พลัง “บุคลากร 38 ค.(2)” สู่การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา
หอประชุมคุรุสภา
ต้องการสื่อสารให้เห็นภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษา
รมว.ศธ.บรรยายในพิธีเปิด โดยกล่าวว่า การจัดสัมมนาในวันนี้ มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในเรื่องที่เกี่ยวกับบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นกำลังสำคัญในการจัดการศึกษาของชาติ ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูลจากผู้รับผิดชอบ และองค์กรหลักหลายองค์กร โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาด้วย รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมการศึกษาขั้นพื้นฐานในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ความเป็นไปของบ้านเมืองที่กำลังมีความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมและแข่งขันในการเป็นประชาคมอาเซียน
เรื่องที่ได้รับเชิญมาพูดในครั้งนี้คือ นโยบายทิศทางการศึกษาและกลไกขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นหัวข้อที่ตรงกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเรื่องของการศึกษา คือ การปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะพูดให้เห็นว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นกับการปฏิรูปการศึกษา เพราะว่าทุกท่านที่อยู่ในวงการศึกษาไม่ว่าจะมีหน้าที่อะไรก็ตาม ก็ต้องมีส่วนร่วมและมีบทบาทต่อการปฏิรูปการศึกษา
ความหมายของ “
การศึกษาแห่งชาติเป็นวาระแห่งชาติ”
จากการที่ขณะนี้ได้ประกาศให้การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้วนั้น คำว่า “การศึกษาแห่งชาติเป็นวาระแห่งชาติ” มีความหมายอย่างน้อย 2 แง่มุม ซึ่งในแง่มุมแรก การศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญมากของชาติ เพราะว่าเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาคนให้มีความพร้อมที่จะไปพัฒนาประเทศให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและสร้างสังคมให้เป็นสุข การศึกษาเป็นกลไกสำคัญ เพราะการพัฒนาคนมีความจำเป็นสำหรับการที่ประเทศเราจะต้องแข่งขันในเวทีโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลายประเทศเกิดวิกฤต ในขณะที่หลายประเทศกำลังเติบโตขึ้นมา มีทั้งความร่วมมือ การแข่งขัน และการปรับตัว ซึ่งประเทศเราก็ไม่มีข้อยกเว้น ที่จะต้องปรับตัวและพัฒนาไปด้วย มิฉะนั้นจะไม่สามารถอยู่ในโลกแห่งการแข่งขันนี้ได้ หรือไม่ก็ตกขบวน ไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งเป็นอีกความหมายหนึ่งของคำว่า การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มาก หากคนไม่ได้รับการพัฒนา ประเทศก็พัฒนาไม่ได้ ส่วนอีกความหมายหนึ่งของคำว่า การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ คือ คนทั้งชาติต้องมาช่วยกันในเรื่องการศึกษา โดยจะทำอย่างไรให้คนทั้งประเทศมาร่วมกันพัฒนาการศึกษา เมื่อทุกคนมาร่วมกัน จึงจะถือว่าการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ
เรื่องใหญ่ที่สุดของการปฏิรูปการศึกษา คือ คุณภาพการศึกษา
ในการที่จะยกระดับการศึกษา และพัฒนาคุณภาพการศึกษา เรื่องใหญ่ที่สุดคือ ยกระดับคุณภาพการศึกษา เมื่อตนเข้ามาทำงานวันแรกๆ คิดว่าหากจะให้มีการสัมภาษณ์ จะพูดว่าอะไรสำคัญที่สุดของการศึกษา ก็จะพูดว่า “คุณภาพ” เพราะว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ จะเห็นว่าประเทศต่างก็พยายามพัฒนาคุณภาพขึ้นมา แต่เรายังมีจุดอ่อนตรงที่เราไม่มีกระบวนการการวัดคุณภาพการศึกษาของประเทศ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาก็จัดการศึกษากันไปโดยไม่มีการทดสอบกลาง ให้โรงเรียนวัดผลกันเองโดยอิสระ และเพิ่งจะมี สทศ. เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ให้เป็นหน่วยงานกลางในการสร้างมาตรฐานการทดสอบวัดผลและประเมินผลจัดการศึกษา เพราะการวัดผลที่ผ่านมาไม่มีใครทราบว่าคุณภาพว่าเป็นอย่างไร เพราะต่างวัดประเมินผลภายใต้ความกดดันทางสังคม ที่ไม่ให้มีเด็กตก เพราะหากได้เกรด 0 มากๆ สทศ.ก็ไม่ให้ผ่านการประเมิน ดังนั้นจึงมีวิธีแก้ง่ายๆ คือ แก้ 0 ให้ผ่าน ระบบการทดสอบเช่นนี้จึงทำให้เราไม่ทราบว่า คุณภาพการศึกษาที่แท้จริงของประเทศเป็นอย่างไร หรือบางคนก็คิดว่าเราต่างทำดีที่สุดแล้ว การศึกษาก็น่าจะดี ซึ่งถือว่าเป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ในขณะที่ผลประเมินการจัดการศึกษาในระดับนานาชาติที่ผ่านมา เช่น TOEFL พบว่าผลสอบของประเทศไทยก็ยังอยู่ท้ายๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเราอาจคิดว่าเนื่องจากประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นมาก่อน แต่ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ที่เคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ซึ่งไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ และผ่านสงครามความยากลำบากมากกว่าเรา ก็ยังมีผลสอบที่ดีกว่า
ในขณะที่ผลการทดสอบ PISA ไทยอยู่อันดับ 50 จาก 65 ประเทศ และผลการประเมินของสภาเศรษฐกิจโลก คือ รายงานความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ทั่วโลก พ.ศ.2555-2556 (The Global Competitiveness Report 2012-2013) ได้จัดอันดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยในกลุ่มอาเซียน อยู่ในกลุ่มสุดท้ายอันดับที่ 8 เป็นกลุ่มที่มีคะแนนต่ำที่สุด รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม ตามลำดับ ส่วนลาวกับพม่าไม่ได้รวมเข้ามาด้วยเนื่องจากถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Country) ซึ่งมาจากการประเมินผลโดยภาคธุรกิจ ซึ่งเราต้องยอมรับและนำไปปรับปรุงต่อไป
โลกสมัยใหม่ เน้นให้สอนรู้จักค้นคว้าและให้คิดวิเคราะห์
อย่างไรก็ตาม ในการปรับปรุงเพื่อการปฏิรูปการศึกษานั้น ก็ต้องนำมาพิจารณาว่า ในปัจจุบันโลกให้ความสนใจอย่างไรต่อการจัดการศึกษา ซึ่งเราจะเห็นว่าโลกปัจจุบันเน้นการสร้างคนที่มีทักษะความสามารถในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกันที่จะทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถใช้ชีวิตในโลกยุคอินเทอร์เน็ตได้อย่างเท่าทัน โดยเน้นการสอนให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ แต่เราก็ยังสอนให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ไม่ค่อยเป็น และการเรียนในโลกยุคอินเทอร์เน็ตก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเมื่อครูให้การบ้าน ก็เป็นการวัดความสามารถของเด็กในการค้นหา ซึ่งในปัจจุบันทำได้ง่ายดายมาก เพียงกดค้นหาในเวลาไม่นาน ก็สามารถนำมา copy ส่งได้ ซึ่งทำให้เด็กคิดต่อไม่ได้มากนัก ดังนั้นเราจึงต้องสอนผู้เรียนให้รู้จักค้นคว้า พร้อมกับการให้เด็กสามารถคิดเป็นวิเคราะห์เป็น ที่อาจจะต้องมีการรวบรวมองค์ความรู้ที่ดี เพื่อนำไปพัฒนาครูให้มีวิธีการสอนที่ดีต่อไป
ตัวอย่างหนึ่งของการศึกษาในประเทศจีน คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของจีน เคยบอกว่าการศึกษาจีนที่พัฒนามากๆ นั้น เกิดขึ้นในยุคหลัง จากการที่
จะปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จ ต้องทำหลายๆ ด้านพร้อมกัน
นอกจากนี้
นอกจากนั้น การปฏิรูปการศึกษา ต้องมีการปฏิรูปการอาชีวศึกษา
แม้ต้องอาศัย
พลังทั้งสังคมมาจัดการศึกษา แต่ กำลังสำคัญก็อยู่ที่ครูและบุ คลากรทางการศึกษา
ความก้าวหน้า
บุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2)
รมว.ศธ.ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมในประเด็นความก้าวหน้าของบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค.(2) โดยกล่าวว่า การสัมมนาในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรื่องสำคัญทางด้านบุคลากร เพราะการต้องการให้มีการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
นายชาญ คำภีระแปง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สพป.เชียงใหม่ เขต 2 ในฐานะประธานสมัชชาบุคลากรทางการศึกษา กล่าวว่า สมัชชาบุคลากรทางการศึกษา เกิดจากการรวมตัวของบุคลากรทางการศึกษา
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
24/10/2556