เครื่องรีดกล้วย
ชุดลูกกลิ้งสำหรับ สำหรับรีดกล้วย
การพัฒนาจนกล้วยตากกลายเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม มีความต้องการเพิ่มขึ้นนี้เอง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้สองนักศึกษาคิดเครื่องรีดกล้วยตากขึ้นมาในบรรดาของกินเล่นแบบไทยๆที่ทั้ง อร่อยให้คุณค่าทางอาหาร หารับประทานง่าย และราคาไม่แพง คุณสมบัติเหล่านี้คงไม่มองข้าม กล้วยตากไปได้ นอกจากนั้นในวงการแพทย์ยังถือว่า กล้วยตากเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย ทุกวันนี้นอกจากกล้วยตากจะเป็น อาหารกินเล่นที่ ทำกินเองในครัวเรือน กล้วยตากยังถูกพัฒนาให้เป็นสินค้าประจำท้องถิ่นในหลายท้องที่ บรรจุหีบห่อวางขายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำอย่างไม่น้อยหน้าขนมชนิดอื่นๆ
การพัฒนาจนกล้วยตากได้กลายเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม มีความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้นนี้เอง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้สองนักศึกษาคนเก่ง คิดประดิษฐ์เครื่องรีดกล้วยตากขึ้นมา
“หลังจากตากกล้วย เกือบแห้ง ประมาณวันที่ 5 หรือ 6 กล้วยถึงจะถูกนำไปรีดหรือทับ ให้แบน ก่อนจะนำไปตากให้แห้งอีกครั้ง จากนั้นจึงเก็บลงภาชนะ วางเรียงปิดฝาให้สนิทเก็บไว้หนึ่งคืนก่อนจะบรรจุถุงหรือกล่องเก็บไว้ ขาย หรือรับประทานได้เป็นเดือน”
ซึ่ง ในการ ทับ หรือรีดกล้วย หากเป็นการทำกล้วยตากสำหรับรับประทานในครัวเรือนคงไม่มีปัญหา แต่ถ้าทำเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับส่งขาย การทับ หรือรีดกล้วยด้วยแรงงานคน ที่ทำงานได้ เพียง 5 ลูก ต่อนาทีนั้นคงไม่ทันต่อความต้องการ
ในขณะที่ นางสาวกลอยใจ อยู่อ่ำและ นางสาวณัฐสุดา คงฤทธิ์ นักศึกษาจาก ภาควิชาวิศวกรรมการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ช่วยกันคิดและประดิษฐ์ เครื่องรีดกล้วยตาก ได้เป็นผลสำเร็จ สามารถรีดกล้วยได้ถึง 55ลูก ในเวลาแค่ 1 นาที
ซึ่งเครื่องรีดกล้วยดังกล่าว สองนักศึกษาเจ้าของผลงานเล่าว่า เครื่อง จะทำงานโดยใช้ระบบถ่ายทอดกำลังโดยมีระบบโซ่และเฟืองเพื่อให้ลูกกลิ้ง แต่ละชุดหมุนเข้าหากันด้วยระบบความเร็วรอบที่เท่ากัน ใช้มอเตอร์ ขนาด 0.5 แรงม้า เป็นเครื่องต้นกำลัง ถ่ายกำลังทดความเร็วรอบสู่ชุดลุกกลิ้งด้วยสายพานพู่เลย์ เมื่อกล้วยตากถูกป้อนด้วยมือ ผ่านลูกกลิ้ง(มี 2 ชุด) เพื่อลดความหนาของกล้วย หรือ รีดกล้วย จากนั้น กล้วยที่ผ่านการรีดจะตกลงในถาดรับที่รองอยู่ด้านล่างของเครื่อง จากการทดลอง พบว่าความเร็วรอบที่เหมาะสม และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือ 50 รอบต่อนาที
จากผลงาน ที่เครื่องทำได้ 55 ลูกต่อนาที เมื่อเทียบกับการใช้แรงงานคนอย่างเดียวก็ถือว่าสามารถช่วยทุ่นแรง และทุนเวลา ลดต้นทุนในการผลิตกล้วยตากได้มากทีเดียว
สำหรับ กลุ่มเกษตรกร ที่กำลังมองหาเครื่องมือสำหรับช่วยทุ่นแรงงาน ในการทำกล้วยตากอยู่ หากท่านสนใจ และต้องการนำเอาความรู้ที่ สองนักศึกษา คนเก่งช่วยกันคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นไปต่อยอดเพื่อให้ใช้ในงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ท่านสามารถติดต่อ ปรึกษา รายละเอียดได้ที่ อาจารย์ วรินทร ยิ้มย่อง อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการที่ หมายเลขโทรศัพท์ 081-851-3382
แหล่งที่มาของข่าว หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ