้มากขึ้นจากเดิม 20% โดยจากปีที่แล้ว 5 กรกฎาคม 2559 มีผู้ชำระหนี้ 16,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีก 4,000 ล้านบาท เป็นตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลมาจากมาตรการที่ กยศ.ออกมากระตุ้นและจูงใจให้ผู้กู้ที่ค้างมาชำระหนี้ อีกทั้ง หลังจากนี้ทำความร่วมมือกับองค์กรนายจ้าง สถานประกอบการในการหักเงินเดือนผู้กู้เพื่อชำระหนี้ การลดเบี้ยปรับสำหรับผู้ที่มาปิดบัญชี รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายที่จริงจัง คาดว่าจะทำให้มีผู้กู้มาชำระหนี้มากยิ่งขึ้น
          สำหรับผู้กู้ที่ครบชำระเงินแล้วไม่สามารถ จ่ายเงินได้ภายในกำหนดเวลาหรือภายในเดือนนี้ ก็ยังสามารถชำระเงินได้ โดยติดตามทางช่องทางของ กยศ. เพราะกยศ.ยังเปิดโอกาสให้สามารถชำระหนี้ได้ไปจนถึงงวดที่ 5 และหากเป็นงวดที่ 5 นั่นหมายถึงผ่านมาแล้ว 4 ปี คงเป็นไปไม่ได้ที่ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็คงต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย
          “คนที่ถูกยึดทรัพย์นั้น จะเป็นผู้กู้ยืมเงิน กยศ.ที่ไม่ชำระหนี้กองทุนประมาณกว่า 20 ปี เพราะ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้กู้ที่กู้เงินตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา  3 ปี เรียนมหาวิทยาลัย 4 ปี ปลอดหนี้ อีก 2 ปี และก่อนจะถูกฟ้องผ่านมา 10 ปี คนที่ถูกยึดทรัพย์ ส่วนใหญ่จะถูกฟ้องมาตั้งแต่ปี 2550 ถูกทวงมา  5 ปี รวมระยะเวลามาประมาณ 14 ปี หากไม่ ติดต่อมายัง กยศ. ก็จะถูกแจ้งให้มาติดต่อเรื่อยๆ คนกู้หนี้ กยศ.คือกู้เงินหลวง ไม่เข้าใจว่ากู้ไปใน ระยะเวลา 20 ปี แล้วไม่รู้สึกอะไรดูแปลก และจะบอกว่าไม่ทราบคงไม่ได้ เพราะที่ผ่านมา กยศ.จะแจ้งให้ไปชำระหนี้ตลอด ทั้งแจ้งตามทะเบียน บ้าน หรือส่งจดหมายไปตามที่ผู้กู้แจ้งไว้ ทั้งผู้กู้ และผู้ค้ำ”
          ปรเมศวร์ กล่าวต่อไปว่า หากมีหมายศาลไป ที่บ้าน อยากให้ผู้กู้ไปเจรจาไกล่เกลี่ย ซึ่งตอนนี้ มีผู้กู้ที่ถูกดำเนินคดีประมาณ 9 แสนกว่าราย  ส่วนหนึ่งทยอยชำระหนี้ไปแล้ว บางส่วนมาปิดคดี บางส่วนอยู่ในขั้นตอนการยึดทรัพย์สิน
          “อยากฝากผู้กู้ทุกคน อย่ารอให้ถึงการบังคับคดี ไม่ควรปล่อยนิ่งนอนใจ เพราะเบี้ยปรับมันสูง ส่วนใครที่คิดจะโอนทรัพย์สินให้บุคคลอื่น กรณีนี้ก็อย่าทำ เพราะถ้าทำจะมีความผิดทางอาญา อย่าคิดว่าไม่มีทรัพย์สินอะไรให้ยึดแล้วกยศ.จะไม่สามารถดำเนินคดีได้ จะมีคดีอาญาติดตัว และสุดท้ายก็ต้องมาทำเรื่องปิดบัญชี หรือชำระหนี้คืนกยศ.อยู่ดี หากทุกคนทำตามกระบวนการ กองทุนไม่ได้ใจร้าย ยินดีเจรจากับทุกคน แต่บางคนก็อาจจะต้องการตามความประสงค์ของตนเอง อย่างปล่อยปละละเลยเรื่องเหล่านี้ เพราะถ้าชำระหนี้ครบตามทุกงวด ทำตามกระบวนการ จะไม่ถูกดำเนินคดีอย่างแน่นอน” ปรเมศวร์ กล่าว
          อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติกองทุน เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 “พ.ร.บ.ใหม่” ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 และจะมีผลบังคับ ใช้ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 จากนี้คงต้องติดตามดูว่าได้ผลในการติดตามชำระหนี้ กยศ.มากน้อยขนาดไหน
          “อย่ารอให้ถึงการบังคับคดี ไม่ควรปล่อย นิ่งนอนใจ เพราะเบี้ยปรับมันสูง ส่วนใครที่คิดจะ โอนทรัพย์สินให้บุคคลอื่น อย่าทำ จะถูกคดีอาญา”

          ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก