ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำตอบกระทู้ถามของนายกรัฐมนตรี เรื่อง “การปฏิรูปการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560”
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2564 เผยแพร่คำตอบกระทู้ถามของนายเฉลิมชัย เฟื่องคอน สมาชิกวุฒิสภา เรื่อง “การปฏิรูปการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตอบคำถามในราชกิจจานุเบกษา 7 ข้อ ดังนี้
- การปฏิรูปการศึกษา ตามร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่งมีอยู่ 110 มาตรา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 เมื่อได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว ขอทราบว่าประเทศชาติ สังคม ประชาชน ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้ปกครองและนักเรียน นักศึกษา จะได้รับประโยชน์อย่างไร
- การปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานในการบริหารและจัดการการศึกษาในส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะปัญหาการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ตามคำสั่ง คสช. ที่ 19/2560 ลงวันที่ 3 เมษายน 2560 กับคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ได้มีบทบัญญัติและแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ อย่างไร
- ปัญหาสถานศึกษาของรัฐที่ไม่มีความเป็นอิสระ ราชการบริหารส่วนกลางไม่มีการกระจายอำนาจ และมอบอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ การบริหารทั่วไป การงบประมาณ และการบริหารงานบุคคล ในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้มีบทบัญญัติแก้ไขหรือไม่ อย่างไร
- ปัญหาบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งในปัจจุบันได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าผู้ประกอบวิชาชีพครู โดยเฉพาะที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติ มาตรา 41 ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่จะมีแนวทางแก้ไขหรือไม่ อย่างไร
- ได้กำหนดให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ ความสามารถอย่างแท้จริงที่เป็นรูปธรรมอย่างไร
- โครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการที่มีบทบัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มาตรา 69 และมาตรา 106 ซึ่งยังไม่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมว่าในส่วนกลางการบริหารราชการจะเป็นรูปคณะบุคคล หรือจะมีลักษณะเป็นกรม รวมทั้งการบริหารจัดการศึกษาในส่วนภูมิภาคจะกระจายอำนาจไปยังคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาของรัฐอย่างไร ขอทราบแนวทางดังกล่าว
- คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายฉบับเดิม เป็นองค์กรหลักในการกำกับ ส่งเสริมและสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้การปฏิบัติงานของสถานศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพ แต่ในร่างพระราชบัญญัติมาตรา 23 กำหนดให้ทำหน้าที่เฉพาะให้คำปรึกษา เสนอแนะ ติดตาม ดูแล หรือช่วยเหลือ ภายใต้เงื่อนไขให้การทำหน้าที่มีลักษณะอาสาสมัครด้วยความสมัครใจ เป็นการลดทอนบทบาทของประชาชนและภาคเอกชนในพื้นที่ในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา เหตุใดจึงกำหนดบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานลดน้อยลง มีเหตุผลอย่างไร
รายละเอียดคำตอบทั้ง 7 ข้อ : ราชกิจจานุเบกษา