Saudi Arabia-project

โครงการ/กิจกรรมร่วมกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

โครงการ/กิจกรรม

ผลการดำเนินงาน

โครงการ HP Classeasy

HP Classeasy เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยส่งเสริม
การเรียนการสอนแบบดิจิทัล ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกการเรียนรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย โดยระบบจะช่วยติดตามผลการเรียน พัฒนาบทบาทการสอนและความสามารถของครูผู้สอน ด้วยการนำแพลตฟอร์มเทคโนโลยีมาใช้บูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนในห้องเรียน
ให้เป็นห้องเรียนอัจฉริยะอย่างครบวงจร

1. ดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง จำนวน 22 แห่ง ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จำนวน 20 แห่ง และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน
2 แห่ง เป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา (พ.ศ. 2567)

2. ผลการใช้โปรแกรม ดังนี้

        2.1 บริษัทฯ ได้จัดสรรสิทธิ์เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนนำร่องแต่ละแห่งสามารถเข้าใช้งานแพลตฟอร์มฯ พบว่า มีนักเรียนเข้าใช้งานแพลตฟอร์มฯ จำนวน 402 สิทธิ์

        2.2 การเข้าใช้งานแพลตฟอร์มฯ คิดเป็นร้อยละ 22.53 โดยมีโรงเรียนบางแห่งเข้าใช้งานแพลตฟอร์มฯ จำนวนน้อยครั้ง เนื่องจากความไม่พร้อมของอุปกรณ์

        2.3 จากแบบประเมิน ผู้ใช้งานมีความเห็นว่า แพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถใช้ในการจัดการห้องเรียนและจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ด้วยระบบที่หลากหลายในการใช้งานและการแสดงผลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นระบบจัดการชั้นเรียน และระบบจัดตารางการสอน ที่ทันสมัย สะดวกรวดเร็ว และใช้งานง่าย ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมด้วยความหลากหลายในรูปแบบการเรียนรู้ นอกจากนี้ ครูผู้ดูแลและเจ้าหน้าที่เทคนิคของโรงเรียนนำร่องยังได้รับความรู้และมีความคุ้นเคยในการใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนผ่านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น และมีความพึงพอใจการให้บริการการติดตาม และการให้คำแนะนำของบริษัทฯ
ผู้ให้บริการ

การจัดทำข้อริเริ่มความร่วมมือด้านการศึกษา ภายใต้สภาความร่วมมือซาอุดี – ไทย (Saudi-Thai Coordination Council: STCC) ซึ่งเป็นกลไกในการดำเนินความร่วมมือระหว่างรัฐบาลของ
ทั้งสองประเทศ โดยมีกระทรวงศึกษาธิการเป็นสมาชิกในคณะกรรมการร่วมด้านวัฒนธรรม
และการท่องเที่ยว ประกอบด้วยข้อริเริ่มความร่วมมือด้านการศึกษา 5 ฉบับ ดังนี้

1) การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ

2) การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนผู้พิการ

3) โครงการจับคู่โรงเรียนด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษา

4) ความร่วมมือด้านการประเมินผลการศึกษาระดับนานาชาติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการศึกษาปฐมวัย

5) ความร่วมมือด้านอาชีวศึกษาในสาขาการท่องเที่ยวและการบริการ

สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. ได้ประชุมหารือแนวทางการส่งเสริมข้อริเริ่มความร่วมมือ
ด้านการศึกษากับผู้แทนองค์กรหลักในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งสถาบันส่งเสริม
การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568

มติที่ประชุม ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นหน่วยงานหลักจัดทำข้อเสนอแนวคิด (Concept paper) ในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของข้อริเริ่มความร่วมมือ จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้

  1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา รับผิดชอบข้อริเริ่มฯ ฉบับที่ 1
  2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับผิดชอบ
    ข้อริเริ่มฯ ฉบับที่ 2
  3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รับผิดชอบข้อริเริ่มฯ ฉบับที่ 3
  4. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับผิดชอบข้อริเริ่มฯ ฉบับที่ 4
  5. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและกรมส่งเสริมการเรียนรู้ รับผิดชอบข้อริเริ่มฯ ฉบับที่ 5
Top