ศึกษาธิการ – นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย ดร.กิตติ ลิ่มสกุล นางฉวีวรรณ คลังแสง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารระดับสูงของ ศธ.
-
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
รมว.ศธ.กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าผลของการดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งได้ตั้งคำของบประมาณรายจ่าย
-
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จำนวนทั้งสิ้น 35,664 ล้านบาท โดยขอตั้งงบประมาณแผ่นดิน23,500 ล้านบาท และเงินนอกงบประมาณ (กองทุนสมทบ) อีก 12,164 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายผู้กู้ยืม865,200 ราย -
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) จำนวนทั้งสิ้น 8,365 ล้านบาท
โดยขอตั้งงบประมาณแผ่นดิน 800 ล้านบาท และเงินนอกงบประมาณ (กองทุนสมทบ) อีก 7,565 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายผู้กู้ยืม 152,551 ราย
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ กยศ.ได้ถูกปรับลดงบประมาณ 6,700 ล้านบาท หรือได้รับงบประมาณเพียง 16,800 ล้านบาท ทำให้กองทุนไม่สามารถคงเป้าหมายผู้กู้ยืมในปีการศึกษา 2557 จำนวน
แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว กองทุนจึงจะขออนุมัติงบกลางต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อมาชดเชยงบประมาณในส่วนที่ถูกปรับลดจำนวน 2,118 ล้านบาท ทั้งในส่วนของ
-
ผู้กู้ยืมรายเก่า 30,000 ราย เป็นเงิน 710 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาในการเสนอของบกลาง
-
ผู้กู้ยืมรายใหม่ 112,500 ราย เป็นเงิน 1,408 ล้านบาท แยกเป็น ม.ปลาย 50,000 ราย ปวช.50,000 ราย ปวท./ปวส.2,500 ราย และอนุปริญญา/ปริญญาตรี 10,000 ราย ซึ่งกรณีนี้จะต้องหารือกับสำนักงบประมาณและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อเร่งนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในคราวถัดไป
รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมขอให้ผู้รับผิดชอบองค์กรหลักที่เป็นคณะกรรมการ กยศ. โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ช่วยไปหารือ และรวบรวมข้อมูลนักเรียนนักศึกษาในสังกัด ศธ. รวมทั้งสังกัดอื่นๆ ด้วย เช่น วิทยาลัยพยาบาล ฯลฯ ว่างบประมาณที่ได้ถูกปรับลดลงไปในช่วงนี้ กระทบต่อผู้เรียนหรือไม่อย่างไร เพื่อประมวลให้ กยศ. และรัฐบาลทราบต่อไป
การบริหารรายจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ.2557 ของกระทรวงศึกษาธิการ
รมว.ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบ
การบริหารรายจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ.2557 ของแต่ละองค์กรหลัก ซึ่งยังคงใช้จ่ายน้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้ เพราะเกิดจากอุปสรรคหลายด้าน เช่น การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ การส่งของ การเบิกจ่าย ฯลฯ และเรื่องของสถานการณ์การเป็นรัฐบาลรักษาการ และการประท้วงที่ยาวนาน ก็มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งระบบพัสดุ บัญชี การออกแบบ เช่น วัสดุอุปกรณ์บางอย่างยากต่อการขนย้าย ส่งผลถึงการออกแบบอาคารต่างๆ ล่าช้าออกไป หรือกรณีงบประมาณที่ได้รับต่ำกว่าราคากลาง ซึ่งต้องให้คณะรัฐมนตรีอนุมัตินั้น แต่แนวปฏิบัติในขณะนี้คือ คณะรัฐมนตรีไม่พิจารณาอนุมัติรายการที่อาจมีผลผูกพันต่อรัฐบาลชุดต่อไป ดังนั้น ศธ.จึงต้องรวบรวมข้อมูลว่า หากมีความจำเป็นจริง และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จำเป็นต้องทำเรื่องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ชัดเจน ทั้งนี้ ได้มอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติแก่องค์กรหลัก
พร้อมทั้งให้แจ้งไปยังหน่วยงานในสังกัดแล้วว่า ขอให้เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการต่างๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด กรณีที่พบปัญหาอุปสรรค ก็ให้หาแนวทางแก้ไขให้เกิดการใช้งบประมาณเพื่อการศึกษา ด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
18/2/2557