รมว.ตรีนุช ร่วมเปิดหลักสูตร “เทคนิควิทยาการนาฬิกา” ครั้งแรกของไทย เพื่อสร้างกำลังคนซ่อมบำรุง รักษา โอกาสทางสายอาชีพตามเทรนด์ใหม่อย่างมีมาตรฐาน

รมว.ตรีนุช ร่วมเปิดหลักสูตร “เทคนิควิทยาการนาฬิกา” ครั้งแรกของไทย เพื่อสร้างกำลังคนซ่อมบำรุง รักษา โอกาสทางสายอาชีพตามเทรนด์ใหม่อย่างมีมาตรฐาน

 width=

เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 เวลา 13.00 น. นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมแถลงข่าวเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (เพิ่มเติม 2564) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิควิทยาการนาฬิกา วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ณ ห้องประชุมใหญ่ B105 อาคารเดอะธารา ถนนแจ้งวัฒนะ

 width=

 width=

 width=

 width=

 width=

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งว่า หลักสูตรเทคนิควิทยาการนาฬิกา ซึ่งทราบว่า เป็นหลักสูตรใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย โดยเป็นความร่วมมือ ระหว่าง ผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้านาฬิกาแบรนด์ สวิสต์ กับ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ และได้รับการสนับสนุน จากผู้บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นแนวทางการของริเริ่มเชิงสร้างสรรค์ เป็นความร่วมมือที่สถานประกอบการ และสถาบันการอาชีวศึกษา ได้พัฒนา ต่อยอด นำไปสู่การจัดการหลักสูตรอาชีวศึกษา เพื่อสร้างบุคลากรในสาขาอาชีพใหม่ ๆ และพัฒนาทักษะให้มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ เพื่อสร้างโอกาสทางสายอาชีพ
หลักสูตรการผลิตช่างเทคนิคงานซ่อมนาฬิกาแบรนด์หรูนั้น เกิดจากความตั้งใจที่ต้องการสร้างช่างเทคนิคฝีมือที่มีความชำนาญ เชี่ยวชาญทักษะเฉพาะทาง ซึ่งเป็นสาขาอาชีพที่ขาดแคลน อีกทั้งงานซ่อมบำรุงนาฬิกาแบรนด์หรู ยังเป็นอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้สูง ที่ผ่านมา กลุ่มลูกค้าผู้เป็นเจ้าของนาฬิกาแบรนด์หรู จะใช้บริการ การซ่อม บำรุงรักษา โดยส่งกลับไปยังประเทศผู้ผลิต ซึ่งมีอัตราค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาค่อนข้างนาน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงโอกาส ว่าประเทศไทยควรพัฒนาช่างซ่อมนาฬิกา ที่มีมาตรฐานและสร้างความมั่นใจให้กับบริษัทผู้ผลิตนาฬิกาในต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีในด้านของการส่งเสริมการตลาดและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต

“การที่วิทยาลัยฯ และกลุ่มธุรกิจได้ร่วมมือผนึกกำลัง สร้างและพัฒนาหลักสูตร การฝึกทักษะอาชีพช่างซ่อมนาฬิกาที่ได้มาตรฐาน และเกิดความเชื่อมั่น เป็นที่ยอมรับจากเจ้าของแบรนด์ผู้ผลิตนาฬิกา ดิฉันเชื่อว่า จะสามารถสร้างอาชีพให้เด็กไทย สร้างรายได้จากงานซ่อม บำรุงรักษา ที่มีมูลค่าสูงไว้กับคนไทย และเชื่อว่าเยาวชนไทยซึ่งมีฝีมือที่ละเอียดอ่อน สามารถเป็นช่างซ่อมนาฬิการทีมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญ ในเวทีระดับโลกต่อไปได้อย่างแน่นอน

 width=

 width=

 width=

ขอขอบคุณผู้บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ สถานประกอบการธุรกิจนำเข้านาฬิกาแบรนด์หรูทุกบริษัท คณะผู้พัฒนาหลักสูตรทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันสร้างศาสตร์ความรู้ในสาขาวิชาใหม่ ๆ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชน เพิ่มทางเลือกทางการศึกษา ในการประกอบอาชีพในอนาคต ดิฉันขอชื่นชม และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า การศึกษาด้านวิชาชีพควรจะเกิดขึ้น จากการผนึกกำลังระหว่างผู้ผลิตคือภาคการศึกษากับผู้ใช้ผลผลิต ซึ่งได้แก่ สถานประกอบการ ร่วมมือกันกำหนดกรอบการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ พัฒนาความรู้และทักษะที่ตอบสนองงานของสถานประกอบอย่างเหมาะสม และที่ผ่านมา บริษัท ซีพี ออลล์ฯ ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยดีมาอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าท่านยังคงมีปณิธาน มีความตั้งใจร่วมกันพัฒนาการศึกษาต่อไปในอนาคต เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ประชาชน อย่างสืบเนื่องต่อไป” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว

 width=

 width=

 width=

ขอบคุณภาพจาก :ปชส.สอศ.
ประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
28/1/2565