ศธ.จับมือ 12 พันธมิตร ร่วมแก้ปัญหาเชิงรุก “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อคืนโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กที่หลุดออกนอกระบบกว่าแสนคนได้กลับมาเรียน

ศธ.จับมือ 12 พันธมิตร ร่วมแก้ปัญหาเชิงรุก “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อคืนโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กที่หลุดออกนอกระบบกว่าแสนคนได้กลับมาเรียน

 width=

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ นายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ ผู้บริหารองค์กรหลัก และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ให้การต้อนรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน” ระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการ กับ 12 พันธมิตร เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565 ณ หอประชุมคุรุสภา ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน” เป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล “จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ที่ให้ความสำคัญกับคนทุกกลุ่มและเพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับประโยชน์ในทุกด้านอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค โดยกระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและถือเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่ต้องให้การศึกษากับเด็กนักเรียนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผ่านมาและที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เด็กจำนวนมากหลุดออกจากระบบการศึกษาภาคบังคับ การศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการติดตามนักเรียน นำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา หลังจากที่หลุดจากระบบไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา ด้วยการสร้างความร่วมมือของแต่ละหน่วยงานและการติดตามผลจากดำเนินการตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางที่เกิดจากการร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ

“หลังจากนี้ เราจะคืนโอกาสให้กับเด็ก ๆ และสร้างโอกาสให้กับสังคม โดยการพาเด็ก ๆ กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับปีการศึกษาใหม่ 2565 นี้ ในการเติมเต็มด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนอันเป็นกำลังสำคัญของประเทศ ซึ่งหากเด็กได้รับโอกาส ทางการศึกษาแล้ว ก็จะมีอนาคตที่ดี มีทางเลือกในชีวิตในการประกอบอาชีพ มีความรู้ความสามารถ มีงานดีๆทำ ก็จะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยตั้งเป้าตัวเลขเด็กหลุดจากระบบการศึกษาต้องเป็นศูนย์” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งว่า กระทรวงศึกษาธิการ เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้มีการแก้ปัญหาเชิงรุกผ่าน โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง สพฐ. สช. อาชีวศึกษา กศน. และพันธมิตร 12 หน่วยงาน ได้แก่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรุงเทพมหานคร และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยจะบูรณการร่วมกัน เพื่อให้ทราบถึงจำนวนเด็กในปัจจุบัน ที่หลุดออกจากระบบการศึกษา และจะมีการลงติดตามถึงบ้าน เพื่อตามเด็กเหล่านี้กลับสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง

 width=

 width=

 width=

 width=

จากสถิติจำนวนนักเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาปี 2564 โดยแบ่งตามสังกัด ได้แก่ สังกัด สพฐ. จำนวน 78,003 คน สังกัด สป. จำนวน 50,592 คน สังกัด สอศ.จำนวน 55,599 ดน และผู้พิการในวัยเรียนสังกัด พม. จำนวน 54,513 คน รวมแล้วมีนักเรียนหลุดจากระบบการศึกษามากถึง 238,707 น ซึ่งหลังจากดำเนินการเชิงรุกตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา สามารถตามนักเรียนกลับมาเรียนได้ 127,952 ยังมีเด็กที่หลุดจากระบบจำนวน 110,755 ราย

“กระทรวงศึกษาธิการ ได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่ชื่อ “ตามน้องกลับมาเรียน” เพื่อเป็นเครื่องมือติดตามนักเรียนเหล่านี้ ที่จะทำให้การทำงานที่สะดวกรวดเร็ว สามารถเก็บเป็นฐานข้อมูลของปัญหาที่เกิดกับแต่ละครอบครัวได้อย่างละเอียด นอกจากนี้ ยังเป็นแนวทางการให้ความช่วยเหลืออย่างตรงจุดกับทุกเคสทุกกรณีต่อไป โดยในเบื้องตันจะให้โรงเรียนตันสังกัดติดตามนักเรียน จากนั้นกระทรวงศึกษาธิการ จะเข้าช่วยเหลือและสนับสนุนให้กลับเข้าสู่สถานศึกษาที่เหมาะสม แต่หากโรงเรียนต้นสังกัดติดตามไม่ได้ ก็จะประสานความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรที่ได้มีการทำ MOU ในวันนี้ ให้ช่วยติดตาม เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนให้กลับเข้าสู่สถานศึกษาที่เหมาะสมต่อไป เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กไทยได้กลับมามีโอกาสที่ดีในชีวิตกันอีกครั้ง” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว

 width=

 width=

นวรัตน์ รามสูต: สรุป/รายงาน
ทิพย์สุดา ศรีสะแก้ว,สถาพร ถาวรสุข,ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ
ประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
17/1/2565