ตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์

ตราสัญลักษณ์

ตราราชวัลลภ ปรากฏหลักฐานที่หน้าบันชั้นในของอาคารหลังกลางกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีหน้าบันสองชั้น ชั้นนอกเป็นปูนปั้นตราเสมาธรรมจักร ประดับลวดลายเถาชั้นในเป็นปูนปั้น
ตราราชวัลลภ เป็นรูปพระเกี้ยว บนพานแว่นฟ้า ด้านซ้ายเป็นรูปราชสีห์ถือรวงข้าวและเคียว ด้านขวาเป็นรูปคชสีห์ถือดาบและโล่ ด้านล่าง มีตราช้างสามเศียรมีอักษรใหญ่ว่า “ราชวัลลภ” และมีอักษรเล็ก ๆ
เขียนว่า นายจอน กนคำ ผู้ปั้น ในวันที่ ๑ เมษายน ของทุก ๆ ปี พวกช่างประจำแผนกพัสดุ กระทรวงศึกษาธิการจะใช้บันไดปีนขึ้นไปไหว้ คล้องพวงมาลัย ที่ตราราชวัลลภนี้เป็นประจำ จากการศึกษาข้อมูล
ปรากฏว่าตราราชวัลลภดังกล่าว เป็นตราพระราชทานสำหรับกรมทหาร มหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๔ เรียกชื่อว่ามหาดเล็กไล่กา พ.ศ. ๒๔๑๑ เรียกว่า ทหารสองโหลต่อมา
พ.ศ. ๒๔๑๓ ตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ ตั้งเป็นกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โดยได้รับพระราชทานตราในปีนี้ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔
ได้สร้างโรงทหารถาวรของกรมทหารมหาดเล็ก เป็นตึกใหญ่ ๒ ชั้น ในบริเวณสวนดุสิต ริมถนนเบญจมาศ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นถนนราชดำเนินนอก) ด้านตะวันออกใกล้เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์
ในการขึ้นโรง ทหารใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานด้วย ความหมายของตราราชวัลลภ มีเขียนติดไว้ที่กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ถนนราชวิถี
ว่าพระเกี้ยวมีรัศมี ประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้า ประกอบด้วยฉัตรคู่ ๗ ชั้น หมายถึง พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรงกลางเป็นรูปอาร์ม มีช้างสามเศียร หมายถึงราชอาณาจักรไทย
ด้านขวา เป็นคชสีห์ถือเคียวและรวงข้าว หมายถึง มหาดไทย คชสีห์และราชสีห์ ซึ่งหมายถึงกลาโหมและมหาดไทย คือข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนมี หน้าที่ป้องกันและปกครองแว่นแคว้นประเทศไทย
อันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ภายใต้โบว์มีแถบ อักษร “ราชวัลลภ” ที่แปลว่า “ที่รักสนิทคุ้นเคยของพระราชา” บันทึกหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล, ประวัติวังจันทรเกษม ที่ข้าพเจ้าจำได้,
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ที่แต่งกายเต็มยศ เสื้อสีแดงหมวกขาว พู่ดำ จะมีเครื่องหมายตราราชวัลลภ นี้ติดประจำตัวทุกคน ตราเสมาธรรมจักร

เรื่องตราเสมาธรรมจักร นั้น ปรากฎตามประกาศตราตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงธรรมการ พ.ศ.๒๔๕๖ ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้สร้างขึ้น เป็นรูปวงกลม มีลายเสมาตั้งบนฐาน มีรูปพระธรรมจักร คือล้อรถอยู่กลางใบเสมา มีอักษรขอม ทุ.ส.นิ.ม หัวใจพระอริยสัจจ์อยู่ที่ขอบ เบื้องบนเสมา จากการค้นหลักฐานเก่า
พบตราประทับขาด ชำรุด แกะด้วยงาช้างที่ กล่องมุกในกำปั่นเก่าของแผนกพัสดุ กระทรวงศึกษาธิการ มีตราตำแหน่งปลัดทูลฉลองเป็นรูปเสมาธรรมจักร มีอักษรขอม ทุ.ส.นิ.ม ด้านบน
ตรงตามที่ได้รับพระราชทาน แต่เมื่อได้ตรวจสอบในปี ๒๕๓๔ โดยขอดูตรา ประทับชาดประจำกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแกะจากงาช้างใส่ถุงกำมะหยี่ ที่เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยของสำนัก
งานเลขานุการรัฐมนตรี สำหรับใช้ประทับเอกสารสำคัญของกระทรวง เช่น การตั้งวัด นั้น ปรากฎอักษร ทุ.ส.นิ.ม เป็นอักษรไทยมิใช่อักษรขอมที่ด้านบนเสมาธรรมจักร
เพราะมีการเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อมา คุณหญิงจวบ จิรโรจน์ เล่าว่า ขณะที่ท่านเป็นหัวหน้าสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีครั้งแรกได้สั่งให้พัสดุ จัดจ้างทำตราประจำกระทรวงขึ้นใหม่
เพราะตราของเก่าหาไม่พบ พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีการเปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ กลับไปเหมือนที่เคย เปลี่ยนมาแล้ว วันที่ ๘ ธันวาคม ปีนี้ กองทัพญี่ปุ่นได้ขอเดินทาง
ผ่านประเทศไทย และขอใช้สนามกีฬาแห่ง ชาติชั่วคราว ทำให้ข้าราชการกรมพลศึกษาต้องย้ายมาทำงานอยู่ที่ตึกเก่าชั้นเดียวหลังวังจันท์ ด้านถนนราชสีมา

ตราเสมาบนหน้าจั่ว ตราเสมาธรรมจักร ที่มีตราราชวัลลภซ้อนหลังอยู่นั้น เมื่อสมัยเตรียมงานฉลองร้อยปีกระทรวงศึกษาธิการ ได้เคย มีการคิดจะย้ายตราเสมาธรรมจักรไปไว้ที่ซุ้มหน้าประตู
เพื่อเปิดตราราชวัลลภ ซึ่งเป็นของโบราณให้เห็นจากภายนอก แต่จากการปีนฝ้าเพดาน ขึ้นไปสำรวจโดยละเอียดพบว่า ตราเสมาธรรมจักรนั้น สร้างบนพนังก่ออิฐฉาบปูน
หากจะเคลื่อนย้ายไปไว้ที่อื่น จะทำให้ตราเสมาธรรมจักร อายุกว่า ๕๐ ปี แตกหักเสียหาย เพราะ มิใช้เป็นแท่งคอนกรีตหล่อ การสร้างตราเสมาธรรมจักรที่หน้าจั่วอาคารนั้น
เป็นการสร้างอย่างตั้งใจทำสมัยย้าย กระทรวงธรรมการมาตั้งที่วังจันทรเกษม เพราะต้องดัดแปลงอาคารเดิมที่มีตราราชวัลลภ ของกรมทหาร มหาดเล็กรักษาพระองค์มาเป็นอาคารสำนักงาน
ของกระทรวงธรรมการ โดยไม่อยากทำลายตราราชวัลลภ ของเดิม จึงต้องสร้างหน้าบันซ้อนอีกชั้นหนึ่ง หมดเงินไปหลายหมื่นบาท ดังนั้นที่ประชุมอธิบดี ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๔
จึงได้มีมติให้คงตราเสมาธรรมจักรไว้ที่หน้าจั่วกระทรวงตามเดิม

พระพุทธรูป ได้มีการสร้างพระพุทธรูปประจำกระทรวง ใน พ.ศ.2531 ชื่อว่า พระพุทธบารมีศักดิ์สิทธิ์สยาม-มิศรจักรีสัฏฐ์อนุสรณ์ศึกษากรรังสรรค์ สมัยนายบรรจง
ชูสกุลชาติ เป็นปลัดกระทรวง โดยทำพิธีที่วัด สุทัศน์เทพวราราม มีเหรียญพระเครื่องทองแดง มีตรา ภปร.ด้านหลัง ให้ผู้ต้องการเช่าองค์ละ ๒๐ บาท พระเครื่องรุ่นนี้มีชื่อเสียงอภินิหาร
ด้านป้องกันแคล้วคลาด เพราะมีผู้แขวนพระนี้ประสบอุบัติเหตุรถชนกัน แต่ไม่บาดเจ็บเลยข่าวว่ามีผู้ประสบแก็สระเบิดที่ถนนเพชรบุรี แขวน พระองค์นี้ไม่ได้รับอันตรายเลย จึงมีคนมาขอเช่าองค์
พระพุทธรูป องค์นี้เคยตั้งอยู่บนชั้นสองหน้าห้องรัฐมนตรีช่วยว่าการ อยู่หลายปี จนกระทั่งสร้างหอพระในปี ๒๕๓๕ จึงอัญเชิญลงมา

Top