ผลิตหนังสือเรียน

ภาพข่าวเพิ่มเติม https://www.moe.go.th/websm/2014/feb/035.html

ศึกษาธิการ – นายจาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

พร้อมด้วย ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ
 ดร.สุทธศรี

วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 
รวมทั้งผู้บริหาร
องค์การค้าของ
สกสค.
 
หารือกับตัวแทนสมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา 
และผู้บริหารโรงเรียน  เมื่อวันที่
7 กุมภาพันธ์ 2557

รมว.ศธ. กล่าวว่า จากการประชุมครั้งนี้
ที่ประชุมมีข้อสรุปดังนี้


มีความเห็นว่าไม่ควรนำเงินที่เหลือจากการจัดซื้อหนังสือเรียนไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ควรนำไปใช้ในการจัดซื้อหนังสือเรียนหรือแบบฝึกหัดเท่านั้น
เนื่องจากประเทศไทยใช้งบประมาณในการจัดซื้อหนังสือเรียนเพียง

700 บาทต่อหัว
ในขณะที่ประเทศอื่นใช้งบประมาณมากกว่าหลายเท่าตัว


เห็นชอบปฏิทินแนวทางการจัดซื้อหนังสือเรียน
ที่ระบุให้โรงเรียนดำเนินการและทำใบสั่งซื้อภายในวันที่
20 มีนาคม 2557 โดยผู้ขาย (ร้านค้าย่อย)
แจ้งรายการสั่งซื้อหนังสือให้สำนักพิมพ์ภายในวันที่
31 มีนาคม
2557 และสำนักพิมพ์จะต้องดำเนินการและส่งหนังสือไปยังร้านค้า
เพื่อส่งต่อไปถึงโรงเรียนภายในวันที่
10-15 พฤษภาคม 2557


ให้มีการทบทวนรายการหนังสือที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของ สพฐ.
เพื่อให้โรงเรียนได้เลือกซื้อ โดยจัดทำข้อมูลให้รายการเหล่านี้ทันสมัย
ตรงกับความเป็นจริง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องข้อมูลล้าสมัย
นำไปสู่การสั่งซื้อหนังสือที่ไม่มีการพิมพ์หรือไม่มีการใช้แล้ว

– ให้มีการเพิ่มกรรมการตรวจสอบหนังสือที่จะรับรอง
และเพิ่มค่าตอบแทนแก่กรรมการฯ
 เพื่อให้สามารถรับรองคุณภาพหนังสือได้มากและรวดเร็วขึ้น

ในกรณีที่มีการซื้อหนังสือจากหลายสำนักพิมพ์ ทั้งจากองค์การค้าของ
สกสค.และสำนักพิมพ์เอกชน เพราะที่ผ่านมามักจะมีปัญหาคือ
เมื่อหนังสือจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งมาไม่ทัน
ทำให้การตรวจรับทั้งหมดหยุดชะงักและไม่มีการนำหนังสือส่วนอื่นไปใช้
จากนี้จึงจะมีการทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า หากหนังสือจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งไปถึงก่อน
สามารถตรวจรับก่อนได้ เพื่อนำหนังสือส่วนนั้นไปใช้
เพราะหลายกรณีจะพบว่าหนังสือที่มาช้า ก็มาช้าจากแหล่งเดียวเท่านั้น
ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อแหล่งอื่น

จากการประชุมร่วมกันในครั้งนี้ มีข้อเสนอเพิ่มเติมที่น่าสนใจจากสมาคมฯ
ตัวแทนครู ผู้บริหาร
ที่ต้องการหาทางแก้ปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้ประโยชน์จากหนังสือเรียน
และได้หนังสือเรียนที่มีคุณภาพ
เพื่อต้องการแก้ปัญหาการจัดพิมพ์หนังสือเรียนไม่ให้เกิดความล่าช้า
และได้หนังสือเรียนที่มีคุณภาพ ซึ่งจะต้องมีทั้งความร่วมมือและการแข่งขันกัน
โดย ศธ.พร้อมจะสนับสนุนให้มีความร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชน ระบบราชการ
และผู้ประกอบการ
ในขณะเดียวกันก็จะส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเต็มที่และเป็นธรรม

จากการหารือในครั้งนี้ ทำให้ได้รับทราบปัญหา
ข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์อย่างมาก โดยไม่คิดว่าปัญหาต่างๆ เป็นภาระของรัฐบาล ดังนั้น
จึงต้องการรับฟังเพื่อนำไปแก้ปัญหาจริงจัง โดยมอบให้ปลัด
ศธ.รวบรวมความคิดเห็นทั้งหมด
และเสนอให้ที่ประชุมองค์กรหลักพิจารณา
แนวทางการวางแผนในการพัฒนาคุณภาพตำราเรียนต่อไป

นายปราสาท วิทยาภัทร์
นายกสมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา

กล่าวว่า

จากการที่
ศธ.ได้เชิญตัวแทนสมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ได้มาประชุมระดมความคิดเห็นและหาทางออกเรื่องการผลิตหนังสือเรียน เมื่อวันที่
24 ธันวาคม 2556 จากนั้นสมาคมฯ ได้ประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกัน
พร้อมทั้งนำข้อสรุปมาเสนอต่อที่ประชุมในครั้งนี้ คือ

1.
การจัดส่งหนังสือเรียนไม่ทันก่อนเปิดภาคเรียน 
ประเด็นนี้เป็นปัญหาจากการโอนเงินงบประมาณจัดซื้อหนังสือเรียนให้กับโรงเรียนล่าช้าและไม่เต็ม
100% ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือ
ต้องโอนเงินงบประมาณทั้ง
100% ลงโรงเรียนให้รวดเร็วขึ้น
ให้ถึงโรงเรียนภายใน
15
กุมภาพันธ์ของทุกปี
โดยระบุให้โรงเรียนใช้งบประมาณในการจัดซื้อหนังสือเรียนและแบบฝึกหัดตามที่กระทรวงศึกษากำหนดเท่านั้น
ซึ่งทาง ศธ.ควรจะมีกระบวนการติดตาม
เพื่อให้ได้ผลตามนโยบายเบื้องต้นอย่างใกล้ชิด

2. การพัฒนาคุณภาพตำราเรียนให้มีคุณภาพ 
ตามแนวนโยบายการศึกษาของชาติ และความคาดหวังของหลักสูตร

          2.1
กระทรวงศึกษาธิการควรแต่งตั้งตัวแทนจากสมาคมฯ หรือสำนักพิมพ์ต่างๆ
ที่จดทะเบียนเป็นผู้ผลิตหนังสือเรียนกับกระทรวงศึกษาธิการ
และพร้อมจะร่วมทำงานกับกระทรวงฯ
ให้เป็นกรรมการปรับปรุงหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อให้ผู้ผลิตและกระทรวงศึกษาธิการได้เข้าใจแนวทางการพัฒนาการศึกษาตรงกัน
จะทำให้การพัฒนาและการผลิตหนังสือเรียนและสื่อเทคโนโลยีต่างๆ มีคุณภาพที่มี
สอดคล้องกับหลักสูตร และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรแต่ละครั้ง
ควรจะมีเวลาให้แก่ผู้ผลิตหนังสือเรียนไม่น้อยกว่า
2
ปี
ก่อนการใช้หลักสูตรจริงพร้อมกันทุกโรงเรียน

          2.2 การพัฒนากระบวนการตรวจสอบหนังสือเรียน
ที่ผ่านมาสำนักพิมพ์มีเวลาเตรียมตัวในการผลิตหนังสือเรียนค่อนข้างน้อย
และกระบวนการตรวจค่อนข้างล่าช้า ส่งผลต่อการผลิตหนังสือเรียนของสำนักพิมพ์ต่างๆ
เกิดความล่าช้าไปด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สำนักพิมพ์ต่างๆ
ยินดีมีส่วนช่วยสนับสนุนการตรวจหนังสือให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
โดยเสนอให้เพิ่มอัตราค่าตรวจให้เหมาะสม เพื่อจะได้สามารถสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพ
และรับงานได้เพียงพอกับภาระงานที่กระทรวงฯ จะกำหนดขึ้น

          2.3
สร้างสภาวการณ์แข่งขันอย่างเสรี
เพื่อให้ทุกสำนักพิมพ์ได้แข่งขันกันพัฒนาคุณภาพหนังสือเรียน และสื่อต่างๆ
พร้อมพัฒนาระบบการตลาด
โดยราชการควรเสนอแนวทางในการดำเนินการจัดซื้อให้เหมาะสมกับประเภทของหนังสือและสื่อแต่ละชนิด
และต้องให้อิสระกับโรงเรียนในการเลือกซื้อหนังสือเรียนได้อย่างเสรี ปราศจากการชี้นำ
หรือการครอบงำใดๆ

3.
การยกระดับคุณภาพหนังสือเรียน กศน. 
ปัจจุบันการพัฒนาหนังสือเรียนและการจัดหาหนังสือเรียนให้นักศึกษาของ กศน.
ยังขาดความเป็นระบบและไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย
จนยากที่จะปฏิบัติตามได้ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ผลิตหนังสือเรียนตามหลักสูตร
กศน.ติดต่อมาหลายปี
ควรที่จะได้พัฒนาระบบและแนวปฏิบัติให้มีมาตรฐานเช่นเดียวกับการศึกษาในระบบ

กุณฑิกา
พัชรชานนท์
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
9/2/2557