เริ่มแล้ว คิกออฟสร้างเกราะป้องกันด้วยวัคซีนไฟเซอร์ “เด็กปลอดภัย เรียนอุ่นใจ ต้อนรับเปิดเทอม” ที่โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์

เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2564 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วย คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) นายสุทธิชัย จรูญเนตร ที่ปรึกษา รมว.ศธ. นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เลขานุการ รมว.ศธ. นายกมล รอดคล้าย ที่ปรึกษา รมช.ศธ. และผู้บริหารระดับสูง ศธ. ร่วมงานฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ให้กับนักเรียนที่มีอายุ 12-17 ปี ใน “โครงการ Kick Off สร้างเกราะป้องกันด้วยวัคซีน เด็กปลอดภัย เรียนอุ่นใจ ต้อนรับเปิดเทอม” โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีนายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) คณะผู้บริหาร สธ. ครู บุคลากร และนักเรียน เข้าร่วม ณ โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร พร้อมถ่ายทอดผ่านระบบ ZOOM Cloud Meetings ไปยังโรงเรียนและจังหวัดจาก 13 เขตสุขภาพทั่วประเทศ

 width=
 width=
 width=
 width=
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการศึกษา ตามที่ได้มีการเลื่อนการเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 เป็นวันที่ 14 มิถุนายน 2564 รวมถึงการนำ 5 รูปแบบการจัดการศึกษา มาใช้อย่างยืดหยุ่นภายใต้หลักความปลอดภัย เพื่อให้ผู้เรียนไม่พลาดโอกาสที่จะเรียนรู้

โดยในเรื่องความปลอดภัย เป็นสิ่งที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยได้มีการจัดหาวัคซีนครู เพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถกลับมาปฏิบัติงานในสถานศึกษาได้ เช่นเดียวกับการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยเฉพาะเรื่องของค่าครองชีพ รัฐบาลที่ได้มีโครงการเงินเยียวยา 2,000 บาท ให้กับผู้ปกครองเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ให้บรรเทาเบาบางลง ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

ในส่วนของผู้เรียน ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการจัดการเรียนรู้ รัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ด้วยการทำให้ผู้เรียนสามารถกลับมาสู่ห้องเรียน เช่นเดียวกับสถานการณ์ปกติโดยเร็วที่สุด กระทรวงศึกษาธิการจึงร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ดำเนิน “โครงการ School Safety Sandbox (SSS) ในพื้นที่โรงเรียนประจำที่มีความพร้อม และสมัครใจที่จะเปิดภาคเรียนแบบผสมผสาน ทั้งการเรียนในห้องเรียนควบคู่ไปกับการเรียนในระบบออนไลน์ พร้อมกันนี้ ก็ได้เร่งรัดให้มีการนำวัคซีนมาฉีดให้กับนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 12-17 ปีทั่วประเทศ จำนวนกว่า 5 ล้านคน ภายใต้ “โครงการ Kick Off สร้างเกราะป้องกันด้วยวัคซีน เด็กปลอดภัย เรียนอุ่นใจ ต้อนรับเปิดเทอม” โดยจะดำเนินการในกลุ่มนักเรียนสังกัดทั้งภาครัฐและเอกชน กลุ่มอาชีวศึกษา และโรงเรียนสังกัดอื่น ๆ ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป เพื่อให้นักเรียนมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น และสามารถปิดภาคเรียนใหม่ได้อย่างมั่นใจ ควบคู่กับมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่ได้ทำงานร่วมกัน ในด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครองและนักเรียน ได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการฉีดวัคซีน รวมถึงวิธีการปฏิบัติตนก่อนและหลังเข้ารับการฉีดวัคซีนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจ และได้แสดงความประสงค์ให้นักเรียนฉีดวัคซีนกว่า 80% ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ

ในนามของกระทรวงศึกษาธิการ ขอขอบคุณรัฐบาลที่ผลักดัน “โครงการ Kick Off สร้างเกราะป้องกันด้วยวัคซีน เด็กปลอดภัย เรียนอุ่นใจ ต้อนรับเปิดเทอม” ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้จัดหาวัคซีนและวางแผนดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการฉีดวัคซีนได้ตามวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลได้วางไว้

นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งว่า วันนี้ถือเป็นโอกาสแรกที่ได้มาเจอนักเรียนที่โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์และอีก 15 โรงเรียนในระบบออนไลน์ ที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันทำงานของทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาล ศธ. สธ. ตลอดจนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้เกิดผลดีกับคนทุกช่วงวัย และสร้างความปลอดภัยให้แก่เด็กเยาวชน รวมทั้งวัคซีนสำหรับครูที่ได้ดำเนินการไปแล้วก่อนหน้านี้ ที่จะเป็นการสร้างความมั่นใจในการเปิดภาคเรียน

นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งว่า วันนี้ถือเป็นโอกาสแรกที่ได้มาเจอนักเรียนที่โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์และอีก 15 โรงเรียนในระบบออนไลน์ ที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันทำงานของทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้เกิดผลดีกับคนทุกช่วงวัย และสร้างความปลอดภัยให้แก่เด็กเยาวชน รวมทั้งวัคซีนสำหรับครูที่ได้ดำเนินการไปแล้วก่อนหน้านี้ ที่จะเป็นการสร้างความมั่นใจในการเปิดภาคเรียน

ต้องยอมรับว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบกับผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก รวมทั้งระบบการศึกษาไทย ที่ส่งผลกระทบต่อครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ปรับการเรียนรู้ทั้ง 5ออน ให้เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ ทั้ง ออนไซต์ (On-site) เรียนที่โรงเรียน ออนแอร์ (On-air) เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ DLTV ออนดีมานด์ (On-demand) เรียนผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ออนไลน์ (On-line) เรียนผ่านอินเตอร์เน็ต และออนแฮนด์ (On-hand) เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร และในส่วนของครู ที่ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอน และปรับตัวให้เหมาะกับสถานการณ์ รวมทั้งการเรียนที่บ้าน ให้ถือเป็นช่วงเวลาของครอบครัว ที่พ่อแม่จะได้ใช้เวลาร่วมกับลูกหลาน เสริมภูมิต้านทานและสร้างเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ

ในส่วนของวัคซีนไฟเซอร์ เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก ซึ่งองค์การอาหารและยา (อย.) ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้สำหรับกลุ่มเด็กตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไปในประเทศไทย เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ แคนาดา อินโดนีเซีย เป็นต้น โดยรัฐบาลพยายามที่จะจัดหาวัคซีนหลักที่ดำเนินการระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล (Government to Government) อย่างเพียงพอ และดำเนินการเกี่ยวกับวัคซีนทางเลือกสำหรับประชาชนผู้สนใจในอนาคต

“ท้ายสุดขอฝากถึงนักเรียน ให้หมั่นศึกษาเล่าเรียนและวางเป้าหมายชีวิต เพื่อจบมาแล้วจะได้มีงานทำ ดูแลตนเองและครอบครัว ซึ่งรัฐบาลได้พัฒนาระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างงานรองรับผู้ที่จบการศึกษาในหลายด้าน โดยนักเรียนนักศึกษาจะต้องเตรียมความพร้อมของตัวเอง เริ่มจากความชอบและความสนใจ ตั้งใจเรียนเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย ต้องไม่ลืมที่จะดูแลใส่ใจคนในครอบครัวรวมทั้งญาติพี่น้อง รู้จุดกำเนิดและเทือกเถาเหล่ากอของตัวเอง รวมทั้งความเป็นไทยที่มีทั้งประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีศีลธรรมอันดี และสิ่งสำคัญคือการมีวินัยต่อตนเอง เพื่อให้เราเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกทิศทาง เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เพราะเด็ก ๆ ทุกคนในวันนี้ คือส่วนหนึ่งของสังคมและประเทศไทยของเรา” นายกรัฐมนตรี กล่าว

สำหรับโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2495 เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนที่มีคุณสมบัติรับการฉีดวัคซีนจำนวน 799 คน สมัครใจฉีด 695 คน คิดเป็นร้อยละ 86.98 โดยจะเข้ารับการฉีดวัคซีนในวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2564 จำนวน 200 คน และจะทยอยฉีดวัคซีนนักเรียนเมื่อได้รับการจัดสรรในรอบต่อไป

 width=
 width=
 width=
 width=
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
4/10/2564