ผศ. ดร.ทรงศักดิ์ รองวิริยะพานิช อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า ประเทศไทย ถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย โดยที่สาเหตุหลักมาจากการเมาแล้วขับ อันเห็นได้จากตัวเลขการเมาแล้วขับที่พุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในช่วงอุบัติเหตุ 7 วันอันตรายของเทศกาลปีใหม่ 2560 มีจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าวสูงถึง 4,128 และ 478 ราย โดยสูงกว่าปีที่ผ่านมา 17.7% และ 25.7% ตามลำดับ (ที่มา : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยภาครัฐลดสถิติจำนวนผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บจากกรณีดังกล่าว คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. จึงได้พัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชัน‘ดริ๊งเซฟ’ (Drink Safe) แอปฯ วัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ที่มาพร้อมกับเซนเซอร์ชนิดพกพา ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน เพื่อแยกแยะความสามารถการขับขี่ ใน 2 ระดับ คือ ขับรถได้ (ไม่เกิน 50mg%) และห้ามขับรถ (เกิน 50 mg%) ได้อย่างแม่นยำ ให้ผลเทียบเท่ากับการวัดจากเครื่องตรวจแอลกอฮอล์ของตำรวจ นอกจากนี้ ยังสามารถเสนอทางเลือกในการหลีก เลี่ยงการขับขี่ที่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผศ. ดร. ทรงศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแอปฯ ดริ๊งเซฟ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และอุปกรณ์เสริมที่เป็นเซ็นเซอร์ สำหรับตรวจวัดแอลกอฮอล์ (Sensor) เชื่อมต่อกับระบบประมวลผล Arduino โดยที่ผู้ใช้งานสามารถทดสอบปริม าณแอลกอฮอล์ในเลือดได้ใน 1 ขั้นตอน เพียง“เป่าลมหายใจ เป็นเวลา 5 วินาที” เข้าไปที่เครื่องวัดแอลกอฮอล์ที่ มีการเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟน จากนั้นระบบจะทำการประมวลผลใน 2 นาที ว่าตรวจพบระดับแอลกอฮอล์ที่เกิน มาตรฐานกฎหมายกำหนดหรือไม่ (โดยต้องไม่เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (mg%)) ซึ่งในขณะเดียวกัน แอปฯ ยังคำนวณอัตราการลดระดับของแอลกอฮอล์ในทุกๆ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงระยะเวลาที่ ตนจะสร่างเมา และสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น หากเป่าลมหายใจ แล้วมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 62 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ในเวลา 2.52 น. จะพร้อมขับขี่ได้ในเวลา 6.52 น. เป็นต้น
ผศ. ดร. ทรงศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแอปฯ ดริ๊งเซฟ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และอุปกรณ์เสริมที่เป็นเซ็นเซอร์ สำหรับตรวจวัดแอลกอฮอล์ (Sensor) เชื่อมต่อกับระบบประมวลผล Arduino โดยที่ผู้ใช้งานสามารถทดสอบปริม าณแอลกอฮอล์ในเลือดได้ใน 1 ขั้นตอน เพียง“เป่าลมหายใจ เป็นเวลา 5 วินาที” เข้าไปที่เครื่องวัดแอลกอฮอล์ที่ มีการเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟน จากนั้นระบบจะทำการประมวลผลใน 2 นาที ว่าตรวจพบระดับแอลกอฮอล์ที่เกิน มาตรฐานกฎหมายกำหนดหรือไม่ (โดยต้องไม่เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (mg%)) ซึ่งในขณะเดียวกัน แอปฯ ยังคำนวณอัตราการลดระดับของแอลกอฮอล์ในทุกๆ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงระยะเวลาที่ ตนจะสร่างเมา และสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น หากเป่าลมหายใจ แล้วมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 62 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ในเวลา 2.52 น. จะพร้อมขับขี่ได้ในเวลา 6.52 น. เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากในกรณีที่แอปฯ ประเมินแล้วว่า มีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายเกิน กำหนด จะทำการแสดงฟังก์ชั่นในการเลี่ยงการขับขี่แก่ผู้ใช้งานใน 2 ทางเลือก คือ 1) ติดต่อเพื่อน โดยแอปฯ จะทำหน้าที่เชื่อมกับสังคมออนไลน์อย่าง เฟซบุ๊ก พร้อมทั้งแสดงรายชื่อเพื่อนที่มี ประวัติการใช้งานแอปฯ และมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดต่ำ กว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และ 2) เรียกแท็กซี่ เพื่อใช้บริการรถแท็กซี่สาธารณะ
แอปฯนี้ ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาร่วม 4-5 เดือน และมีต้นทุนในการพัฒนาอยู่ที่ 2,000 บาท โดยเวลาการพัฒนาส่วนใหญ่ใช้ในกา รทดลอง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดิจิตอลที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์วัดระดับแอลกอฮอล์กับค่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือด เพื่อให้เกิดความแม่นยำ ซึ่งเป็นจุดเด่นของงานคือ การใช้เซ็นเซอร์ที่มีราคาไม่สูง แต่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในการทดลอง เพื่อหาโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างค่าดิจิตอลอ่านจากเซ็นเซอร์กับ ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด โดยเป็นผลงานของ 2 นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ได้แก่ นายธรณัส กฤตยานวัช และนายสิรวุฒิ วิรัตนพรกุล ซึ่งปัจจุบันแอปฯ ได้พัฒนาสำเร็จและสามารถตรวจแยกแยะระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่ระดับต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และสูงกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ได้แม่นยำ โดยได้ทำการทดลองเทียบกับเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ของตำรวจ พร้อมแสดงผลได้ในทันที (Real Time)
แอปฯนี้ ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาร่วม 4-5 เดือน และมีต้นทุนในการพัฒนาอยู่ที่ 2,000 บาท โดยเวลาการพัฒนาส่วนใหญ่ใช้ในกา รทดลอง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดิจิตอลที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์วัดระดับแอลกอฮอล์กับค่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือด เพื่อให้เกิดความแม่นยำ ซึ่งเป็นจุดเด่นของงานคือ การใช้เซ็นเซอร์ที่มีราคาไม่สูง แต่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในการทดลอง เพื่อหาโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างค่าดิจิตอลอ่านจากเซ็นเซอร์กับ ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด โดยเป็นผลงานของ 2 นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ได้แก่ นายธรณัส กฤตยานวัช และนายสิรวุฒิ วิรัตนพรกุล ซึ่งปัจจุบันแอปฯ ได้พัฒนาสำเร็จและสามารถตรวจแยกแยะระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่ระดับต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และสูงกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ได้แม่นยำ โดยได้ทำการทดลองเทียบกับเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ของตำรวจ พร้อมแสดงผลได้ในทันที (Real Time)