จังหวัดนครพนม –
จังหวัดนครพนมได้รับการประกาศจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558 ให้เป็น 1 ใน 10 ของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนของไทย นอกจากจังหวัดตาก สงขลา มุกดาหาร สระแก้ว ตราด เชียงราย กาญจนบุรี หนองคาย และนราธิวาส ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เป็นพื้นที่สำคัญของประเทศในการสร้างฐานการผลิตที่เชื่อมโยงกับอาเซียน และจัดการพัฒนาเมืองชายแดน
จากการหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดนครพนมแล้ว มีความมั่นใจและประทับใจในศักยภาพการทำงานของจังหวัดนครพนมเป็นอย่างมาก มั่นใจว่าจะช่วยให้การศึกษาเป็นจุดสำคัญในการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจให้ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน และเดินหน้าอย่างเข้มแข็งต่อไป
1. เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. ยกระดับคุณภาพและสร้างโอกาสทางการศึกษา
3. ผลิตกำลังคนให้มีทักษะสอดรับกับตลาดแรงงานอาเซียน
4. พัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5. พัฒนากลไกที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายและแลกเปลี่ยน
6. เสริมสร้างเครือข่ายระหว่างกันในภูมิภาค
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ฝากข้อคิดการทำงานในการบูรณาการจัดการศึกษาที่เน้น “5 ร่วม” คือ ร่วมคิด-ร่วมริเริ่ม-ร่วมตัดสินใจ-ร่วมดำเนินการ-ร่วมรับผิดชอบ โดยยึดหลักการทำงานใน
รู้จักกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม จังหวัดนครพนม มีคำขวัญว่า “เมืองน่าอยู่ ประตูเศรษฐกิจสู่อาเซียนและจีนตอนใต้-ตะวันออก” โดยมีขอบเขตพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม รวมทั้งสิ้น ศักยภาพและข้อได้เปรียบในการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม – ศักยภาพด้านภูมิศาสตร์ เป็นเมืองหน้าด่านที่มีเส้นทางเชื่อมโยงไปยังพื้นที่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ ด้วยเส้นทางที่สั้นที่สุด กล่าวคือ มีชายแดนที่สามารถเชื่อมโยงและเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอยู่ในแนวเส้นทางการค้าสายใหม่ (New Trade Lane) ตามเส้นทาง R12 เริ่มต้นจากสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) เมืองท่าแขกไปจนถึงจังหวัดฮาติงห์ ตอนกลางของประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกหวุ่งอ๋าง ด้วยระยะทางที่สั้นที่สุดเพียง 330 กิโลเมตร และตามถนน 1 A ในเวียดนาม สามารถเดินทางต่อไปยังกรุงฮานอยเพียง 650 กิโลเมตร หรือเข้าสู่ชายแดนผิงเสียงของประเทศจีน 831 กิโลเมตร และเข้าสู่มณฑลหนานหนิง ด้วยระยะทางเพียง 1,029 กิโลเมตร จึงถือเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดในปัจจุบัน – ศักยภาพด้านคมนาคม มีเส้นทางสายหลักที่เป็นประตูการค้า คือ เส้นทางหมายเลข R12 มีสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) และมีสายการบิน 2 สายให้บริการทุกวัน ตลอดจนจะมีการสร้างทางรถไฟมาถึงสะพานมิตรภาพ 3 เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าให้มากขึ้น – ศักยภาพด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากสถิติมูลค่าการค้าชายแดนของจังหวัดนครพนม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-2558 พบว่ามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะภายหลังเปิดสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ.2556 จนถึงปัจจุบันเติบโตสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด คาดว่ามีมูลค่ามากกว่า 100,000 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการค้าชายแดน 3 จังหวัดที่มีสะพานข้ามแม่น้ำโขงในปี พ.ศ.2557 ได้แก่ หนองคาย มุกดาหาร และนครพนม พบว่าการค้าของจังหวัดนครพนมเพิ่มขึ้นสูงที่สุดถึง 87,104.96 ล้านบาท – ศักยภาพด้านการเกษตร มีคุณลักษณะดินที่เหมาะสมและมีแหล่งน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ยางพารา สับปะรด มันสำปะหลัง ยาสูบ – ศักยภาพด้านการประมง มีแหล่งน้ำสำคัญหลายแห่งที่เอื้อต่อการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงปลาในกระชัง รวมทั้งมีโรงงานแปรรูปเพื่อการส่งออกอีกด้วย – ศักยภาพด้านการปศุสัตว์ มีการส่งเสริมการผลิตโคเนื้อ ไก่ สุกร โดยเฉพาะโคขุน ที่สามารถตอบสนองความต้องการบริโภคทั้งภายในประเทศและการส่งออก พร้อมมีโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและการส่งออกอีกด้วย – ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและคุณภาพชีวิต จังหวัดนครพนมเป็นเมืองแห่งความสุขอันดับ 1 ของประเทศ ด้วยองค์ประกอบของการที่ประชาชนมีสุขภาพที่ดี คือ สิ่งแวดล้อม อาหารการกินที่ดีและอุดมสมบูรณ์ มีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีแหล่งท่องเที่ยวสวยงามหลากหลาย แผนการดำเนินงานเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม 1) จัดตั้ง “สำนักงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม” เพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการข้อมูลการค้า การลงทุน และการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (One Stop Service : OSS) 2) ศูนย์โลจิสติกส์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ และศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าชายแดนบริเวณสะพานมิตรภาพ 3 3) สำรวจแนวเส้นทางตัดถนนเลี่ยงเมืองรอบที่ 2 และโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางอากาศ ทางบก และทางราง 4) โครงการศึกษาการจัดตั้งและออกแบบรายละเอียด “ศูนย์การขนส่งชายแดน” การจัดการศึกษาของ จังหวัดนครพนม มีการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาของบุคคลในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง ให้มีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา – ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน คือ โรงเรียนสุนทรวิจิตร (บำรุงวิทยา) อำเภอเมืองนครพนม ซึ่งจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรภาษาอังกฤษ ภาษาลาว ภาษาเวียดนาม พร้อมทั้งมีการฝึกทักษะอาชีพ อาเซียนศึกษา ฯลฯ 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ – ระดับมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 (นครพนมและมุกดาหาร) ได้ดำเนินงานตามโครงการที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดเสวนา การจัดนิทรรศการ การให้มีโรงเรียนนำร่อง 2 โรงเรียนในการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ได้แก่ โรงเรียนอุเทนพัฒนา และโรงเรียนนครพนมวิทยาคม – การจัดการศึกษานอกระบบและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย โดยสำนักงาน กศน.จังหวัดนครพนม ได้เตรียมความพร้อมเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษด้วยโครงการที่หลากหลาย เช่น การอบรมพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน การจัดการศึกษาให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 อำเภอ โดย กศน.อำเภอเมืองนครพนม และ กศน.อำเภอท่าอุเทน พร้อมทั้งได้จัดทำหลักสูตรรายวิชาเลือก อาเซียนศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีพศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) เช่น สาขาไฟฟ้า – ระดับอาชีวศึกษา เน้นการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีร่วมกับสถานประกอบการ ทำให้การศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ เกิดการบริการวิชาการและวิชาชีพในเขตพื้นที่ ให้บริการส่งเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาผู้เรียน ทั้งระดับ ปวช., ปวส., ปริญญาตรี (เทคโนโลยีบัณฑิต) และหลักสูตรทวิศึกษา – ระดับอุดมศึกษา โดยมหาวิทยาลัยนครพนม มีหน่วยจัดการศึกษาใน 6 คณะ 6 วิทยาลัย คือ คณะเกษตรและเทคโนโลยี คณะครุศาสตร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยการบินนานาชาติ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนีนครพนม วิทยาลัยธาตุพนม วิทยาลัยนาหว้า และวิทยาลัยอุตสาหกรรมศรีสงคราม นอกจากนี้ |
บัลลังก์ โรหิตเสถียร : สรุป/รายงาน/ถ่ายภาพ นวรัตน์ รามสูต : ถ่ายภาพ
8/4/2559