มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ

มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ

(12 มกราคม 2564) นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ

อนุมัติแต่งตั้งประธานและกรรมการในคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รวม 21 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ดังนี้

  1. นายรอยล จิตรดอน ประธานกรรมการ
  2. นายประสาน ประวัติรุ่งเรือง กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรเอกชน
  3. นายมานะผล ภู่สมบุญ กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรเอกชน
  4. นายประดิษฐ์ วัชระดนัย กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรเอกชน
  5. นายณรงค์ จันทะธรรม กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  6. รองศาสตราจารย์เกรียงไร บุญเลิศอุทัย กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรวิชาชีพ
  7. นายวณิชย์ อ่วมศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านอุตสาหกรรม
  8. นายธีระ ณ วังขนาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านอุตสาหกรรม
  9. นางปัทมาวลัย รัตนพล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านธุรกิจหรือบริการ
  10. นายสมบัติ แสงสว่างสัจกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านธุรกิจหรือบริการ
  11. นายนิยม ไวยรัชพานิช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเกษตรและประมง
  12. นายบำเพ็ญ เขียวหวาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเกษตรและประมง
  13. นายณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย
  14. นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการเงินการคลังหรือการลงทุน
  15. นายสินเธาว์ ชัยสวัสดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการพัฒนากำลังคน
  16. ว่าที่ร้อยตรี จรูญ ชูลาภ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการจัดการอาชีวศึกษาภาครัฐ
  17. รองศาสตราจารย์สมบัติ นพรัก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการจัดการอาชีวศึกษาภาครัฐ
  18. นายอดิศร สินประสงค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการจัดการอาชีวศึกษาภาคเอกชน
  19. นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการจัดการศึกษาพิเศษ
  20. นางศิริพรรณ ชุมนุม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา
  21. นายวิบูลย์ สมบูรณ์ศักดิกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา

รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า เร็ว ๆ นี้จะเชิญ กอศ.ทุกท่านมารับทราบนโยบายการทำงานและการวางแนวทางยกระดับอาชีวศึกษาของ ศธ. รวมถึงหารือปัญหาของอาชีวศึกษาว่ามีอะไรบ้างที่เป็นปัญหาหลักในการขับเคลื่อนประเทศ เช่น การบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อดำเนินโครงการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร และการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น