สจล. โชว์ “WMApp” พยากรณ์อากาศ แม่นยำที่สุดในอาเซียน

 

     ผศ.ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทร คมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า คุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผู้รับผิดชอบโครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิศวกรรมอวกาศและระบบโลก (College of Space and Earth Systems Engineering: SESE) เปิดเผยว่า ได้พัฒนานวัตกรรม www.worldmeteorology.com และ “WMApp”  แอพพลิเคชั่นพยากรณ์อากาศความละเอียดสูงสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป  เนื่องจากเล็งเห็นว่าผลกระทบจาก ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันทำให้สภาพ ภูมิอากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ประกอบกับการพยากรณ์อากาศของประเทศยังขาดความน่าเชื่อถือ เพราะผลการพยากรณ์อากาศมีลักษณะ กว้างๆ ไม่สามารถระบุรายละเอียดตำแหน่ง เวลา และความหนักเบาที่ฝนจะตกได้เนื่องจากอาศัยข้อมูลจากมาตรวัดฝนและเรดาร์ ปัจจุบันมาตรวัดฝนมีความแม่นยำน้อยลงจากอิทธิพลของลม และตำแหน่งของมาตรวัดส่วนใหญ่ อยู่ห่างกันไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ขณะที่เรดาร์วัดคลื่นแม่เหล็กไฟ ฟ้าอาจคลาดเคลื่อนจากการที่น้ำและน้ำแข็งในบรรยากาศระเหยหรือระเหิดไปก่อนไม่ตกลงมาบนพื้นโลก ต่างจากการใช้ดาวเทียมที่ทำให้ได้ข้อมูลหยาดน้ำฟ้า (ฝน หิมะ ลูกเห็บ) ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ ด้วยเวลาอันรวดเร็ว สามารถสังเกตซ้ำพื้นที่เดิมได้ บ่อยครั้ง และประหยัดค่าใช้จ่าย ที่ผ่านมาประเทศไทยจึงเผชิญกับปัญหาภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ หลายครั้ง เช่น แม่น้ำโขงตอนล่างมีระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในฤดูหนาวของปี 2552 มหาอุทกภัยในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนในปี 2554ภัยแล้งและอุทกภัยเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี
     จากปัญหาข้างต้นจึงร่วมกับทีมวิจัยพัฒนาอัลกอริทึม ประมาณค่าหยาดน้ำฟ้าจากการสังเกตของดาวเทียม และพัฒนาระบบพยากรณ์อากาศเชิงเลขความละเอียดสูงสำหรับเขตร้อน (Tropics) ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี ซึ่งทำให้เกิดองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความก้าวหน้าและทันสมัยอยู่ ในแนวหน้าในระดับนานาชาติ ซึ่งผลงานวิจัยเหล่านี้ทำให้ได้ อัลกอริทึม AMP และ JPP ประมาณค่าหยาดน้ำฟ้าจากการสังเกตของดาวเทียม คลื่นมิลลิมิเตอร์เวฟแบบแพสซิฟแ ละดาวเทียมค้างฟ้าอินฟราเรดแบบแพสซิฟ จึงสามารถประมาณค่าหยาดน้ำฟ้าทั่ว โลกได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และระบบพยากรณ์อากาศเชิงเลขความ ละเอียดสูงสำหรับเขตร้อนที่ให้ผลการพยากรณ์อากาศ ที่มีความละเอียดสูงที่มีความถูกต้องแม่นยำสามารถระบุตำแหน่งและเวลาที่ฝนจะตก นำมาต่อยอดพัฒนานวัตกรรม www.worldmeteorology.com และโปรแกรมประยุกต์เคลื่อนที่ หรือแอพพลิเคชั่น WMApp สำหรับอุปกรณ์ Android และ iOS เปิดให้กับประชาชนทั่วไปใช้งานฟรีเพื่อประโยชน์ในวงกว้าง โดยมีคุณสมบัติและลักษณะเด่นในการพยากรณ์อากาศความละเอียดสูงรายเขตปกครองในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ เชื่อมกับระบบแผนที่ Google Mapsสามารถระบุตำแหน่งพื้นที่ พร้อมบอกความหนักเบาและเวลาที่ฝนจะตก ได้ทั้งระยะสั้นล่วงหน้า 28 ชม. และระยะยาวล่วงหน้า 5.5 วัน
      “ความพิเศษของระบบพยากรณ์ อากาศชิ้นนี้คือนับเป็นครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ให้ผลการพยากรณ์อากาศที่มีความแม่นยำและมีความละเอียดสูงเป็นรายเขตปกครอง สามารถระบุตำแหน่งและเวลาที่หยาดน้ำฟ้าจะตกควบคู่กับให้ผลพยากรณ์พายุหมุน (Cyclone) ที่แม่นยำล่วงหน้า 5.5 วัน สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป จากการสังเกตของดาวเทียมคลื่นมิลลิมิเตอร์เวฟแบบแพสซิฟ และดาวเทียมค้างฟ้าอินฟราเรดแบบ แพสซิฟ โดยใช้อัลกอริทึม AMP และ JPP ซึ่งอัลกอริทึม AMP ถือเป็นอัลกอริทึมแรกของโลกและมีความถูกต้องแม่นยำดีที่สุดในปัจจุบัน ที่สามารถประมาณค่าหยาดน้ำฟ้าได้ครอบคลุมทั่วโลกรวมถึงพื้นที่ที่มีหิมะปกคลุมและทะเลน้ำ แข็ง เช่น ขั้วโลกเหนือ ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถรายงานแผ่นดินไหวทั่วโลกได้ด้วย ซึ่งนอกจากเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรใช้เป็นข้อมูล อ้างอิงในการเพาะปลูกพืชผลหรือทำการเกษตรแบบชาญฉลาด ขณะเดียวกันวงการอุตสาหกรรมก็ ใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมพลังงานท ดแทนโรงไฟฟ้าพลังงานลม อุตสาหกรรมประมงและการขนส่งทางทะเล และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอาเซียน ช่วยอำนวยความสะดวกการวางแผนการ เดินทางให้กับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยัง ประยุกต์เป็นเครื่องมือเตือนภัย ธรรมชาติล่วงหน้า บรรเทาความเสียหายทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อีกด้วย”

ที่มา : http://www.banmuang.co.th/news/education/86092