ศธ.ติดตามโครงการโรงเรียนคุณธรรมที่พระนครศรีอยุธยา
จากการตรวจเยี่ยม เห็นว่าผู้บริหารและครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ แม้โรงเรียนทั้งสองแห่งจะเป็นโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก ๆ มีจำนวนนักเรียนเพียงโรงเรียนละ 100 กว่าคนเท่านั้น แต่ก็สามารถพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนจนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งส่วนสำคัญอีกประการคือความต่อเนื่องในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน
อย่างไรก็ตาม ได้เน้นย้ำให้โรงเรียนให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยนอกจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงก่อสร้างอาคารเรียนและบ้านพักครูแล้ว ยังมีมูลนิธิ
สิ่งสำคัญที่ได้ให้โรงเรียนทั้งสองแห่ง รวมทั้งหน่วยงานทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการดำเนินการต่อไป คือ วางแผนบริหารจัดการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ซึ่งจะได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ ด้วยว่า รัฐบาลชุดต่อไปที่มาจากการเลือกตั้งจะต้องจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาต่าง ๆ (มาตรา 142) และจัดทำนโยบายที่จะแถลงต่อรัฐสภาให้สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ (มาตรา 162) ซึ่งเท่ากับว่ายุทธศาสตร์ชาติจะเป็นกรอบอย่างหนึ่งในการจัดทำนโยบายและการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลชุดต่อ ๆ ไป
สำหรับแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาตินั้น โรงเรียนและหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด จะต้องวางแผนงานโครงการให้รองรับกรอบยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ความมั่นคง 2) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ยืนยันว่าจากนี้ไปกระทรวงศึกษาธิการจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยแนวทางของทุกโรงเรียนและหน่วยงานสามารถบริหารจัดการและมีทิศทางดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติได้ ตัวอย่างเช่น
โรงเรียน
มาลาอีสงเคราะห์ เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนมุสลิมมาหลายร้อยปี ก่อนตั้งกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง แม้ชุมชนจะมีฐานะไม่ดีเช่นชุมชนอื่น ๆ แต่ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่มีความสงบ สันติ มีผลดำเนินงานด้วยคุณภาพที่สามารถผลักดันให้เป็นโรงเรียนตัวอย่างเรื่อง “ความมั่นคง” ตามยุทธศาสตร์ชาติได้ เพราะเป็นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และข้ามพรมแดนทางศาสนา เป็นต้น
โรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง มีหลายโครงการที่มีผลดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติได้ คือ การจัดทำ 6 โครงงานในการส่งเสริมโครงการโรงเรียนคุณธรรม เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านปลูกผักสวนครัวเพื่ออาหารกลางวัน ด้านเลี้ยงไก่ไข่ ด้านจิตอาสา โครงการวินัยในตนเอง และโครงงานมารยาทไทย ก็สามารถตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติเรื่อง “ การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “ และ “การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์” หรือการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารเทศที่ทันสมัยของโรงเรียน ก็สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในเรื่อง “ การสร้างความสามารถในการแข่งขัน” ได้อีกด้วย นอกจากนี้ โรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง ซึ่งได้รับพระราชทานในการก่อตั้งโรงเรียนและเป็นโรงเรียนตามโครงการในพระดำริเพียงแห่งเดียวในพระนครศรีอยุธยา ซึ่งนอกจากจะต้องพัฒนาโรงเรียนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติแล้ว จะต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่องให้เป็น “ราชานุสรณ์” ขนาดย่อมให้ได้
ที่พัฒนาการเรียนการสอนจนมีคุณภาพมาก และมีผลสัมฤทธิ์ทางการสอน เช่น ผลการสอบ O-NET จากเดิมที่ตกต่ำอันดับท้าย ๆ ให้มีผลคะแนนสูงขึ้นทั้ง 6 กลุ่มสาระ และมีส่วนสำคัญต่อการเข้าไปช่วยพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะ 2 แห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สถาบันศึกษาปอเนาะมูโนะและบูเก๊ะตา ให้มีคุณภาพจนเป็นที่ยอมรับของพื้นที่ แม้กระทั่งมาเลเซียต้องมาศึกษาดูงาน เพราะตามปกติผู้มีฐานะในพื้นที่ดังกล่าวจะส่งลูกหลานไปเรียนที่มาเลเซีย แต่สถาบันทั้งสองแห่งดังกล่าวกลับมีผู้ปกครองส่งเด็ก ๆ เข้ามาเรียนเป็นจำนวนมาก
บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ
11/12/2559