SEAMEO-project

องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ)
Southeast Asian Ministers of Education Organization (SEAMEO)

ภูมิหลัง/กรอบความร่วมมือ

โครงการ/กิจกรรม

ผลการดำเนินงาน

-ก่อตั้งเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2508 ภายใต้ความตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคและได้มีการลงนามในกฎบัตร เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2511
-คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในปี 2510 ให้ตั้งสำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ สำนักงานเลขาธิการซีมีโอ (Southeast Asian Ministers of Education Organization Secretariat : SEAMEO Secretariat) ณ อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (เป็นที่ตั้งเดียวกับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ) เลขที่ 920 ถนนสุขุมวิท คลองเตย พระโขนง กรุงเทพฯ
โดยอยู่ในความดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ
-มีเป้าหมายในการเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม สร้างความเป็นเอกภาพในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิก พัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างศักยภาพทางการศึกษา และส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน
-มีสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป. ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และติมอร์-เลสเต
สมทบ 9 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ สเปน สหราชอาณาจักร และโมร็อกโก
หน่วยงานที่เป็นสมาชิกสมทบ 8 แห่ง
-25 ศูนย์ระดับภูมิภาค และ 1 เครือข่าย (ด้านการศึกษา 16 ศูนย์
ด้านวัฒนธรรม 2 ศูนย์ และด้านวิทยาศาสตร์ 7 ศูนย์ 1 เครือข่าย)
– กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนงบประมาณค่าสมาชิก ค่ากองทุนพัฒนาการศึกษาของซีมีโอ และค่าดำเนินการของศูนย์ระดับภูมิภาคที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
   
  การเป็นเจ้าภาพศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอ/เครือข่ายของซีมีโอของประเทศไทย ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอ/เครือข่ายของซีมีโอ โดยจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน จำนวน 5 ศูนย์ และ 1 เครือข่าย ได้แก่
          1) ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนาของซีมีโอ (SEAMEO RIHED)
          2) ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ของซีมีโอ (SEAMEO SPAFA)
          3) ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนของซีมีโอ (SEAMEO SEPS) และ
          4) ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO STEM-ED)
          5) ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยเวชศาสตร์เขตร้อนและสาธารณสุข ของซีมีโอด้านเวชศาสตร์เขตร้อน (SEAMEO TROPMED)
          6) เครือข่ายระดับภูมิภาคว่าด้วยเวชศาสตร์เขตร้อนและสาธารณสุขของซีมีโอ (TROPMED Network)
-การประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษา ซึ่งจัดขึ้น 2 ปี/ครั้ง (ปีเว้นปี) การเป็นประธานและเจ้าภาพจัดการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) – ปี 2568 จะจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษา ประมาณเดือนพฤษภาคม 2568 ณ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
-ประเทศไทยเคยเป็นประธานและเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวแล้ว จำนวน 8 ครั้ง
          ครั้งที่ 9 ปี 2517
          ครั้งที่ 14 ปี 2522
          ครั้งที่ 19 ปี 2527
          ครั้งที่ 25 ปี 2533
          ครั้งที่ 31 ปี 2539
          ครั้งที่ 37 ปี 2545
          ครั้งที่ 44 ปี 2552
          ครั้งที่ 48 ปี 2558 (ครั้งล่าสุด) ที่จังหวัดชลบุรี
-ประเทศไทยจะเป็นประธานและเจ้าภาพครั้งต่อไป ในระหว่างปี 2572
-ผู้ทำหน้าที่ประธานปัจจุบัน 2568 คือ บรูไนดารุสซาลาม และในปี 2570 คือ เวียดนาม
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของซีมีโอ (SEAMEO High Officials Meeting : HOM) สำนักงานเลขาธิการซีมีโอร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการจัดการประชุมขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ กรุงเทพฯ เพื่อเป็นเวทีกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาการศึกษา วิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกำหนดแนวทางในการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งพิจารณากลั่นกรองงาน โครงการ กิจกรรม และการจัดตั้งงบประมาณ ตลอดจนรับทราบความก้าวหน้า ผลสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการและกิจกรรมขององค์การซีมีโอ และศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอในปีที่ผ่านมาก่อนนำเสนอที่ประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และอนุมัติ
การเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของซีมีโอ (SEAMEO High Officials Meeting : HOM) -การประชุม HOM ครั้งที่ 47 ระหว่างวันที่ 26 – 28 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเท็ล แอนด์ ทาวเวอร์ส กรุงเทพฯ (ปัจจุบัน)
– การประชุม HOM ครั้งที่ 48 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2568 ณ กรุงเทพฯ
โครงการวัดผลการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA-PLM) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างองค์การซีมีโอและยูนิเซฟภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (UNICEF EAPRO) เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2557 โดยมีสำนักเลขาธิการภูมิภาคของโครงการ SEA-PLM ภายใต้การบริหารงานขององค์การซีมีโอ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนประเทศสมาชิกอาเซียนและซีมีโอ พัฒนาคุณภาพของระบบการศึกษา และสร้างระบบประเมินการเรียนการสอนเพื่อติดตามผลการเรียนของนักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ การอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และด้านความเป็นพลเมืองโลก เพื่อตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเป้าหมายที่ 4 ในด้านการศึกษา โครงการวัดผลการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA-PLM) ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2557 ในฐานะ
สมาชิกกิติมศักดิ์ (ผู้สังเกตการณ์) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
โครงการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพแบบองค์รวมให้กับโรงเรียนชายแดนของซีมีโอ (SEAMEO Border Schools Quality Inclusive Education Project (BSQIEP)
เป็นโครงการที่สำนักงานเลขาธิการซีมีโอได้ริเริ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2563 เพื่อตอบสนองตอบต่อประเด็นสำคัญซีมีโอด้านการศึกษา เรื่อง “การจัดการอุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษา” มุ่งเน้นการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการเรียนการสอนของครู การส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการศึกษาทั้งในด้านการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต การจัดหาสื่อและพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับครูและนักเรียนของโรงเรียนในพื้นที่ชายแดนที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทย
โครงการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพแบบองค์รวมให้กับโรงเรียนชายแดนของ
ซีมีโอ (SEAMEO Border Schools Quality Inclusive Education Project (BSQIEP)
-สำนักงานเลขาธิการซีมีโอได้ดำเนินโครงการดังกล่าวในประเทศไทย ดังนี้
          1) ปี 2563 พื้นที่ชายแดนไทย-ลาว จังหวัดหนองคาย โรงเรียนสีกายวิทยาคม โรงเรียนปากสวยพิทยาคม อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
          2) ปี 2565 พื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว
-โรงเรียนบ้านเขาตาง้อก ตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด
-โรงเรียนบ้านคลองไก่เถื่อน ตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด
-โรงเรียนบ้านคลองหว้าตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ
          3) ปี 2567 พื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดเชียงใหม่
-โรงเรียนบ้านหลักแต่ง
-โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม
          4) ปี 2568
-ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ (ปี 2567)
-คัดเลือกโรงเรียนในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา
ทุนฝึกอบรมของศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอเพื่อพัฒนาศักยภาพของครู อาจารย์ และบุคลากรของสมาชิก ทุนฝึกอบรมของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ของซีมีโอ (ซีมีโอคีเท็ปด้านคณิตศาสตร์) ณ เมือง Yogyakarta สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ปี 2560 – 2567 ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถม/มัธยมศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี ได้รับทุนฝึกอบรม 50 คน
  ทุนฝึกอบรมของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของซีมีโอ (ซีมีโอคีเท็ปด้านวิทยาศาสตร์) ณ เมือง Bandung สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ปี 2560 – 2567 ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ หรือภูมิศาสตร์ ระดับประถม/มัธยมศึกษา รวมถึงผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี ได้รับทุนฝึกอบรม 12 คน
  ทุนฝึกอบรมของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยเทคนิคและอาชีวศึกษาของซีมีโอ (ซีมีโอโวคเทค) ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ปี 2560 – 2567 ผู้รับทุน ได้แก่ ครู อาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับสาขาความชำนาญของศูนย์ฯ มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี ได้รับทุนฝึกอบรม 47 คน
  ทุนฝึกอบรมของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของซีมีโอ (ซีมีโอเรคแซม) ณ เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ปี 2560 – 2567 ผู้รับทุน ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา หรือนักการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา ซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี ได้รับทุนฝึกอบรม 65 คน
  ทุนฝึกอบรมของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการจัดการศึกษาพิเศษของซีมีโอ (ซีมีโอเซ็น) ณ เมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ปี 2560 – 2567 ผู้รับทุน ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับสาขาความชำนาญของศูนย์ฯ ซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี ได้รับทุนฝึกอบรม 158 คน
  ทุนฝึกอบรมของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยภาษาของซีมีโอ (ซีมีโอเรลค์ ) ณ ประเทศสิงคโปร์ ปี 2560 – 2567 ผู้รับทุน ได้แก่ ครู อาจารย์ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระดับดีมาก ได้รับทุนฝึกอบรม 84 คน
  ทุนฝึกอบรม Regional Programme on Education Leadership and the English Language ของกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ ในโอกาสรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสิงคโปร์ ดำรงตำแหน่งประธานสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2564 – 2565) ได้มอบทุนฝึกอบรม จัดโดย National Institute of Education International (NIEI) และ ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยภาษาของซีมีโอ (SEAMEO RELC) สาธารณรัฐสิงคโปร์
1. ผู้รับทุนของ NIEI ได้แก่ เจ้าหน้าที่ระดับผู้อำนวยการ ผู้บริหารสถานศึกษา นักการศึกษา หรือเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงนักการศึกษา หรือผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาระดับอาวุโส ซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี ได้รับทุนฝึกอบรม 12 คน
2. ผู้รับทุนของ RELC ได้แก่ นักการศึกษา ผู้บริหาร หรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวง ศึกษาธิการ รวมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดี ได้รับทุนฝึกอบรม 12 คน
  ทุนฝึกอบรมของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการวิจัยและบัณฑิตศึกษาด้านการเกษตรของซีมีโอ (เซียร์ก้า) ประเทศฟิลิปปินส์ ปี 2552 – 2564 ผู้รับทุน ได้แก่ อาจารย์และบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับสาขาความชำนาญของศูนย์ มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระดับดีมาก ได้รับทุนฝึกอบรม 26 คน
  ทุนฝึกอบรมของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ของซีมีโอ (ซีมีโอคีเท็ปด้านคณิตศาสตร์) ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ปี 2552 – 2567 ครูผู้สอนภาษาต่างประเทศ ระดับประถม/มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา ได้รับทุนฝึกอบรม 38 คน
Top