รมว.ศธ.รับฟังสภาพปัญหาการจัดการศึกษาภาคใต้ ที่สงขลา
จังหวัดสงขลา – พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1,2,3
นายปราโมทย์ ส่งสิงห์ ผอ.สพป.สงขลา เขต 1 รายงานถึงปัญหาและแนวทางดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
– การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก : ที่มีคะแนน O-NET ต่ำ แก้ไขปัญหาโดยพยายามเร่งรัดคุณภาพมาตรฐานโรงเรียนทุกระดับ เน้นกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคะแนนเฉลี่ย 40% ลงมา และมีการนิเทศเครือข่ายกรรมการบริหารวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก
(รมว.ศึกษาธิการ เสนอให้มีแนวทางแก้ปัญหา เช่น โรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง คลี่ปัญหาให้เห็นชัดๆ ก่อนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาตามความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ เช่น หมุนเวียนครูไปสอน จัดรถรับส่งนักเรียน เสนอแนะว่าการแก้ปัญหาอย่า Statics ต้อง Dynamic และขอให้ สพฐ. ไปจัดทำรูปแบบการพัฒนา รร.ขนาดเล็กว่ามีกี่แบบ เพื่อให้โรงเรียนเลือกใช้)
– ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ : โดยมีการคัดกรองเด็ก
– การปรับลดเวลาเรียนของนักเรียนในชั้นเรียนถึงเวลา 14.00 น. จะดำเนินการเฉพาะระดับประถมและมัธยมฯ ตอนต้น ให้เป็นไปตามความสมัครใจ และนำร่องในปีนี้ร้อยละ 30 จำนวน 142 โรงเรียน
– การจัดสรรงบประมาณประจำปี (งบลงทุน) ปัญหามีหลายด้าน อาทิ ครูไม่มีความชำนาญด้านงบประมาณ ไม่สามารถหาผู้รับเหมาได้ ไม่มีผู้เสนอราคาได้ โรงเรียนไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ งบฯ เบิกจ่ายไม่เป็นไปตามเป้า
– จำนวนนักเรียนย้อนหลัง 5 ปีมีแนวโน้มลดลง ลดลงเฉลี่ยปีละ 1,000 คน
(รมว.ศึกษาธิการ ให้หาสาเหตุว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้จำนวนนักเรียนลดลง สาเหตุใดที่ทำให้จำนวนประชากรลดลง พยายามถอดปัญหาให้ละเอียดก่อนว่ามาจากสาเหตุใดบ้าง เช่น เกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานหรือไม่ สิ่งที่ต้องระวังอย่างมากคืออย่าปล่อยให้เด็กหายจากระบบการศึกษา)
สถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดสงขลา
– เน้นการพัฒนาสมรรถนะคุณภาพผู้เรียน : โดยการส่งเสริมการเรียนภาษาอาเซียน การจัดการเรียนร่วมกับสถานประกอบการหรือทวิภาคี การศึกษาดูงานในสถานประกอบการทุกปี– เน้นการเพิ่มจำนวนผู้เรียน : โดยจัดทำ MOU กับสถานประกอบการ การแนะแนวการศึกษาสายอาชีพ และการจัดโครงการบริการชุมชน โดยออกศูนย์บริการตามชุมชน
รมว.ศึกษาธิการ สอบถามถึงการจัดระบบทวิภาคีของอาชีวะสงขลาว่า สามารถเพิ่มจำนวนผู้เรียนได้เท่าไรเมื่อเทียบกับภาพรวมทั้งประเทศที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ถึง 20% ซึ่งอาชีวะสงขลาให้ตัวเลขว่าเพิ่มได้ 15% ซึ่งก็เห็นว่าเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16
–
– การปรับลดเวลาเรียนในชั้นเรียน มีโรงเรียนมัธยมฯ แจ้งความประสงค์ต้องการเป็นโรงเรียนนำร่องจำนวนมาก แม้กระทั่งโรงเรียนขนาดใหญ่เช่นโรงเรียนมหาวชิราวุธจังหวัดสงขลา (รมว.ศึกษาธิการ ขอให้นำร่องเฉพาะระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นก่อน โดยกิจกรรมหลังเลิกเรียนในชั้นเรียน อาจเป็นกีฬา ศิลปะ ดนตรี ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ เพื่อให้เด็กทำกิจกรรมแล้วได้รู้ว่ามีความถนัดอะไรในขั้นต้น ขณะนี้ สพฐ.กำลังคิดเมนูให้ จะเสร็จสิ้นและนิ่งภายใน 10 ตุลาคมนี้)
สำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา
– อัตราผู้ไม่รู้หนังสือของ จ.สงขลา 8,347 คน ซึ่งได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตร 50 ชั่วโมง และใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งมีการปรับกระบวนทัศน์ในการเรียนการสอน (รมว.ศึกษาธิการ เห็นว่าผู้ที่ไม่ผ่านหลักสูตร 5o ชม.ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ กศน.จึงต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจน ซึ่งหลักสูตรอาจจะดีอยู่แล้ว แต่อาจะปรับจำนวนชั่วโมงให้เหมาะสมก็ได้)
– การศึกษาสำหรับทหารกองประจำการ ซึ่งเป็นผู้เรียนระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายจำนวน 2,078 คน ปัญหาที่พบคือ
– การศึกษาเพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (เฉพาะ 4 อำเภอในสงขลา คือ จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย) โดยมีสถาบันศึกษาปอเนาะ 42 แห่ง มีนักศึกษาปอเนาะ 2,786 คน
– การส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาพาสันติสุข ทั้งภาษาไทยและภาษามลายู เพื่อการสื่อสาร
– กีฬาสัมพันธ์ มีการจัดแข่งขันกีฬาเครือข่ายเยาวชนคนนอกโรงเรียนสร้างสันติสุข ระดับตำบล อำเภอ
สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้
นายวาทิต มีสนุ่น รอง ผอ.สช.สงขลา กล่าวถึงประเด็นปัญหาดังนี้
– ปัญหาการเชื่อมโยงระบบข้อมูลสารสนเทศ เกิดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน เพราะใช้โปรแกรมที่แตกต่างกัน ทำให้พบว่ามีข้อมูลจำนวนนักเรียนซ้ำซ้อนกันมากถึง 2,885 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 238,457 คน ส่งผลให้ต้องเรียกคืนเงินอุดหนุนรายหัวกรณีนักเรียนซ้ำซ้อนจำนวนทั้งสิ้น 43.69 ล้านบาทในปีการศึกษา 2556 จึงต้องการให้มีการพัฒนาระบบให้เป็นโปรแกรมเดียวกัน (รมว.ศึกษาธิการ ต้องการให้มีระบบจัดเก็บข้อมูลรวม ไม่ใช่ต่างคนต่างเก็บข้อมูล)
– ความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ สช.สงขลา ซึ่งปัจจุบันรับผิดชอบ 4 อำเภอในสงขลา (
วิทยาลัยชุมชนสงขลา
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ และคณะ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมวิทยาลัยเทคนิคสงขลา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ซึ่งเด่นมากทางด้านการผลิตกำลังคนด้านปิโตรเลียม เพราะเป็นสถานศึกษาแห่งเดียวในประเทศที่เปิดสอนหลักสูตรสาขาเทคโนโลยีปิโตรเลียม (จัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษ) มาตั้งแต่ปี 2534 จนกระทั่งปี 2537 เปิดสอนเพิ่มในสาขาเทคโนโลยีหลุมเจาะปิโตรเลียม ปัจจุบันมีผู้สำเร็จสาขาดังกล่าวแล้ว 19 รุ่น 524 คน ได้ทำงานที่มีรายได้สูงมาก
รมว.ศึกษาธิการ ให้ข้อเสนอแนะว่า สถานศึกษาอาชีวะแต่ละแห่งควรหาจุดเด่นและเอกลักษณ์ให้เจอ อาจจะเก่งสาขาเดียวหรือ 2-3 สาขาก็ได้ ดังเช่นการเปิดสอนสาขาปิโตรเลียมของวิทยาลัยเทคนิคสงขลาที่กระทรวงศึกษาธิการพร้อมให้การสนับสนุน เพราะมีแห่งเดียวในประเทศ จึงขอให้ สอศ.รับปัญหาไปพิจารณา เช่น ปัญหาการขาดแคลนครู/เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมจริง รวมทั้งควรสนับสนุนให้ผู้ชำนาญการจากสถานประกอบการเข้ามาช่วยสอนมากขึ้น และอาจขยายความร่วมมือด้านหลักสูตรกับสถาบันต่างประเทศ เพื่อให้ประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวส. มีการรับรองจากสถาบันชั้นนำของต่างประเทศ อันจะส่งผลถึงการขยายจำนวนผู้เรียนให้ก้าวไปในระดับอาเซียนต่อไปด้วย
สรุป/รายงาน
9/9/2558