กยศ. เผยตัวเลขนักเรียนนักศึกษาที่เบี้ยวหนี้
กลุ่มผิดนัดชำระแต่ยังไม่ถูกดำเนินคดี 1.1 ล้านราย เงินค้างชำระ 2 หมื่นล้านบาท กลุ่มถูกดำเนินคดีแล้ว 1.1 ล้านราย เงินค้างชำระ 5.4 หมื่นล้านบาท
นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (
“นักเรียนนักศึกษาที่ผิดนัดชำระหนี้ หรือ ไม่จ่ายหนี้ ทั้งในกลุ่มที่ขาดวินัยการเงิน หรือ กลุ่มที่ขาดจิตสำนึก ปัจจุบันสังคมเริ่มเข้าใจ
ทั้งนี้กองทุนมีนโยบายสนับสนุนการสร้างวินัยทางการเงินให้กับผู้กู้ยืม โดยได้ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษาที่เป็น ผู้กู้ยืมเงินได้เรียนรู้หลักสูตรเงินทองต้องวางแผนผ่านระบบ e-learning เพื่อเป็นการส่งเสริมวินัย ทางการเงินรู้จักวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสม และมีเทคนิคการจัดการเงินอย่างถูกวิธี ตลอดจนสามารถวางแผนชำระคืนเงินกู้ยืมได้ตามกำหนด ซึ่งการเรียนผ่าน e-learning นับเป็นทางเลือกในการนับเป็นชั่วโมงจิตอาสาของผู้กู้ยืมเงิน เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยเข้าเรียนออนไลน์ผ่านระบบ e-Studentloan เมื่อเรียนจบหลักสูตรผู้กู้ยืมสามารถพิมพ์ประกาศนียบัตร (e-Certificate) ไปยื่นให้กับสถานศึกษา และจะได้นับเป็นชั่วโมงจิตอาสาจำนวน 3 ชั่วโมง นำไปสะสมจำนวนชั่วโมงจิตอาสาให้ครบตามที่กองทุนกำหนด ซึ่งจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ที่ผ่านมากองทุนได้กำหนดให้ผู้กู้ยืมใช้เกณฑ์การนับชั่วโมงจิตอาสา 36 ชั่วโมงเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาคัดเลือกผู้กู้ยืมเงิน หากผู้กู้ยืมเงินมีวินัยทางการเงินก็จะสามารถวางแผนชำระหนี้
“ขณะนี้คณะกรรมการกองทุนฯ ได้ออกระเบียบเพื่อให้สิทธิสำหรับกลุ่มผู้กู้ยืมปกติที่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งถือว่าเป็นผู้กู้ยืมชั้นดีหรือผู้กู้ยืมที่อยู่ในช่วงปลอดหนี้และมีความตั้งใจในการส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้กับรุ่นน้องก่อนกำหนด หากมาชำระหนี้ปิดบัญชีจะได้รับการลดหย่อนเงินต้น 3% ณ วันที่ชำระหนี้ปิดบัญชี ที่เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย หรือ เคาน์เตอร์ธนาคารอิสลาม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป” นายชัยณรงค์ กล่าว
นายชัยณรงค์ กล่าวว่าสำหรับการให้การสนับสนุนให้นักเรียนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในสาขาอาชีพที่ขาดแคลนโดยเฉพาะสายวิชาชีพทาง
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับอาชีวศึกษาเห็นความสำคัญของสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย และสนใจอยากเข้าศึกษาเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการต่อยอดให้กับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ และ 3 โครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นความต้องการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น EEC และเป็นการ ลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ที่กำลังศึกษาหรือกำลังจะเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี และระดับอาชีวศึกษาที่อยู่ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายและ 3 โครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนเป็นการป้อนกำลังคนในสายอาชีวะ/สายวิชาชีพ ที่ยังขาดแคลนให้ตลาดแรงงานอื่นๆ
สำหรับข้อมูล สถานะการดำเนินงานกองทุนฯ ณ 30 เมษายน 2562 กองทุนมีผู้กู้ยืมทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 5.6 ล้านราย คิดเป็นเงิน 6 แสนล้านบาท แบ่งเป็น – ผู้กู้ที่อยู่ในช่วงกำลังศึกษา/อยู่ในช่วงปลอดหนี้ 9.7 แสนราย- ผู้กู้ที่ชำระหนี้เสร็จสิ้น 1 ล้านราย- ผู้กู้ที่เสียชีวิต/ทุพพลภาพ 6 หมื่นราย – ผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ 3.6 ล้านราย คิดเป็นเงินให้กู้ยืม 4.1 แสนล้านบาท
ผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ แบ่งเป็น – ชำระหนี้ปกติ 1.5 ล้านราย – ผิดนัดชำระหนี้ 2.1 ล้านราย เป็นเงินค้างชำระ 7.4 หมื่นล้านบาท
ผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ แบ่งเป็น – กลุ่มผิดนัดชำระแต่ยังไม่ถูกดำเนินคดี 1.1 ล้านราย เป็นเงินค้างชำระ 2 หมื่นล้านบาท- กลุ่มถูกดำเนินคดี 1.1 ล้านราย เป็นเงินค้างชำระ 5.4 หมื่นล้านบาท
ที่มา: www.posttoday.com