ประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 3/2563

เมื่อวันพฤหัสบ​ดี​ที่ 29 ตุลาคม​ 2563 นาย​ณัฏ​ฐ​พล​ ที​ป​สุวรรณ​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั่วประเทศ ครั้งที่ 3/2563 โดยมี นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ​คณะกรรมการ​การศึกษา​ขั้น​พื้นฐาน​ ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการ​การ​ศึกษา​ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ผู้อำนวยการสำนักงาน​เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 225 เขต เข้าร่วมประชุม ณ ศูนย์การศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จังหวัดสมุทรสงคราม

 width=  width=  width=  width=  width=  width=  width=  width=  width=  width=  width=  width=
รมว.ศึกษาธิการ​ กล่าวว่า ในช่วงวิกฤต COVID-19​ ที่ผ่านมา ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของระบบการศึกษาไทย ซึ่งจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นหลัก ในขณะเดียวกัน COVID-19​ ก็สะท้อนความเข้มแข็งของระบบการศึกษาไทย ที่สามารถผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพ ส่งผลให้ระบบสาธารณ​สุขในประเทศมีความเข้มแข็ง หากเราสามารถนำระบบนี้ มาใช้กับการผลิตบุคลากรและกำลังคนในสาขาอาชีพอื่น ๆ ก็จะทำให้ประเทศไทย มีกำลังคนที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ​ของประเทศ จึงขอขอบคุณผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ทุกท่าน รวมถึงผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครู ที่ร่วมมือกันจัดการเรียนการสอนในช่วงวิกฤต COVID-19 พร้อมฟันฝ่าปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เรายังไม่คุ้นเคย แต่เราก็ได้พิสูจน์แล้วว่า หากเราร่วมมือกัน ก็สามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี แม้ขณะนี้จะเกิดการระบาดไปทั่วโลก ประเทศไทยก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คือ ฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ ขอให้ทุกคนเป็นผู้นำในการพลิกประวัติศาสตร์การศึกษาไทย ในการร่วมกัน “ปลดล็อก” ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาไทย “ปรับเปลี่ยน” แนวทางและทัศนคติ เพราะเรายังทำแบบเดิม แต่คาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา คงเป็นไปได้ยาก และ “เปิดกว้าง” รับสิ่งใหม่ ๆ ที่ยังไม่คุ้นเคยในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างเยาวชนให้มีศักยภาพ เพราะอนาคตของพวกเราขึ้นอยู่กับเด็กและเยาวชนในปัจจุบันนี้ เราจึงต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษามีทักษะความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้

นอกจากนี้ ขอฝากเรื่องการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นการดำเนินการที่ยาก แต่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะกระทรวงศึกษาธิการ​ต้องดูแลเด็กทุกคนให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจุบันเด็กในโรงเรียนขนาดเล็กบางแห่ง ยังไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าที่ควร อันเนื่องมาจากข้อจำกัดด้านต่าง ๆ เช่น จำนวนนักเรียนที่มีน้อย ครูไม่ครบชั้น การขาดแคลนสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน ทำให้เด็กได้รับความรู้ไม่เต็มที่ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ทั้งการจักรถรับ-ส่ง นักเรียน การจัดสรรผู้บริหารและบุคลากร ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณ
ในส่วนของโรงเรียนประจำจังหวัด ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ มีนักเรียนมากกว่า 3,000 -​4,000 คน ด้วยจำนวนเด็กที่มากเกินไป อาจทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ขอให้พิจารณาถึงการกระจายจำนวนเด็กไปยังโรงเรียนมัธยมอื่น ๆ ตามบริบทของพื้นที่ เช่น การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็น “โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง” เพื่อจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ รองรับเด็กจากพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้ง เชื่อมโยงกับโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่โดยรอบ ในการรับช่วงต่อให้เด็กได้เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษา​อย่างมีคุณภาพด้วย

อรพรรณ​ ฤทธิ์​มั่น​: สรุป​
นวรัตน์​ ราม​สูต​: เรียบเรียง​
ยุทธ​พงศ์​ เลือก​กลั่น​ดี​: ถ่ายภาพ​
กลุ่ม​ประชา​สัมพันธ์​ สร.: รายงาน​
30/10/2563