ปาฐกถาพิเศษ ประชุมวิชาการการสร้างพลเมืองสู่การปฏิรูปประเทศไทย

ปาฐกถาพิเศษ ประชุมวิชาการการสร้างพลเมืองสู่การปฏิรูปประเทศไทย

ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมปาฐกถาพิเศษในการประชุมสัมมนาทางวิชาการ การสร้างพลเมืองสู่การปฏิรูปประเทศไทยและพิธีส่งมอบข้อเสนอการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ณ หอประชุม ๑ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม (พุทธวิชชาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร บางเขน กรุงเทพมหานคร

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกล่าวในโอกาสนี้ว่ากระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำยุทธศาสตร์การศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๓และทำแผนการศึกษาแห่งชาติ๑๕ปี โดยกำหนดสามห่วง สองเงื่อนไข ตามพระราชดำรัสของในหลวงและยึดมั่นตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงและทำหลักสูตรร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เรื่องหลักสูตรพลเมือง และทำควบคู่กับโครงการโตไปไม่โกงรวมทั้งวิชาหน้าที่พลเมืองที่ได้ดำเนินการร่วมกันกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) โดยมีนโยบายที่จะต้องสอนให้เด็กนักเรียนได้ยึดมั่นในหลักชื่อสัตย์สุจริตและกำหนดหลักสูตรดังกล่าวให้อยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนที่ควบคู่ไปกับค่านิยมหลักสิบสองประการของรัฐบาลด้วย

รวมถึงการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนโดยกำหนดว่าจะต้องมีคุณลักษณะของนักเรียนดำเนินเป็นไปตามหลักสูตร  มีการปรับหลักสูตรไปตามหน้าที่ศีลธรรม และแยกวิชาประวัติศาสตร์ออกมาเป็นรายวิชา มีจำนวน ๔๐ชั่วโมงและมีการเรียนรู้ออกไปเรียนนอกห้องเรียน เช่น วัด สถานที่ต่างๆ ในท้องถิ่น มีการแปลประวัติศาสตร์ไทยเป็นภาษาอังกฤษ คู่มือ แบบเรียน ตำราให้อยู่ในบริบทที่สามารถใช้ได้ในหลายๆ อย่างและมีหลักสูตรทางศาสนาที่สามารถสอบร่วมกันกับวัดและได้เปรียญธรรมด้วยอีกทั้งโรงเรียนต้นแบบพอเพียงที่จะสามารถต่อยอดพลเมืองได้และพัฒนาจิตสี่ด้านโดยผ่านการเล่านิทาน และสามารถประยุกต์เอาไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำซึ่งมีงานวิจัยรองรับว่าสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักเรียนได้ซึ่งในประเด็นนี้สนับสนุน Civic Education ของสภาพัฒนาการเมือง

กระทรวงได้เน้นนโยบายของรัฐบาลโดยการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน ๔,๐๐๐ โรงเรียนในช่วงแรก และมีการนำร่อง ๒๐ โรงเรียน และขยายไปเรื่อยๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ ส่งเสริมการใช้สื่อการเรียนการสอน เช่น จากโรงเรียนไกลกังวล ขยายฐานไปสู่เรียนขนาดเล็กในชนบทต่างๆ และจะขยายไปสู่ภาคใต้อีกในเฟสต่อไปการสร้างความเป็นพลเมืองจะเชื่อมโยงไปสู่พลเมืองโลก Global citizen ซึ่งมีความสอดคล้องกับ Civic Education ของสภาพัฒนาการเมือง เช่น มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ มีการทำงานเป็นทีม มีทักษะในการสื่อสารทักษะในการเรียนรู้มีระเบียบวินัย เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวม เป็นคนดี และรวมทั้งทักษะในการทำงานหลังจากเรียนจบ ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงมีนโยบายในการส่งเสริมด้านอาชีวะศึกษา เช่น ให้ทุนการศึกษาในระดับอาชีวะเพราะแรงงานเหล่านี้เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน

คุณลักษณะพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมไปสู่ตลาดอาเซียน เช่น ทักษะภาษา การพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองสากลที่จะต้องเตรียมนักเรียนของเราให้มีความพร้อมโดยการพัฒนาทักษะในทุกๆด้านให้นักเรียนและสอดคล้องกันนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่

        การปรับระบบการจัดสรรงบประมาณ

        ให้องค์กรอื่นในสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

        นโยบายการพัฒนาคนในแต่ละช่วงวัยให้เหมาะสม

        นโยบายการส่งเสริมอาชีวศึกษา

        นโยบายการพัฒนาครูให้มีจิตวิญญาณในการเรียนการสอน

        การส่งเสริมภาษาไทยและภาษาสากล

        การเรียนรู้สู่อาเซียนในมิติต่างๆ

        การปลูกผังค่านิยมสากล

        นโยบาย ห้าเจ็ดสิบ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

 

ปกรณ์/สรุป
ศุภชัย/ภาพ

กลุ่มสารนิเทศ.สอ.สป.