เสมา 3 เปิดตลาดนัดการเรียนรู้ออนไลน์วังจันทรเกษม หลักสูตรที่ 9 “Active Learning”

เสมา 3 เปิดตลาดนัดการเรียนรู้ออนไลน์วังจันทรเกษม หลักสูตรที่ 9 “Active Learning”

 width=

(10 กันยายน 2564) ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการอบรมตลาดนัดการเรียนรู้ออนไลน์วังจันทรเกษม หลักสูตรที่ 9 “Active Learning” โดย ดร.เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี และคณะ เป็นวิทยากร ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams มี ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ ดร.วีระ แข็งกสิการ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมจันทรเกษม ส่วนในภาคบ่าย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พบปะวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรม

ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้ในลักษณะ Active Learning ซึ่ง ศธ.ได้นำหลักสูตรนี้มาใช้เป็นระยะเวลายาวนานแล้ว และสำคัญที่สุด คือ การมุ่งเน้นศักยภาพครู ซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะต้องนำความรู้และประสบการณ์อันทรงคุณค่าของตนเองสอนให้กับผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาสถานการณ์เปราะบางเช่นนี้ ยิ่งต้องทำให้ผู้ปกครองและประชาชนเกิดความมั่นใจเพิ่มมากขึ้น ขอให้ผู้เข้ารับการอบรมเปิดใจที่จะเรียนรู้ด้วยความสุข ด้วยกระบวนการเชิงรุกเพื่อพัฒนาคุณภาพการสอน ยกระดับคุณภาพของผู้เรียนในด้านทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ สามารถนำพาประเทศเข้าสู่การแข่งขันทุกด้านในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ เป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มการเรียนรู้สำหรับครูทุกคนในประเทศ และได้รับเกียรติจากวิทยากรระดับประเทศหลายท่าน ภายใต้ชื่อ “ตลาดนัดการเรียนรู้ออนไลน์วังจันทรเกษม” ประกอบไปด้วยการอบรม 10 หลักสูตร ในวันนี้เป็นหลักสูตรที่ 9 ได้รับเกียรติจาก ดร.เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มจร.อุทัยธานี เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “Active Learning” มีครูและบุคลากรทางการศึกษา สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมกว่า 57,000 คน โดยตลอดทั้ง 8 หลักสูตรที่ผ่านมามีผู้ผ่านการอบรมแล้วทั้งสิ้น 435,751 ที่นั่งอบรม

ดร.เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า “ทำไมต้องเรียนแบบ Active Learning ?” เพราะกระบวนการเรียนรู้เชิงลึก หรือ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในห้องเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน มุ่งให้นักเรียนลงมือปฏิบัติโดยครูต้องลดบทบาทเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) รวมทั้งเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำปรึกษา ดูแล แนะนำ ทำหน้าที่เป็นเหมือนโค้ชและพี่เลี้ยง แสวงหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย สร้างองค์ความรู้และมีความเข้าใจได้ด้วยตนเอง ใช้สติปัญญา คิด วิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์

ที่สำคัญ เน้นให้นักเรียนเพิ่มบทบาทไม่รอเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดขั้นสูง ไม่ใช่แค่ฟัง ต้องอ่าน เขียน ตั้งคำถาม และอภิปรายร่วมกัน เป็นการเรียนรู้สองทิศทาง การที่นักเรียนได้โต้ตอบทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และกระตือรือร้นที่จะร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งทำให้ครูรู้ถึงความรู้เดิมที่นักเรียนมีอยู่แล้ว เพื่อนำไปต่อยอดกับความรู้ใหม่ที่ครูกำลังจะถ่ายทอดได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ด้านการประเมินผลจะประเมินด้วยการสอบปากเปล่า นำเสนอ พูดคุย การทดสอบรูปแบบนี้ เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนทบทวนบทเรียน แล้วนำไปคิดวิเคราะห์ ค้นคว้าวิจัย จึงสามารถจดจำเป็นภาษาของตนเอง และนำไปใช้ได้ดีกว่า ไม่มีสิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิดอีกต่อไป

การเรียนรู้แบบ Active Learning จึงแตกต่างจากการเรียนแบบ Passive Learning แบบเดิมอย่างสิ้นเชิง ที่ผู้เรียนเป็นแค่ผู้รับ ผ่านการฟัง อ่าน ดู เรียนตามหลักสูตรที่กำหนดตายตัว เปรียบดั่งการตัดเสื้อโหลไม่ใช่การตัดเสื้อสูทเข้ารูป กล่าวคือเด็กทุกคนมีศักยภาพในการเข้าถึงองค์ความรู้แตกต่างกัน จะเรียนหลักสูตรเดียวกัน หรือมีมาตรฐานเพียงอย่างเดียวไปประเมินผลไม่ได้ สื่อการสอนก็มีเพียงสมุด หนังสือ และกระดานเรียน ครูมีหน้าที่สั่งงาน ให้นักเรียนมีหน้าที่ทำตาม ส่วนด้านการประเมินผลเป็นการสอบที่เน้นการท่องจำในสิ่งที่อยู่ในหนังสือให้เลือกตอบ จึงมีเพียงถูกกับผิดเท่านั้น

“กระบวนการเรียนรู้ Active Learning สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ โดยสามารถเก็บและจำสิ่งที่ผู้เรียน เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ผู้สอน และสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ได้ผ่านการปฏิบัติจริง จะสามารถจดจำในระบบความจำระยะยาว ทำให้ผลการเรียนรู้ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่า ยาวนานกว่ากระบวนการเรียนรู้ Passive Learning”

 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=
 data-attachment-id=

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง