นศ.ป.โทคิดงานวิจัย ดักจับรูปโป๊

นศ.ปริญญาโท ม.รังสิตเสนองานวิจัย “การแยกแยะรูปดิจิตอลอนาจารคุณสมบัติเม็ดสี” เพื่อใช้ในการดักจับการโหลดรูปโป๊ตามเวปไซต์ต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ชุดว่ายน้ำทูพีช
       
       เพราะโลกไซเบอร์ในทุกวันนี้มีความสะดวกเป็นอย่างมาก หลายๆ คนจึงใช้เป็นช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการค้นหาภาพ คลิปวิดีโอต่างๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าวหากเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถเลือกเสพสื่อได้คงจะไม่มีปัญหา หากแต่เมื่อเป้นเยาวชนที่ยังมีวิจารณญาณแล้วหากเลือกดาวน์โหลดรูปโป๊มาดูแล้ วถือเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
       
       ด้วยเหตุผลดังกล่าว “สมเกียรติ อุดมรัตนชัยกุล” นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้คิดค้นวิจัยผลงานที่ชื่อ “การแยกแยะรูปดิจิตอลอนาจารคุณสมบัติเม็ดสี” ซึ่งได้รับวิทยานิพนธ์ดีเด่น ปี 2549 ของมหาวิทยาลัยรังสิต จากการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 23 – 24 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต รวมกับนักศึกษาปริญญาโทอีก 5 คน
       
       ทั้งนี้เจ้าของงานวิจัยชิ้นดังกล่าวเล่าว่า เขาเล็งเห็นว่าโลกเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และมีคนใช้มากขึ้นตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งรูปภาพ วีดีโอคลิปต่างๆ ในโลกอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถพบเจอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ ข้อมูลบางอย่างอาจก่อให้เกิดความเสียหาย เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ ที่สามารถทำเงินได้ไม่น้อยกับธุรกิจนี้ หรือต้องการให้สังคมเสื่อมถอยลงไป และความสำคัญของสื่ออินเทอร์เน็ตที่ใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งคนส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์จากสื่อนี้
       
       “มีบางส่วนที่ใช้สื่อนี้ในทางที่ผิด เช่น การดูรูปอนาจาร (รูปโป๊) ดังนั้นผมจึงค้นคว้าพัฒนาโปรแกรมที่มีความสามารถในการแยกแยะและระบุได้ว่ารู ปภาพดิจิตอลที่ได้รับการ load นั้น เป็นรูปที่เข้าข่ายอนาจารหรือไม่ เพื่อใช้ในการดักจับรูปที่ไม่เหมาะสมที่อยู่ในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเว็บไซต์ตามอินเทอร์เน็ต กล่าวคือ เมื่อรูปดิจิตอลได้รับการโหลดแบบ manual บนเว็บไซต์ ถ้าโปรแกรมนี้อ่านได้ว่าเป็นรูปนั้นมีคุณสมบัติเป็นรูปอนาจาร ก็จะมีการแสดงผลระบุว่ารูปที่โหลดนั้นเป็นรูปภาพอนาจาร”
       
       “ก ารทำงานจะเริ่มต้นที่ตรวจสอบคุณสมบัติเม็ดสีที่ได้รับการแปลงจากโมเดล RGB เป็นโมเดล YCbCr จากนั้นจึงเทียบค่า YCbCr ของแต่ละเม็ดสีว่าอยู่ในช่วง ค่า Y > 100 และ ค่า 100 < Cb < 120 หรือ 128 < Cb < 130 และ ค่า 130 < Cr < 160 รูปภาพที่มีจำนวนเม็ดสีที่มีค่าอยู่ในช่วงดังกล่าวเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนเม็ดสีทั้งหมดอยู่ในช่วงที่มีการเก็บข้อมูลไว้ จะถูกแยกแยะออกมาและระบุว่าเป็นรูปภาพดิจิตอลอนาจาร
       
       ซึ่งโปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม MATLAB Version 7.1 เพื่อใช้ในการทดสอบรูปตัวอย่างจำนวน 500 รูป ซึ่งมีขนาดไฟล์เฉลี่ย 405,318 พิกเซล หรือ 86 กิโลไบต์ ได้ผลการทดสอบที่มีความถูกต้องร้อยละ 85.2 และใช้เวลาในการประมวลผลเฉลี่ยต่อรูป 213.14 วินาที ถ้าหากเป็นภาพปกติไม่เข้าข่ายที่ควรจะถูกคัดแยกออกมา ก็จะแจ้งออกมาว่าเป็นภาพปกติ และหากภาพนั้นตรงตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ ก็จะแจ้งเตือนออกมาว่าเป็นรูปประเภทนั้น
       
       ซึ่งจะทำให้เกิดการแยกแยะออกไปจาก
ภาพปกติได้ โดยขอบเขตของงานวิจัยนี้จะเลือกรูปภาพนิ่งดิจิตอล (Digital Still Images) ดังนั้นรูปคนที่มีการแต่งการน้อยชิ้น เช่น ผู้ชาย หรือผู้หญิงหรือผู้หญิงแต่งกายด้วยชุดว่ายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นเดียว หรือ สองชิ้น รูปนักมวยผู้ชายที่สวมกางเกงนักมวยเพียงตัวเดียว ก็จะถูกจัดอยู่ในข่ายรูปอนาจารเช่นกัน ส่วนรูปภาพศิลปะที่มีการเน้นแสงเงามาก ๆ เป็นรูปที่ไม่พบได้ตามปกติใน Website ก็ไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในขอบเขตของงานวิจัยนี้”
       
       สุดท้ายเจ้าตัวระบุคนที่เล่นอินเทอร์เน็ตที่ไม่ประสงค์จะดูรูปภาพอนา จาร จะได้รับประโยชน์จากงานวิจัยนี้โดยตรง รวมถึงองค์กรที่ควบคุมดูแลสื่ออินเทอร์เน็ตด้วย และโปรแกรมนี้ก็สามารถนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้ต่อไปถึง การแยกแยะภาพเคลื่อนไหว (Moving Images) ที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ เช่น V.D.O, VCD, DVD และ Website ได้เช่นกัน

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป. ศธ.