อาจารย์ประจำสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หรือ มธ. เปิดเผยว่า
ปัญหาเรื่องการบริโภคความหวานมากเกินไปเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน
ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังอื่นๆ มากมายจากปัญหาดังกล่าว
ทำให้นักวิทยาศาสตร์คิดค้นและพัฒนาเครื่องมือวัดความหวาน
ซึ่งเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย
โดยในปัจจุบันประเทศไทยยังต้องอาศัยการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูง
ระบบซับซ้อน และมีขนาดใหญ่ จึงทำให้เกิดเป็นความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ 2 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยทักษิณ
(ดร.ศุภลักษณ์ อำลอย) ในการร่วมมือกันพัฒนา
“เครื่องตรวจวัดความหวานแบบพกพา”
โดยได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เพื่อลดต้นทุนการนำเข้าเครื่องมือดังกล่าวจากต่างประเทศ
และสามารถขยายผลสู่ประชาชนในระดับชุมชน
ชาวบ้านและผู้บริโภคทั่วไปสามารถเข้าถึงนวัตกรรมดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง
กลไกการทำงานของเครื่องตรวจวัดความหวานแบบพกพา
เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่าง 3 อุปกรณ์ คือ ชุดปริซึม (Prism) สมาร์ทโฟน (Smartphone)
และคอมพิวเตอร์ โดยจะเริ่มขั้นตอนการทำงานได้ เพียงนำชุดอุปกรณ์ปริซึมที่รวมเลนส์อยู่ในชิ้นเดียวกัน
ประกอบเข้าที่บริเวณหน้าจอของโทรศัพท์มือ
พร้อมเปิดแอปพลิเคชันพิเศษที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้แสงจากหน้าจอเป็นแหล่งกำเนิดแสงและจับภาพจากปริซึมดังกล่าว
จากนั้นหยดสารละลายที่ต้องการทดสอบลงบนปริซึม โดยกล้องบนสมาร์ทโฟนจะบันทึกภาพแสงสะท้อนที่ได้
เพื่อส่งไปประมวลและแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ในทันที
โดยผลงานดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชันให้สามารถคำนวณและแสดงผลบนหน้าจอโทรศัพท์ได้แบบเรียลไทม์
โดยไม่ต้องเชื่อมต่อผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อให้สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม
เครื่องตรวจวัดความหวานแบบพกพา เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการบูรณาการองค์ความรู้ระหว่างฟิสิกส์
และคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเครื่องดังกล่าวสามารถบอกระดับความเข้มข้นของน้ำตาล
ความเข้มข้นของเกลือ และความเข้มข้นของแอลกอฮอลล์ได้
โดยสามารถแสดงผลเป็นตัวเลขและกราฟบอกระดับความเข้มข้นของสาร
และบอกค่าความหวานระหว่าง 0 – 20 บริกซ์ได้
ทำให้นวัตกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างมากกับอุตสาหกรรมอาหาร
การเกษตร การแพทย์ และอุตสาหกรรมอื่นๆอีกมากมาย โดยล่าสุด
เครื่องตรวจวัดความหวานแบบพกพาดังกล่าว ได้รับรางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น
ประเภทรางวัลประกาศเกียรติคุณ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี 2560 โดยผลงานดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตร
และทำการพัฒนารูปแบบให้สวยงาม และใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น
เพื่อสามารถประยุกต์ต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ที่มา : http://www.banmuang.co.th/news/education/74456