เห็นชอบ 2 ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัย

สรุปมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 10 มีนาคม 2558 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ คือ เห็นชอบให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ออกนอกระบบ) รวมทั้งประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


u เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย 2 ฉบับ


คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย จำนวน 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิตบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป โดยให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น


u อนุมัติหลักการเกี่ยวกับมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนกิจการโรงเรียนเอกชน และปรับปรุงการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา


คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร รวม 5 ฉบับ (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนกิจการโรงเรียนเอกชนและปรับปรุงการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งรัดดำเนินการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557


สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง 























ชื่อร่างกฎหมาย


สาระสำคัญ


1. ร่าง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)              พ.ศ. …. (การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ หรือผลตอบแทนจากกิจการของโรงเรียนเอกชน หรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน)


– แก้ไขเพิ่มเติม ม.3 แห่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2538


– กำหนดให้กำไรสุทธิหรือผลตอบแทนที่ได้รับจากกิจการของโรงเรียนเอกชนซึ่งได้ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งได้ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ แต่การยกเว้นดังกล่าวไม่รวมถึงเงินได้ที่ได้รับจากกิจการโรงเรียนเอกชนประเภทกวดวิชา


– กำหนดให้เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนซึ่งได้ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนซึ่งได้ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ แต่การยกเว้นดังกล่าวไม่รวมถึงเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากกิจการโรงเรียนเอกชนประเภทกวดวิชา


2. ร่าง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)             พ.ศ. …. (การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่มูลนิธิหรือสมาคม สำหรับเงินได้หรือผลตอบแทนจากกิจการของโรงเรียนเอกชน)


– แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5 นว แห่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 159) พ.ศ. 2528


– กำหนดให้เงินได้หรือผลตอบแทนที่มูลนิธิหรือสมาคมได้รับจากกิจการของโรงเรียนเอกชนซึ่งได้ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ แต่การยกเว้นดังกล่าวไม่รวมถึงเงินได้หรือผลตอบแทนที่มูลนิธิหรือสมาคมที่ได้รับจากกิจการโรงเรียนเอกชนประเภทกวดวิชา


3. ร่าง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)    พ.ศ. …. (การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์บางกรณี)


เพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษาให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ จึงยกเว้นภาษีอากร ดังต่อไปนี้


    1. การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดิน รวมทั้งทรัพย์สินใด ๆ ที่ต้องใช้ในกิจการของโรงเรียน และการบริจาคที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดินให้แก่โรงเรียนในระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน


   2. การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดิน รวมทั้งทรัพย์สินใด ๆ คืนให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเอกชนเจ้าของเดิม ผู้บริจาคหรือทายาท เมื่อโรงเรียนในระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เลิกใช้ประโยชน์หรือเลิกกิจการ


4. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่.. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้จากผลตอบแทนที่ผู้รับใบอนุญาตได้รับจัดสรรจากโรงเรียนเอกชน)


– แก้ไขเพิ่มเติมความใน (1) และ (37) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร


– กำหนดให้เงินได้หรือผลตอบแทนที่ได้รับจากกิจการของโรงเรียนเอกชนซึ่งได้ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้


– ยกเลิกการยกเว้นจัดเก็บภาษีอากรจากกิจการโรงเรียนเอกชนประเภทกวดวิชา


5. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชน สำหรับเงินหรือผลประโยชน์    ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์


– แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร


– กำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเอกชน สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน


u เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน


คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขอให้รับรองและการรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. …. โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงคือ การยกเลิกกฎกระทรวงฉบับเดิม ซึ่งออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 โดยกำหนดให้การรับรองวิทยฐานะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ทำการสอนเพื่อให้ปริญญาชั้นใดและในสาขาใด ให้เป็นไปตามมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาที่ ศธ. กำหนด และให้ใบรับรองวิทยฐานะมีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับการรับรอง รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการการยื่นคำขอให้รับรองวิทยฐานะ การตรวจสอบคำขอ การพิจารณาคำขอ และการแจ้งผลการพิจารณาคำขอ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น


u เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา คือ การกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาของสาขาวิชานิเทศศาสตร์และสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ เพิ่มขึ้น


บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
Published 11
/3/2558