china-project

โครงการ/กิจกรรมร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

โครงการ/กิจกรรม

ผลการดำเนินงาน

1. นายหาน จื้อเฉียง (H.E. Mr. Han Zhiqiang) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐ
ประชาชนจีนประจําประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษา โดยเฉพาะด้านอาชีวศึกษา
1. กระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการศึกษาที่แน่นแฟ้นระหว่างไทย-จีน
2. ความร่วมมือด้านการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา ผ่านกิจกรรมสำคัญ ดังนี้
           2.1 โครงการอาสาสมัครผู้ช่วยสอนภาษาจีน โดยความร่วมมือกับศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ (CLEC) มีครูอาสาสมัครมาช่วยสอนภาษาจีนในโรงเรียนของไทย ตั้งแต่ปี 2551 – 2567 จำนวนทั้งหมด 18,645 คน และมหาวิทยาลัยการศึกษากุ้ยโจว มีอาสาสมัครมาช่วยสอนภาษาจีนในโรงเรียนของไทย ตั้งแต่ปี 2557 – 2567 จำนวนทั้งหมด 111 คน
           2.2 โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ร่วมกับสถาบันขงจื่อ จำนวน 4 แห่ง
           2.3 โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีน โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2568 ในโรงเรียน 9 แห่ง
           2.4 โครงการอบรมทักษะภาษาจีนสำหรับบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ปี 2565 – 2567 จำนวนทั้งหมด 85 คน
           2.5 การจัดตั้งสถาบันภาษาจีนและการศึกษาอบรมด้านเทคนิคและอาชีวะในประเทศไทย
           2.6 ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษากับมหาวิทยาลัยของจีนในการอบรมและพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา
           2.7 การแลกเปลี่ยนการเยือน การศึกษาดูงานของผู้บริหารระดับสูง ครู และบุคลากรทางการศึกษาของสองประเทศ
           2.8 การเข้าร่วมประชุมโดยผู้บริหารระดับสูงในวาระหรือกรอบความร่วมมือต่างๆ
           2.9 กิจกรรมเฉลิมฉลองวาระครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูต 50 ปี ไทย-จีน ในปี 2568 จำนวน 12 กิจกรรม โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกันจัดกิจกรรมในแต่ละเดือนตลอดปี 2568
2. นายหลิว ลี่หมิน (Dr. LIU Limin) ประธานสมาคมการศึกษาเพื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2567
โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
           1.) ส่งเสริมความร่วมมือด้านอาชีวศึกษาไทย- จีน
           2.) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา และครู
1. สมาคมฯ ยินดีที่จะผลักดันความร่วมมือด้านอาชีวศึกษา การพัฒนาหลักสูตรในทุกระดับการศึกษา และการเปิดรับครูและบุคลากรทางการศึกษาไปฝึกอบรมที่สาธารณรัฐประชาชนจีน และยินดีที่จะจัดทำและแปลสื่อการเรียนการสอนของสาธารณรัฐประชาชนจีนให้เป็นภาษาไทย หากมีบุคลากรที่ชำนาญภาษาไทยสนับสนุน

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยินดีให้การสนับสนุนความร่วมมือด้านการศึกษาในทุกมิติ โดยเฉพาะด้านอาชีวศึกษา และส่งเสริมให้นักเรียนไทยไปศึกษาต่อที่สาธารณรัฐประชาชนจีนมากขึ้น
3. อาสาสมัครผู้ช่วยสอนภาษาจีน
(นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยการศึกษากุ้ยโจว)
ดำเนินการตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน
1. ปี 2557 จำนวน 10 คน
2. ปี 2558 จำนวน 15 คน
3. ปี 2559 จำนวน 16 คน
4. ปี 2560 จำนวน 17 คน
5. ปี 2561 จำนวน 21 คน
6. ปี 2562 จำนวน 21 คน
7. ปี 2563 – 2565 หยุดดำเนินการสถานการณ์ COVID-19
8. ปี 2566 มีจำนวน 6 คน
9. ปี 2567 มีจำนวน 5 คน
รวม 111 คน
4.กระทรวงศึกษาธิการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวาระครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูต 50 ปี ไทย-จีน ดังนี้
           4.1 การเปิดสอนภาษาจีนให้ประชาชนทั่วไป และประชาสัมพันธ์การเฉลิมฉลอง ครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-จีน
           4.2 “โครงการบริจาคโลหิต “”ไทยจีนเลือดเดียวกัน” “เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและไทย”
           4.3 การปัจฉิมนิเทศครูอาสาสมัครสอนภาษาจีนของศูนย์ CLEC
           4.4 การเปิดตัว (Kickoff) การสอนภาษาจีนระดับ HSK 1-3 แบบ Anywhere, Anytime ผ่าน Digital platform
           4.5 การเปิดศูนย์สอบวัดระดับความสามารถทางภาษาจีน (HSK)
           4.6 โครงการห้องเรียนพิเศษ Chinese Programme
           4.7 การมอบรางวัลครูสอนภาษาจีนต้นแบบ
           4.8 การปฐมนิเทศครูอาสาสมัครสอนภาษาจีนของศูนย์ CLEC
           4.9 การแข่งขัน “สะพานสู่ภาษาจีน” ในปี 2568
           4.10 การประชุมสัมมนาวิชาการในโอกาสครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน ในงานจะประกอบด้วย
                      – การประชุมวิชาการ/นิทรรศการ หัวข้อ “การเรียนการสอนภาษาจีน”
                      – การนำเสนอผลงาน/นิทรรศการของนักศึกษาอาชีวศึกษาไทย-จีน
                      – การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย-จีน”
           4.11 การแลกเปลี่ยนครูและนักเรียน/กิจกรรม 50 ปี ไทย-จีน
           4.12 การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย-จีน
อยู่ระหว่างดำเนินการ
5. โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีน (Chinese Program) โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีน (Chinese Program: CP) ในปีการศึกษา 2568 จำนวน 9 แห่ง ดังนี้
           1) โรงเรียนเทพศิรินทร์
           2) โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน
           3) โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย
           4) โรงเรียนสตรีศึกษา
           5) โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ
           (สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ)
           6) โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ
           7) โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
           8) โรงเรียนเทพศิรินทร์พุแค สระบุรี
           9) โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล”
1.โครงการครูอาสาสมัครสอนภาษาจีนร่วมกับศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ (CLEC) สำนักงานกรุงเทพฯ 1.การจัดตั้ง“สถาบันภาษาจีนและการศึกษาอบรมด้านเทคนิคและอาชีวะ”
2.การพัฒนาระบบการเรียนการสอนภาษาจีน
3.การส่งเสริมการวิจัยด้านการเรียนการสอนภาษาจีน
2. ความร่วมมือกับสถาบันขงจื่อในประเทศไทย 1. โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน หลักสูตรภาษาจีนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น โดยร่วมกับ
           – ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธรและสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
           – สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
           – สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
           – สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
2. การสอบวัดระดับความรู้ความสามารถภาษาจีน (HSK)
3. ความร่วมมือกับสำนักงานฝ่ายการศึกษามหานครฉงชิ่ง  จัดการศึกษาร่วมแบบทวิวุฒิ
           – สาขาวิชายานยนต์สมัยใหม่
           – สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก
           – สาชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
1.โครงการครูอาสาสมัครสอนภาษาจีนร่วมกับศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ (CLEC) สำนักงานกรุงเทพฯ 1. ปี 2551 จำนวน 800 คน
2. ปี 2552 จำนวน 1,019 คน
3. ปี 2553 จำนวน 1,202 คน
4. ปี 2554 จำนวน 1,258 คน
5. ปี 2555 จำนวน 1,270 คน
6. ปี 2556 จำนวน 1,683 คน
7. ปี 2557 จำนวน 1,809 คน
8. ปี 2558 จำนวน 1,531 คน
9. ปี 2559 จำนวน 1,672 คน
10. ปี 2560 จำนวน 1,682 คน
11. ปี 2561 จำนวน 1,700 คน
12. ปี 2562 จำนวน 1,546 คน
13. ปี 2563 – 2565 (Covid 19 จึงไม่มีการดำเนินงาน)
14. ปี 2566 จำนวน 817 คน
15. ปี 2567 จำนวน 656 คน
รวมทั้งหมด 18,645 คน
2.โครงการอบรมทักษะภาษาจีนให้แก่บุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีจำนวนผู้เข้ารับการอบรม ดังนี้
1. ปี 2565 จำนวน 36 คน
2. ปี 2566 จำนวน 38 คน
3. ปี 2567 จำนวน 11 คน
Top