จังหวัดระยอง – กระทรวงศึกษาธิการ มอบ กศจ.ระยอง
จัดเตรียมแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
(Eastern Economic Corridor) ที่ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยมี
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ และนายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติผู้ว่าราชการจังหวัด
ร่วมประชุมกับทุกภาคส่วนในจังหวัดระยอง
เมื่อวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ห้องประชุมปทุมวัน วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี อำเภอเมืองระยอง,
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
(Eastern Economic Corridor : EEC) จังหวัดระยอง โดยมีนายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง, ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายอำนาจ วิชยานุวัติ
ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายธวัชชัย อุ่ยพานิช
ศึกษาธิการจังหวัดระยอง, รวมทั้งผู้แทนภาคส่วนราชการ,
ภาคเอกชน, สถานศึกษา, สถานประกอบการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมประชุม
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า
จังหวัดระยองถือเป็นจังหวัดที่สามของพื้นที่ EEC ที่จะต้องวางแผนจัดการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและความพร้อมในทุกด้าน
ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน การคมนาคม ตลอดจนการขนส่ง ที่จะต้องมีการพัฒนาให้เกิดความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียนได้ไม่ยากนัก
โดยเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งผู้เรียนมีคุณภาพการศึกษาอยู่ในเกณฑ์น่าพึงพอใจ และจากผลการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2558 ทั้งระดับชั้น
ป.6 ม.3 และ ม.6 มีระดับคะแนนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศเกือบทุกวิชา
ประกอบกับยังเป็นพื้นที่ที่มีสถานศึกษาที่สำคัญ อาทิ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ สถาบันวิทยสิริเมธี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง เป็นต้น ถือเป็นฐานในการผลิตและพัฒนากำลังคนตามแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด
เพื่อไปขับเคลื่อน EEC ให้ตรงกับเป้าหมายพัฒนาประเทศของรัฐบาลต่อไป
จึงขอให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด
(กศจ.) สร้างการรับรู้แก่ประชาชนและสาธารณชน
เกี่ยวกับการดำเนินงานบูรณาการการศึกษาในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อให้ทุกฝ่ายได้สะท้อนกลับถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานดังกล่าว
และพร้อมที่จะร่วมกันขับเคลื่อนงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและบริบทของตนเองต่อไป
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ
ยินดีที่จะร่วมดำเนินงานขับเคลื่อนการบูรณาการศึกษาเพื่อพัฒนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
ซึ่งถือเป็นรูปแบบพิเศษของพิเศษ ที่จะต้องพิเศษมากกว่าปกติ พร้อมทั้งจะนำข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะจากการประชุม
นำไปสู่การปรับปรุงและแก้ไขให้การดำเนินงานราบรื่น มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้
นายสุรศักดิ์
เจริญศิริโชติ ผวจ.ระยอง กล่าวว่า จังหวัดระยองมีภูมิประเทศเป็นที่ราบชายฝั่ง และได้ชื่อว่าเป็นเมืองสามขา คือ ภาคอุตสาหกรรม
ภาคเกษตรกรรม และภาคการท่องเที่ยว ในส่วนของการศึกษา มีสถานศึกษารวม 304 แห่ง คือ มหาวิทยาลัย 1 แห่ง
สถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา 11 แห่ง โรงเรียน 248 แห่ง (สังกัด สพฐ. 225 แห่ง และสังกัดท้องถิ่น 23
แห่ง) โรงเรียนเอกชน 30 แห่ง
โรงเรียนพระพุทธศาสนา 4 แห่ง สถานศึกษาของ กศน. 8 แห่ง และสถานศึกษาของ ปตท. 2 แห่ง
(สถาบันวิทยสิริเมธี และโรงเรียนกำเนิดวิทย์) ได้จัดทำแผนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาจังหวัดระยอง
ปี 2560-2564 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ
-
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมสนับสนุน
การบูรณาการหลักสูตร การจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้
ให้สอดคล้องกับบริบทของหน่วยงานการศึกษา -
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาผู้บริหาร
คณาจารย์ ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ -
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
โดยยึดหลักธรรมาภิบาล -
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
กศจ.ระยอง มีความคาดหวังว่าการศึกษาจะช่วยสร้างให้เด็ก
เยาวชน และชาวระยอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
มีศักยภาพในการขับเคลื่อนและพัฒนาจังหวัด ให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมสีเขียว
เป็นเมืองท่องเที่ยว และเกษตรชีวภาพที่น่าอยู่อาศัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีสิ่งสำคัญในการดำเนินงาน คือ มุ่งหวังให้บุคลากรทางการศึกษาทุกระดับและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
มีความเข้าใจ ให้ความสำคัญ
และร่วมมือกันจัดการศึกษาแบบบูรณาการในแต่ละระดับอย่างเข้มข้น จริงจัง
มากยิ่งขึ้นไปอีก
นายธวัชชัย อุ่ยพานิช
ศึกษาธิการจังหวัด กล่าวถึงรายละเอียดแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดระยอง
ว่า กศจ. ระยอง ได้จัดประชุมชี้แจงและประกาศใช้แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดระยอง เมื่อเดือนพฤศจิกายน
2559 ภายใต้วิสัยทัศน์
“คุณธรรมนำสังคมแห่งการเรียนรู้
สู่คุณภาพผู้เรียนและชีวิตอย่างสมดุล รักษ์ระยอง บนวิถีประชาคมโลก” และได้กำหนดเป้าประสงค์การจัดการศึกษาแต่ละระดับ
ดังนี้
-
ปฐมวัย รักระยอง มองประชาคมโลก
-
ประถมศึกษา ภูมิใจในความเป็นระยอง รู้จักประชาคมโลก
-
มัธยมศึกษาตอนต้น รักษ์ระยอง อยู่ร่วมกับประชาคมโลก
-
มัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา พัฒนาระยองสู่ความยั่งยืนบนพื้นฐานความเป็นประชาคมโลก
โดยได้ดำเนินโครงการสำคัญ
เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาแบบบูรณาการรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
ดังนี้
-
โครงการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายโรงเรียน โรงงาน ที่จะมีการพัฒนาอบรมครูฝึกในสถานประกอบการ
ให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี -
โครงการพัฒนาอาชีพให้กับผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต -
โครงการบริหารจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดระยอง โดยระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น สสค. เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในระยะยาว -
โครงการจัดทำหลักสูตรเพื่อการมีงานทำของจังหวัดระยอง เน้นเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนระดับปฐมวัยถึงระดับอาชีวศึกษา
ใน 3 ด้านหลัก
ได้แก่ คุณลักษณะพิสัย ทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ และความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ -
โครงการจัดเก็บข้อมูลความต้องการแรงงานจังหวัดระยอง โดยบูรณาการเชื่อมโยงตามนโยบายประชารัฐ คือภาครัฐ
ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อจัดทำฐานข้อมูล ความสามารถในการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษา
และความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงและตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน -
โครงการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาตากสินระยอง
(อบจ.ระยอง) เพื่อเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาที่มีความเป็นเลิศในสาขาวิชาเฉพาะทาง
รองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกและ Thailand 4.0นอกจากนี้ มีโครงการสำคัญที่ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
อาทิ สมาคมเพื่อชุมชน, มหกรรมการศึกษา Rayong Educaton Expo, เพื่อนชุมชนติวเตอร์,
ทุนการศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น
รศ.ดร.ธานินทร์ ศิลป์จารุ
รองอธิการบดีประจำวิทยาเขต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
วิทยาเขตระยอง กล่าวว่า
มหาวิทยาลัยมุ่งจัดการศึกษาเน้นวิศวะปฏิบัติ ตามหลักสูตรเยอรมนี
(เทคนิคไทย-เยอรมัน) ใน 3 สาขาวิชา
คือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาการบริหารจัดการ
โดยกำหนดเกณฑ์การรับผู้เรียนในสัดส่วน ระยอง 50 : อื่น ๆ 50
เพื่อผลิตคนรองรับการพัฒนาจังหวัดโดยคนระยองเองในส่วนของการให้บริการวิชาการ
ได้ดำเนินการในหลายส่วน ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์ทดสอบให้กับภาคอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ อาทิ
ด้านโลจิสติกส์ ด้านอนุรักษ์พลังงาน โรงงานกำจัดขยะ-บำบัดน้ำเสีย-อากาศเสีย
เป็นต้น, โครงการสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการ
ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ ผลิตและคิดค้นนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมภายในจังหวัด,
การให้บริการข้อมูลและเป็นที่ปรึกษา, การเตรียมเปิดหลักสูตร
“เตรียมวิศวะ” เพื่อปูทางผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา
ก้าวสู่การเป็นวิศวะไทย-เยอรมันพันธุ์แท้ เป็นต้น
นายสมชาย ธำรงสุข
ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก กล่าวว่า ปัจจุบันดำเนินการจัดการศึกษาร่วมกับ
มจพ. วิทยาเขตระยอง ตามหลักการของเทคนิคไทย-เยอรมัน ในรูปแบบทวิภาคี โดยมีจุดเน้นสำคัญ
คือ การพัฒนาให้ผู้เรียนมีสมรรถนะจากการปฏิบัติงานจริงนอกจากนี้ ได้วางแผนงานเพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีพ
ในปีการศึกษา 2560 ภายใต้หลักการสำคัญ
คือ
-
การทำให้วิทยาลัยเป็นเลิศทางการศึกษาเฉพาะทาง เน้นเปิดสาขาวิชาใหม่รองรับภาคอุตสาหกรรม
-
การปรับค่านิยมและภาพลักษณ์ โดยจัดทวิภาคีร่วมกับโรงเรียน
จัดตั้งเครือข่ายร่วมกัน การศึกษาดูงาน ฯลฯ -
การประกันคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา ที่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะดีและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
การจัดหาตลาดแรงงานรองรับ การให้ทุนการศึกษา การทำให้เห็นเส้นทางความก้าวหน้าของอาชีพที่ชัดเจน
เป็นต้น -
การจัดการอาชีวศึกษาร่วมกับต่างประเทศ โดยจัดในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคยุโรป
-
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการมีส่วนร่วมจัดสรรทรัพยากรในการจัดอาชีวศึกษา
นายธีรยล แสงอำนาจเจริญ
ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดระยอง กล่าวว่า
กศน.เน้นจัดการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนวัยแรงงาน ผู้ด้อยโอกาส
ผู้ขาดโอกาส และผู้พลาดโอกาส โดยมีสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้เพื่อจัดการศึกษาสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
รวม 182 แห่ง
ได้แก่ กศน.อำเภอ 8 แห่ง กศน.ตำบล 58 แห่ง
และแหล่งเรียนรู้ 116 แห่งในส่วนของการบูรณาการจัดการศึกษา
เพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนในการรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก แบ่งเป็น
3 ยุทธศาสตร์
คือ
-
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการท่องเที่ยว
โดยดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัด อาทิ จัดหลักสูตร ปวช.ทวิศึกษา
เปิดสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีน ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชน การจัดทำสื่อการเรียนรู้
เป็นต้น -
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการเรียนรู้ในชุมชน
โดยส่งเสริมทักษะอาชีพต่าง ๆ แก่สตรีและชุมชน ได้แก่ หลักสูตรเบเกอรี่
หลักสูตรผ้าควิลน์ หลักสูตรนวดแผนไทย นอกจากนี้ได้จัดหลักสูตรตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการตลาด
โครงการเสริมสร้างสุขภาพชีวิตผู้สูงอายุ โครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทและเศรษฐกิจพอเพียงด้วย -
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านคุณภาพแรงงาน
ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพและคุณภาพแรงงานด้านช่างพื้นฐานในทุกวันอาทิตย์ โดยจัดสอนภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านแก่ผู้ประกอบการ
นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้สนใจ
นายปรัชญา สมะลาภา
ประธานหอการค้าจังหวัดระยอง ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการศึกษาว่า ควรพัฒนาให้การจัดการศึกษาของจังหวัด
มีความยืดหยุ่นและแปรผันตามความต้องการทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันเวลา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้องการแรงงานในอนาคตที่จะผูกโยงกับนโยบายของรัฐบาลและความต้องการของผู้ที่ใช้แรงงาน
ดังนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลและหารือร่วมกับผู้ใช้แรงงานในพื้นที่โดยตรง เช่น
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สายการบินพาณิชย์ เป็นต้น รวมทั้งการสนับสนุนการเป็น
Smart City ของจังหวัดระยอง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลาโดยคาดหวังว่า การศึกษาจะช่วยสนับสนุน
จัดทำ หรือคัดสรรเนื้อหา และสื่อการเรียนการสอนมาเผยแพร่ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
โดยอาจจัดหาครูที่มีความรู้ความสามารถ มาถ่ายทอดความรู้และทักษะวิชาที่เข้าใจได้ยาก
เป็นต้น
นายสุรพล สุทธจินดา ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง
ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง
ว่า เป็นจังหวัดอุตสาหกรรมที่มีนิคมอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมร่วมกับเอกชน เขตประกอบอุตสาหกรรม