ประวัติความเป็นมา – อาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
The Association of South East Asian Nations (ASEAN)
ประวัติความเป็นมา
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) หรือ ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุส-ซาลาม เวียดนาม สปป.ลาว เมียนมาและกัมพูชา ตามลำดับ จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน มีสมาชิก 10 ประเทศ และมีติมอร์-เลสเตเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์
วัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน
- ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
- ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
- เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
- ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
- ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
- เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ
ประชาคมอาเซียน 3 เสาหลัก
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ปี 2546 ณ บาหลี ผู้นำประเทศอาเซียนได้เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่
- ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC)
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
- ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)
ทั้งนี้ การศึกษาเป็นหนึ่งในความร่วมมือภายใต้เสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)
ความร่วมมือภายใต้เสาหลักที่ 3 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) 6 ด้าน
ความร่วมมือของอาเซียนภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความร่วมมือเฉพาะด้าน” คือ ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ที่มิใช่ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบในระดับภูมิภาคพัฒนาและเสริมสร้างสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคให้ดีขึ้น รวมถึงลดผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมและรักษาเอกลักษณ์ ประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิก
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development)ให้ความสำคัญกับการศึกษาการลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์เสริมสร้างทักษะ ในการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ พัฒนาสมรรถภาพ ของระบบราชการ
- การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)ได้แก่ การขจัดความยากจน เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอาเซียนและโลกาภิวัตน์ ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร การเข้าถึงการดูแลสุขภาพ
และส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น - สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)ได้แก่ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
- ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)ได้แก่ การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐาน การดำรงชีวิตในเขตเมือง การประสานนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูล ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำจืด การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และการจัดการต่อผลกระทบ ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน - การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity)ส่งเสริมการตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน และความรู้สึกของการเป็นประชาคม การส่งเสริมและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม การมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน
- การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) อาเซียนได้ดำเนินความร่วมมือทั้งในรูปแบบของความตกลงในระดับต่าง ๆ (MOU/ Agreement/ Declaration) และโครงการความร่วมมือ ทั้งระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน และระหว่างอาเซียนกับประเทศ ภายนอกภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศคู่เจรจาทั้งในกรอบอาเซียน+1 อาเซียน+3 และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินการด้านการศึกษาอาเซียน
งานด้านการศึกษาอยู่ภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ประเด็นสำคัญด้านการศึกษาของอาเซียนประกอบด้วย การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้เยาวชน การพัฒนาด้านการวิจัยและการพัฒนาในภูมิภาค และการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การดำเนินความร่วมมือด้านการศึกษาภายใต้กรอบความร่วมมือจะมีการดำเนินการตามแผน 5 ปี ด้านการศึกษาของอาเซียน พ.ศ. 2564 – 2568 ประกอบด้วย เป้าหมายย่อยตามประเด็นสำคัญด้านการศึกษา 8 ประการ ดังนี้
- ส่งเสริมให้เกิดความตระหนัก รู้เกี่ยวกับอาเซียน ผ่านการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์และความรู้พื้นเมือง
- ยกระดับคุณภาพและสร้างโอกาส การเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับทุกคนโดยไม่ละเลยผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มชายขอบต่าง ๆ
- พัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- สนับสนุนการพัฒนาการศึกษาและฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษา ตลอดจนการเรียนรู้
ตลอดชีวิตในภูมิภาค - ส่งเสริมการดำเนินงานของทุกภาคส่วน ในการพัฒนาคนให้สอดคล้องตามความต้องการ
ของตลาดแรงงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน - เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการอุดมศึกษาด้วยการพัฒนาระบบ ประกันคุณภาพทางการศึกษา
ที่มีประสิทธิภาพ - เสริมสร้างบทบาทของการอุดมศึกษาให้เข้มแข็งด้วยการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ
กับมหาวิทยาลัย - ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
การดำเนินงานของประเทศไทยด้านการศึกษาของอาเซียน
กระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยประสานงานหลักด้านการศึกษาของอาเซียน มีการประชุมที่สำคัญ 2 ระดับ คือ
- การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน
- การประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน
โดยการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- หารือเชิงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกรอบอาเซียน อาเซียนบวกสาม และอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และอเมริกา
- ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม/โครงการภายใต้แผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน พ.ศ. 2564 – 2568 แผนงานด้านการศึกษาของอาเซียนบวกสาม พ.ศ. 2561 – 2568 และร่วมกำหนดนโยบายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ยึดเป็นแนวทางขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการศึกษาภายใต้กรอบต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
- เป็นเวทีให้ผู้นำด้านการศึกษาของรัฐบาลประเทศสมาชิกและภาคีต่าง ๆ ระดมความคิดเห็น
และทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการศึกษา