สกศ. ร่วมกับ สอศ. และอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาพัฒนาครูในสถานประกอบการ ๕ กลุ่มอาชีพ


 


           (๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๒)  เวลา ๐๙.๓๐ น. ดร. สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา  นายกวิน เสือสกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา  เข้าร่วมพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.)  ในการพัฒนาครูในสถานประกอบการ  ๕ กลุ่มอาชีพ คือ ๑) กลุ่มอาชีพแม่พิมพ์ ๒) กลุ่มอาชีพก่อสร้าง ๓) กลุ่มอาชีพรถจักรยานยนต์และเครื่องยนต์เล็กอเนกประสงค์ ๔) กลุ่มอาชีพยานยนต์และชิ้นส่วน และ ๕) กลุ่มอาชีพพลังงาน โดยมีสถานประกอบการ จำนวน ๓๓ แห่ง  ที่เข้าร่วมดำเนินการ ใน ๕ กลุ่มอาชีพ ร่วมลงนามความร่วมมือ   ณ ห้องประชุมปทุมมาศ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี การสภาการศึกษา  นายกวิน เสือสกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา  เข้าร่วมพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.)  ในการพัฒนาครูในสถานประกอบการ  ๕ กลุ่มอาชีพ คือ ๑) กลุ่มอาชีพแม่พิมพ์ ๒) กลุ่มอาชีพก่อสร้าง ๓) กลุ่มอาชีพรถจักรยานยนต์และเครื่องยนต์เล็กอเนกประสงค์ ๔) กลุ่มอาชีพยานยนต์และชิ้นส่วน และ ๕) กลุ่มอาชีพพลังงาน โดยมีสถานประกอบการ จำนวน ๓๓ แห่ง  ที่เข้าร่วมดำเนินการ ใน ๕ กลุ่มอาชีพ ร่วมลงนามความร่วมมือ   ณ ห้องประชุมปทุมมาศ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี


 



 



 


          โครงการความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว เป็นการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษา โดยการฝึกในสถานประกอบการ เพื่อให้ครูอาชีวศึกษามีประสบการณ์วิชาชีพ ก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง  และมีทักษะ ความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ  ทั้งนี้ในส่วนของ สกศ. นั้นมีบทบาทสำคัญในการวิจัยติดตาม ประเมินผลและถอดบทเรียนจากการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเสนอแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการพัฒนาครูอาชีวศึกษา ซึ่งถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนสายอาชีพให้มีทักษะอาชีพสอดคล้องและตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและสถานประกอบการ ถือเป็นมิติการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนากำลังคนสายอาชีพ ซึ่งเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการพัฒนาประเทศโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม


 


ที่มา :ข่าว สกศ.