UNESCO-project

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO)

การดำเนินงาน

ข้อมูล/วัตถุประสงค์

ผลการดำเนินงาน

การผลักดันเมืองของไทยเข้าสู่เครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC)
1. การคัดเลือกและเสนอชื่อเมืองของไทยเพื่อสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ขององค์การยูเนสโก

2. การประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเป็นเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้

1. ประเทศไทยโดย สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการได้ผลักดันเมืองของไทยเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายฯ ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเมืองอื่นๆ ทั่วโลก เพื่อพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ซึ่งเน้นสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชนทุกคน

2. เทศบาลนครเชียงราย ได้เข้าเป็นสมาชิกแห่งแรกของไทย เมื่อปี 2562 และประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเสนอเมืองเข้าสู่เครือข่าย โดยคัดเลือกและเสนอชื่อทุก 2 ปี (ตามรอบการเปิดรับสมัคร) ปีละ 3 เมืองให้ยูเนสโกพิจารณารับรอง

1. ปัจจุบัน ประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับการรับรองให้เป็นสมาชิกเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้แล้ว จำนวน 10 เมือง (นับเป็นจำนวนที่มากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน) ได้แก่
เทศบาลนครเชียงราย (ปี 2562)
เทศบาลนครเชียงใหม่ (ปี 2563)
เทศบาลนครภูเก็ต (ปี 2563)
เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา (ปี 2563)
จังหวัดสุโขทัย (ปี 2564)
จังหวัดพะเยา (ปี 2564)
เทศบาลนครหาดใหญ่ (ปี 2564)
กรุงเทพมหานคร (ปี 2566)
เทศบาลนครขอนแก่น (ปี 2566)
เทศบาลนครยะลา (ปี 2566)

2. ในปี 2568 ยูเนสโกจะเปิดรับสมัครสมาชิกเครือข่ายฯ ช่วงเดือนเมษายน กระทรวงศึกษาธิการมีบทบาทในการคัดเลือกและเสนอชื่อเมืองไม่เกิน 3 เมือง สมัครเข้าร่วมเครือข่ายฯ

การผลักดันเมืองของไทยเข้าสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network – UCCN)

1. การคัดเลือกและเสนอชื่อเมืองของไทยเพื่อสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก

2. การประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเป็นเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองสร้างสรรค์

1. ประเทศไทยโดยสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการได้ผลักดันเมืองของไทยเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายฯ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเมืองอื่นๆ ทั่วโลก ในการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ซึ่งจะช่วยพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจให้กับประชาชนในพื้นที่
2. ปัจจุบันเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ฯ มีทั้งหมด 8 ด้าน ได้แก่ วรรณคดี การออกแบบ ภาพยนตร์ ดนตรี หัตถกรรมพื้นบ้าน สื่อศิลปะ อาหาร และสถาปัตยกรรม
3. เทศบาลนครภูเก็ต ได้เข้าเป็นสมาชิกแห่งแรกของไทย เมื่อปี 2558 และประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเสนอเมืองเข้าสู่เครือข่าย โดยคัดเลือกและเสนอชื่อปีละ 2 เมืองให้ยูเนสโกพิจารณารับรอง

1. ปัจจุบัน ประเทศไทยเมืองที่ได้รับการรับรองให้เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ฯ แล้ว จำนวน 7 เมือง ได้แก่
– เทศบาลนครภูเก็ต (ด้านอาหาร) ปี 2558
– จังหวัดเชียงใหม่ (ด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน) ปี 2560
– กรุงเทพมหานคร (ด้านการออกแบบ) ปี 2562
– จังหวัดสุโขทัย (ด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน) ปี 2562
– จังหวัดเพชรบุรี (ด้านอาหาร) ปี 2564
– จังหวัดเชียงราย (ด้านการออกแบบ) ปี 2566
– จังหวัดสุพรรณบุรี (ด้านดนตรี) ปี 2566

2. ในปี 2568 ยูเนสโกอยู่ระหว่างเปิดรับสมัครสมาชิกเครือข่ายฯ กระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการคัดเลือกเมืองในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และเสนอชื่อเมืองไม่เกิน 2 เมือง ให้ยูเนสโกพิจารณารับรอง

อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage: ICH): การเสนอมรดกทางวัฒนธรรมของไทยเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

1. อนุสัญญาดังกล่าวได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2546 มีเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (ที่ไม่เป็นวัตถุหรือสถานที่ แต่เป็นความรู้ ทักษะ การแสดงออก และประเพณีที่สืบทอดผ่านชุมชน)

2. ประเทศไทยให้สัตยาบันเข้าร่วมอนุสัญญานี้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2553 และมีบทบาทในการส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้หลายประการ เช่น การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

1. ปัจจุบัน ไทยมีมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว จำนวน 5 รายการ ได้แก่ โขน (ปี 2561) นวดไทย (ปี 2562) โนรา (ปี 2564) สงกรานต์ในประเทศไทย (ปี 2566) และต้มยำกุ้ง (ปี 2567)

2. มีมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่ขึ้นทะเบียนร่วมกับประเทศอื่น 1 รายการ คือ ชุดเคบายา

3. รายการถัดไปที่มีแผนจะเสนอในปี 2569 จำนวน 1 รายการ คือ ชุดไทย

อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (Convention concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage)
1. การเสนอแหล่งมรดกโลกของไทยเพื่อขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโก

2. การประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ความรู้ และการสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับมรดกโลกของไทย

1. อนุสัญญาดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่จัดทำโดยองค์การยูเนสโกในปี 2515 เพื่อปกป้องและอนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สำคัญของมนุษยชาติ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลก ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและการเงินแก่ประเทศที่มีแหล่งมรดกโลก สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของมรดกโลก

มรดกโลกมี 3 ประเภท ได้แก่

  1. ) มรดกโลกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) – แหล่งที่เกิดจากมนุษย์ เช่น โบราณสถาน เมืองเก่า วัด พระราชวัง และศิลปะต่าง ๆ
  2. ) มรดกโลกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) – แหล่งธรรมชาติที่มีความโดดเด่น เช่น อุทยานแห่งชาติ ภูเขา ป่าธรรมชาติ ถ้ำ และแนวปะการัง
  3. ) มรดกโลกแบบผสม (Mixed Heritage) – แหล่งที่มีทั้งคุณค่าทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ เช่น เมืองโบราณที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติสำคัญ

2. ประเทศไทยเป็นสมาชิกอนุสัญญานี้ตั้งแต่ปี 2530

1. มรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทยได้ขึ้นทะเบียนแล้ว 5 แห่ง: (1) เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ปี 2534 (2) นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร ปี 2534 (3) แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ปี 2535 (4) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ปี 2566 (5) อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ปี 2567

2. มรดกโลกทางธรรมชาติของไทยได้ขึ้นทะเบียนแล้ว 3 แห่ง: (1) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้งปี 2534 (2) กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ปี 2548 (3) กลุ่มป่าแก่งกระจาน 2564

3. ปี 2567 สงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของมรดกโลก

4. ปี 2568 มีแผนจะเสนอพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดพระบรมธาตุ) จ. นครศรีธรรมราช เป็นมรดกโลก

โครงการเฉลิมฉลองวาระครบรอบของบุคคลสำคัญ หรือผู้มีผลงานดีเด่น หรือเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศสมาชิกที่สอดคล้องกับพันธกิจขององค์การยูเนสโก (The celebration of anniversaries in Member States with which UNESCO could be associated)

: การเสนอรายชื่อบุคคลสำคัญของไทยเพื่อองค์การยูเนสโกประกาศยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก

เป็นโครงการที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลอง บุคคลสำคัญ ผู้มีผลงานดีเด่น หรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและสอดคล้องกับพันธกิจของยูเนสโกในด้าน การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และสื่อสารมวลชน

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก

1. บุคคลหรือเหตุการณ์ต้องมีอายุครบรอบ 50 ปี, 100 ปี, 150 ปี หรือช่วงเวลาที่มากกว่านั้น

2. มีความสำคัญในระดับนานาชาติและมีอิทธิพลต่อมนุษยชาติ

3. สนับสนุนเป้าหมายและค่านิยมของยูเนสโก

ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นหลังเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลและเหตุการณ์สำคัญ กระตุ้นให้เกิดการศึกษาและวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการเผยแพร่องค์ความรู้

1. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 – 2565 องค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องและร่วมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยมาแล้ว จำนวน 33 รายการ แบ่งเป็น 1) พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ จำนวน 14 พระองค์ 2) พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 4 รูป 3) สามัญชน จำนวน 13 คน และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ จำนวน 2 เหตุการณ์

2. ปี 2568 ประเทศไทยอยู่ระหว่างเสนอองค์การยูเนสโกเพื่อยกย่องบุคคลสำคัญของโลก 2 รายการ ได้แก่ (1) พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (2) สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี

แผนงานความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World: MOW): การเสนอมรดกทางประวัติศาสตร์ของไทยเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำ

เป็นโครงการที่มีเป้าหมายในการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางปัญญาและวัฒนธรรมที่มีความสำคัญระดับโลก โดยเฉพาะเอกสารและแหล่งข้อมูลที่สะท้อนถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ผลงานทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ ซึ่งหากสูญหายไปจะทำให้มนุษยชาติสูญเสียส่วนสำคัญของความรู้และประวัติศาสตร์ของตนเอง

ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์เอกสารและมรดกทางความทรงจำที่สำคัญจากการเสื่อมสลายหรือสูญหาย ส่งเสริมการเข้าถึงและการศึกษาเอกสารเหล่านี้ในระดับโลก และสร้างความตระหนักในความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกทางปัญญาของมนุษยชาติ

1. มรดกความทรงจำของประเทศไทยได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 6 รายการได้แก่ (1) ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 ปี 2546 (2) เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของรัชกาลที่ 5 ปี 2552 (3) จารึกวัดโพธิ์ ปี 2554 (4) บันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2556 (5) ฟิล์มกระจก ปี 2560 และ (6) เอกสารคัมภีร์ใบลาน เรื่อง ตำนานอุรังคธาตุ ปี 2566

2. รอบปี 2567 – 2568 ประเทศไทยได้เสนอเอกสาร 2 รายการ ได้แก่ “หนังสือสมุดไทย เรื่อง นันโทปนันทสูตรคำหลวง” และภาพยนตร์เรื่อง “พระเจ้าช้างเผือก The King of the White Elephant” เพื่อรับการพิจารณาขึ้นทะเบียน (อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ)

โครงการ Participation Programme: การเสนอขอรับการสนับสนุนจัดโครงการ/กิจกรรมภายใต้ Participation Programme

โครงการ Participation Programme เป็นโครงการของ ยูเนสโก (UNESCO) ที่ให้การสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคแก่ ประเทศสมาชิกและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของยูเนสโก ในด้าน การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และสื่อสารมวลชน

วัตถุประสงค์

1. สนับสนุนโครงการพัฒนาในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

2. เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา

3. ส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายของยูเนสโกและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ประเภทของการสนับสนุน

  • การให้ เงินทุนสนับสนุนโครงการระดับชาติและระดับภูมิภาค
  • การช่วยเหลือด้าน องค์ความรู้และเทคนิค
  • การสนับสนุน เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ

1. ตั้งแต่ปี 2551-2566 ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากยูเนสโกเพื่อดำเนินโครงการ/กิจกรรม โดย สถาบันการศึกษา หน่วยงานภายใต้ 5 สาขางานยูเนสโก และกระทรวงศึกษาธิการ ปีละ 3 โครงการ รวมจำนวน 24 โครงการ โครงการละประมาณ 23,000 เหรียญสหรัฐฯ

2. ในปี 2567-2568 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากยูเนสโกจำนวน 3 โครงการ โครงการละ 23,000 เหรียญสหรัฐฯ

โครงการเครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติของยูเนสโก (UNESCO Associated School Network Project: ASPnet):

การจัดโครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพความร่วมมือของเครือข่ายการศึกษาเพื่อความเข้าใจ อันดีระหว่างชาติขององค์การยูเนสโก

เป็นโครงการที่ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2492 ปัจจุบัน มีโรงเรียนสมาชิกกว่า 11,500 แห่ง ใน 182 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย โดยทำงานร่วมกับภาครัฐและองค์กรด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ประเทศไทยได้สมัครเป็นสมาชิกของเครือข่ายฯ เมื่อปี 2501 และได้ดำเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพความร่วมมือของโรงเรียนเครือข่าย ASPnet อย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นที่ยูเนสโกให้ความสำคัญ เช่น สันติภาพ สิทธิมนุษยชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน

1.ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานศึกษาที่เป็นสมาชิกของโครงการ 128 แห่ง (โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษา และสถาบันการศึกษาเอกชน)

2.กระทรวงศึกษาธิการได้จัดโครงการอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเชิญ ครู/อาจารย์ และเยาวชน จากสถานศึกษาสมาชิกเข้าร่วมปีละ 60-100 คน

การแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ ประเทศไทย สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศญี่ปุ่น เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติของประเทศสมาชิกยูเนสโก จำนวน 8 คนจาก 8 ประเทศ (รวมประเทศไทย) ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการดำเนินงานและหารือเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินโครงการ/กิจกรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่คณะกรรมการแห่งชาติฯ ประเทศไทย และสร้างเครือข่ายระหว่างกัน

1. ตั้งแต่ปี 2552 – 2562 (ระยะ 10 ปี) ได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนทุกปี มีจำนวนเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการฯ เข้าร่วมการประชุมแล้ว 80 คน (เว้นช่วงการดำเนินการจากสถานการณ์ Covid 19)

2. ปี 2568 สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติฯ กำหนดจัดโครงการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ฯ ในช่วงไตรมาสที่ 2 จำนวนผู้เข้าร่วม 4 คน

อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geopark) 

1. การเสนออุทยานธรณีของไทยขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก

2. การประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับอุทยานธรณีทั้งของไทยและระดับโลก

3. การสนับสนุนกระบวนการประเมินอุทยานธรณีโลกของไทยตามเกณฑ์ของยูเนสโก

1. เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการธรณีศาสตร์และอุทยานธรณีนานาชาติ หรือ International Geoscience and Geoparks programme (IGGP)

โดยแต่ละประเทศสมาชิกสามารถเสนออุทยานธรณีภายในประเทศเพื่อสมัครขอรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกได้ และอุทยานธรณีแต่ละแห่งที่ได้รับการรับรองให้เป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกจะต้องได้รับการประเมินซ้ำทุก ๆ 4 ปี เพื่อคงสถานะการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต่อไป โดยประเทศไทยมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานด้านอุทยานธรณีภายในประเทศ และอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก คือ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก 2 แห่ง ได้แก่
1. อุทยานธรณีโลกสตูล จังหวัดสตูล (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561)
2. อุทยานธรณีโคราช จังหวัดนครราชสีมา (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565)

จากผลการประชุมของสภาอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ครั้งที่ 8 เมื่อปี 2566 คณะกรรมการสภาอุทยานธรณีโลกได้มีมติเลื่อนการพิจารณาอุทยานธรณีขอนแก่นเป็นอุทยานธรณีโลก (Deferral) ออกไปก่อน เนื่องจากอุทยานธรณีขอนแก่นยังไม่บรรลุเกณฑ์สำคัญของการเป็นอุทยานธรณีโลก และเสนอให้อุทยานธรณีขอนแก่นจัดส่งรายงานความก้าวหน้าฉบับใหม่ ภายในวันที่ 26 มีนาคม 2569 เพื่อให้สภาอุทยานธรณีโลกชุดต่อไปพิจารณา

พื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserves)

1. การเสนอพื้นที่สงวนชีวมณฑลของไทยขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลของยูเนสโก

2. การประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพื้นที่สงวนชีวมณฑลทั้งในประเทศไทยและระดับโลก

เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการมนุษย์และชีวมณฑล (Man and the Biosphere (MAB) Programme) พื้นที่สงวนชีวมณฑล” เป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศบนบก ทะเล หรือชายฝั่งทะเลที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ว่ามีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ ความหลากหลายของพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ และระบบนิเวศที่สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การยูเนสโก (Sustainable Development Goals) โดยประเทศไทยมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานด้านพื้นที่สงวนและชีวมณฑล คือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพื้นที่สงวนและชีวมณฑล 5 แห่ง ได้แก่
1. พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช (จ. นครราชสีมา) ปี 2519
2. พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า (จ. เชียงใหม่) ปี 2520
3. พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก (จ. ลำปาง) ปี 2520
4. พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง (จ.ระนอง) ปี 2540
5. พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว (จ.เชียงใหม่) ปี 2565
Top