โครงการ/กิจกรรม
|
ผลการดำเนินงาน
|
1. โครงการครูผู้ช่วยสอนภาษาอังกฤษ (English Teaching Assistant: ETA) สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ บริติช เคานซิล ประเทศไทย โดยการนำนักศึกษาจากสหราชอาณาจักรที่อยู่ในช่วงปิดภาคการศึกษามาปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนของไทย ระยะเวลา 2 – 4 เดือน ปัจจุบันได้หยุดพักการดำเนินโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เพื่อพิจารณาถึงความสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
2. โครงการ ReBoot pilot project: an online Continuing Professional Development (CPD) programme เมื่อปี พ.ศ. 2566 บริติช เคานซิล ประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกันจัดโครงการนำร่องในการอบรมครูที่สอนภาษาอังกฤษ จำนวน 198 คน และครูแกนนำจากศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) จำนวน 18 ศูนย์ทั่วประเทศ ในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม |
บริติช เคานซิล ประเทศไทย
– วันที่ 12 มกราคม 2566 Mr. Danny Whitehead ผู้อำนวยการบริติช เคานซิล ประเทศไทย และคณะ เข้าพบและพูดคุยกับผู้แทนศูนย์บริหารการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center : HCEC) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อหารือแนวทางการจัดโครงการ Reboot Programme ในระยะต่อไป รวมถึงการฝึกอบรมภาษาอังกฤษแก่ครูเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน
– วันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2567 บริติช เคานซิล ประเทศไทย ร่วมกับสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Language Institute – CULI) จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ “New Directions East Asia 2024” ครั้งที่ 12 ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ภายใต้หัวข้อ “The Power of Language Assessment on Individuals and Society”และได้เชิญผู้บริหารระดับสูงกล่าวในพิธีเปิดการประชุม (นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567
– บริติช เคานซิล ประเทศไทย แจ้งความประสงค์ขอหารือการดำเนินการต่อเนื่อง ReBoot Project (อยู่ระหว่างการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) |
1. การส่งเสริมการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย
2. การเสริมสร้างความร่วมมือในขอบข่ายวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM)
3. การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ภาษาอังกฤษเชิงลึก สร้างคุณลักษณะและประสบการณ์ของการเป็นผู้ประกอบการเพื่อการเติบโตของภาคเศรษฐกิจของไทย |
|
1. การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา เพื่อทดแทนฉบับเดิมที่ลงนามเมื่อปี 2559 โดยได้มีการปรับเนื้อหาสาขาความร่วมมือเพิ่มเติม และให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน อาทิ การส่งเสริมด้านเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาอังกฤษให้แก่ครู และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เป็นต้น
2. การเข้าเยี่ยมคารวะ
วันที่ 17 ตุลาคม 2566 H.E. Mrs. Anne-Marie Trevelyan รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ด้านอินโด-แปซิฟิก) เยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประเด็นสำคัญ
– การผลักดันเรื่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
– การฝึกอบรมครู
– การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน |
สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย
– วันที่ 10 ธันวาคม 2567 กระทรวงศึกษาธิการ โดยนายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้แทนสำนักงานงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้เข้าพบ H.E. Mr. Mark Gooding OBE เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย และทีมเทคโนโลยีด้านการศึกษา เพื่อหารือร่วมกับฝ่ายเทคโนโลยี ณ สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย
– Mr. Michael Koetsier ตำแหน่ง International Regional Manager จากหน่วยงาน Scottish Qualifications Authority ประสานผ่านสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ขอพูคคุยหารือกับผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการผ่านระบบการประชุมทางไกล เพื่อนำเสนอบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ Scottish Qualifications Authority ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกรอบคุณวุฒิของสกอตแลนด์ รวมถึงแนวทางความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการอยู่ระหว่างประสานงานกับ (1) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และ (2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
– Mr. Derek Devine ตำแหน่ง Global Partnership Director บริษัท OxEd and Assessment Ltd. หรือ OxEd ประสงค์ขอหารือทางออนไลน์กับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อแนะนำ OxEd ซึ่งเป็นบริษัทที่แยกตัวมาจาก University of Oxford ดำเนินการด้านวิจัยและแอปพลิเคชันสำหรับโรงเรียน ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
การพัฒนาหลักสูตร พัฒนาครู บุคลากร และนักเรียนนักศึกษา ให้เป็นไปตามต้องการของตลาดแรงงาน เพิ่มทักษะวิชาชีพ (Reskill, Upskill, New skill) ยกระดับความรู้ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนรับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ |
|
1. การประชุม Bett Asia (British Educational Training and Technology)
2. การประชุมโลกด้านการศึกษา (Education World Forum – EWF) |
1. กระทรวงศึกษาธิการร่วมเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการประชุม Bett Asia ปี พ.ศ. 2565 – 2566 (ค.ศ. 2022-2023) ณ กรุงเทพมหานคร และเข้าร่วมการประชุม Bett Asia 2024 วันที่ 2-3 ตุลาคม 2567 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย
2. กระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมการประชุมโลกด้านการศึกษา : EWF 2024 ในเดือนพฤษภาคม 2567 ณ สหราชอาณาจักร |
การประชาสัมพันธ์ทุนชีฟนิ่ง ซึ่งเป็นทุนการศึกษาระดับโลกของรัฐบาลสหราชอาณาจักรแบบเต็มจำนวนเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโท เป็นระยะเวลา 1 ปี ในมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ทุนดังกล่าวครอบคลุมถึงค่าเล่าเรียน ค่าเดินทางไปและกลับจากสหราชอาณาจักร ค่าใช้จ่ายรายเดือน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งมอบให้กับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรทุกปี |
สถานเอกอัครราชทูตาหราชอาณาจักรประจำประเทศไทยได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการ ในการประชาสัมพันธ์ทุนชีฟนิ่ง เป็นประจำทุกปี |
หลักสูตร Business and Technology Education Council (BTEC) ของ Pearson Education Limited แห่งสหราชอาณาจักร BTEC เป็นคุณวุฒิที่มุ่งเน้นด้านอาชีพ ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักเรียนนักศึกษามีทักษะที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ
ในระดับอุดมศึกษาหรือพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การทำงานได้ทันที โดยประกอบด้วยคุณวุฒิด้านวิชาชีพจำนวนมากสำหรับผู้ที่เริ่มก้าวสู่โลกของการทำงาน ผู้ที่ต้องการก้าวหน้าในอาชีพการงาน ผู้ที่เตรียมตัวศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่กำลังจะเริ่มการฝึกงาน จากความสำเร็จอันเป็นที่ยอมรับกว่า 30 ปี ปัจจุบันมีนายจ้างและสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกจำนวนมากเลือกผู้สมัครที่ผ่านหลักสูตรของ BTEC เพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ที่ใช้ได้จริงและมีทักษะพร้อมปฏิบัติงาน
|
รัฐบาลไทยได้ให้การรับรอง Pearson อย่างเป็นทางการ เพื่อจัดหลักสูตรคุณวุฒิ BTEC ในสถาบันระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาทุกแห่งในประเทศไทย ทั้งในสถาบันของรัฐและเอกชน โดย Pearson ได้ร่วมมือกับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อพัฒนามาตรฐานหลักสูตรทางวิชาชีพให้พร้อมรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0 และเพิ่มศักยภาพแก่นักเรียนนักศึกษาด้วยทักษะอันเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 สาขา เช่น ด้านยานยนต์ อากาศยาน อุตสาหกรรมดิจิทัล การดูแลสุขภาพ และวิทยาการหุ่นยนต์ กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองการใช้หลักสูตร BTEC ในประเทศไทย ใน 4 หลักสูตร ได้แก่ ช่างอากาศยาน ธุรกิจบริการ การท่องเที่ยวและการโรงแรม และเมคคาทรอนิกส์ โดยมีการลงนามร่วมระหว่างกระทรวงศึกษาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ BTEC qualifications โดย Pearson เป็นผู้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว
|