สกอ.จัดมหกรรม U-School Mentoring

 

     ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินโครงการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง
(U-School
Mentoring) ประจำปีพ.ศ. 2560 และมอบนโยบาย การส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีส่วนร่วมในการยกระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

 

    เลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า
สืบเนื่องจากปัญหาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของประเทศไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องศักยภาพครูและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของ
นักเรียนที่ยังขาดความพร้อมต่อการปฏิรูปการศึกษาไปสู่ศตวรรษที่
21 นโยบาย ของภาครัฐในปัจจุบัน จึงกำหนดบทบาทให้สถาบันอุดมศึกษาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง
เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงนี้
ภาครัฐจึงมุ่งหวังให้ระบบเครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาค จำนวน
9 เครือข่าย
โดยการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนและเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงานในระดับพื้นที่เพื่อตอบโจทย์ให้กับการแก้ไขและพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยวิธีการเชื่อมโยงและถ่ายทอดนวัตกรรมองค์ความรู้ ตลอดจนความเชี่ยวชาญต่างๆ
จากสถาบันอุดมศึกษา ไปสู่โรงเรียน ทุกรูปแบบกิจกรรมตามโครงการฯ
มีความสอดคล้องกับงานบริการวิชาการในเชิงพื้นที่ของสถาบันอุดมศึกษาอยู่แล้วแต่ภาครัฐ
ได้กำหนดกรอบนโยบายที่ชัดเจนและเริ่มมีการขับเคลื่อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับครูและนักเรียนโรงเรียนแต่ละท้องถิ่น
เพื่อให้เกิด กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
เพื่อช่วยกันยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเห็นผลและยั่งยืนโดยเฉพาะในช่วงปี
พ.ศ.
2559 โครงการดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงนิมิตหมายอันดีที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้พยายามขยายผลในวงกว้างทั้งในรูปแบบ
ของกิจกรรม
CSR (Corporate Social Responsibility : ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร)
หรือการดึงภาคเอกชนในพื้นที่เข้ามาร่วมด้วยโดยไม่เป็นการสร้างภาระเพิ่มเติมให้กับโรงเรียน

     เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า
จากรายงานผลเกี่ยวกับการขยายผลเป้าหมาย ในการดำเนินงานตามโครงการฯ ในปี พ.ศ.
2560
และปีต่อๆ ไป แสดงให้เห็นว่าทุกพื้นที่ ทุกชุมชน และทุกท้องถิ่น จำเป็นต้องเดินหน้าเข้าสู่เป้าหมายการ
ขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามโครงการฯ ให้เกิดผลที่ชัดเจนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนในเรื่อง
ศักยภาพครู คือ ความมั่นใจในเทคนิคการสอนและใช้ นวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้สู่นักเรียน
และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทั่วประเทศทั้งการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
การฝึกให้นักเรียน
คิดเป็นจากรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย
การใช้รูปแบบ
STEM Education เพื่อพัฒนารูปแบบวิธีการเรียนการสอนในแต่ละระดับชั้น
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามกรอบนโยบาย
ลดเวลาเรียน
เพิ่มเวลารู้
การใช้ทักษะการติดต่อสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
การปลูกฝังให้เยาวชนมี คุณธรรมจริยธรรม และพร้อมที่จะรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคมโดยไม่ตกเป็น
เหยื่อของสังคม ทั้งนี้ทุกบริบทจะต้องเข้าไปสอดรับต่อการพัฒนากำลังคน

     การประชุมในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดี
และสามารถใช้ในการขยายผลไปประยุกต์ต่อเพื่อให้คุณภาพ การจัดการศึกษาของประเทศไทยดียิ่งขึ้นในอนาคต
สร้างโอกาสให้กับนักเรียนในถิ่นห่างไกลมากขึ้น ทุกๆกิจกรรรมในโครงการ
U-School Mentoring นี้ อาจจะมีผลกระทบมากหรือน้อยแตกต่างกันไป แต่เป้าหมาย ที่เราต่างเห็นร่วมกันคงจะไม่พ้นการช่วยกันส่งเสริมในการพัฒนานักเรียน
ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติได้ต่อไปในช่วง
2 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้เข้าไปสัมผัส
และช่วยพัฒนาในบางเรื่องพร้อม ๆ กับได้เรียนรู้สภาพปัญหาที่ แท้จริงในพื้นที่หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการขยายผลจากโครงการนี้
จะเพิ่มพูน ความสามารถในการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้ดีมากยิ่งขึ้น และหวังว่า นักเรียนจะมีโอกาสในการแสดงศักยภาพ
รวมถึงสร้างการเรียนรู้ให้ กว้างขวางมากยิ่งขึ้นต่อไป เลขาธิการ กกอ.
กล่าวในตอนสุดท้าย

 

ที่มา : ประชาสัมพันธ์ สกอ.