โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค – นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 5/2556 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556
ขอให้ ผอ.สพป./สพม.ช่วยกันแสดงความคิดเห็น เพื่อนำไปกำหนดหรือปรับปรุงปฏิรูปการศึกษา
รมว.ศธ.กล่าวว่า จากการที่ได้ประกาศ 8 นโยบายการศึกษาไปแล้ว จากนั้นได้มีการรับฟังความเห็นจากหน่วยงานและองค์กรหลักต่างๆ เพื่อนำไปกำหนดเป็นนโยบายในการขับเคลื่อนหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ เชิงนโยบายได้ ในการประชุมครั้งนี้ จึงต้องการมารับฟังความคิดเห็น มากกว่าที่จะกล่าวถึง 8 นโยบายการศึกษา เพราะได้แถลงและจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ไปแล้ว
จึงขอให้
ให้ช่วยกันคิดและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา
รมว.ศธ.กล่าวฝากในที่ประชุมว่า ผอ.สพป./สพม.ต้องช่วยกันคิดว่าจะช่วยกันขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร ต้องพยายามจูนความคิดร่วมกันว่า อะไรที่ควรเป็นแนวปฏิบัติร่วม อะไรที่ท่านจะคิดหรือผลักดันกันเอง ก็เสนอให้ทราบ ขอให้ช่วยกันคิดว่าเราควรจะแบ่งกันอย่างไร เพราะบางครั้งส่วนกลางก็ส่งเรื่องต่างๆ มาให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเยอะแยะไปหมด หลายร้อยคำสั่ง เขตพื้นที่การศึกษาก็พูดว่าเรื่องที่ส่งมาเต็มไปหมดจนไม่รู้จะทำตามได้อย่างไร หรือได้แต่ทำตาม จนไม่ได้คิดเอง
จึงขอฝากให้ช่วยพิจารณาว่า เรื่องที่ สพฐ.ส่งไปให้ดำเนินการนั้น ขอให้แยกหมวดหมู่ที่จะดำเนินการ หรือตัดทิ้ง หรืออะไรที่เขตพื้นที่การศึกษา/โรงเรียน จะคิดหรือดำเนินการเองได้ ประเด็นนี้ฝากทุกท่านช่วยกันคิดบ้าง
ปฏิรูปการเรียนการสอน เน้นปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน เป็น
กระบวนการต่อเนื่อง และ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ขณะนี้กำลังดำเนินการปฏิรูปหลักสูตร โดยมีการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งเน้นไปที่ Focus Group เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ซึ่งยังเป็นข่าวไม่มากนัก ตนก็เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น ให้คนมีส่วนร่วมมากขึ้น จากนั้นเมื่อได้ข้อสรุปร่วมกัน จึงจะนำไปประกาศใช้ต่อไป ซึ่ง
ส่วนการปฏิรูปการเรียนการสอนที่กำลังดำเนินการ คือ ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ที่มีการ
จึงฝากท่านคิดวิธีที่จะดำเนินการให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยองค์ความรู้ที่หลากหลายมากมาย ทั้งในอินเทอร์เน็ต YouTube หรือในแต่ละโรงเรียน ที่อาจจะยังไม่ได้มีการรวบรวมเอาไว้ หรือบางครั้งมีองค์ความรู้ในจังหวัดนั้นๆ แต่พอข้ามจังหวัดมาก็ไม่มีใครรู้จักองค์ความรู้เหล่านั้นแล้ว
ฝากพิจารณาว่าควรสแกนนักเรียนอ่านไม่ออกในชั้นอื่นๆ ด้วยหรือไม่ พร้อมทั้งย้ำให้ใช้แบบทดสอบการอ่านที่ได้มาตรฐาน
ความจริงการปฏิรูปการเรียนการสอนได้
การที่เด็กอ่านหนังสือไม่ออก หรือแม้กระทั่งอ่านได้แต่ไม่เข้าใจ ก็จะทำให้เรียนวิชาอื่นๆ ไม่เข้าใจไปด้วย เราจึงต้องทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง และย้ำว่าหากจะสอนคนที่อ่านไม่ออก ต้องสอนแบบเรียนเข้มข้น เพราะถ้าเรียนวันละนิดละหน่อย ก็ไม่ได้ผล แต่คนที่เรียนอ่อนมากๆ ต้องสอนแบบเข้มข้น ทั้งนอกเวลาหลังเลิกเรียน หรือเสาร์อาทิตย์ หรือดึงเด็กคนนั้นออกมาเรียนภาษาไทยอย่างเดียวเป็นเวลา 1 เทอมก่อน เมื่อสามารถอ่านภาษาไทยได้แล้ว จึงส่งกลับไปเรียนวิชาอื่นๆ ต่อไปได้ หวังผลให้เด็กอ่านออกเขียนได้ 100% เกิดขึ้นได้ภายในปีการศึกษาหน้า
ฝากพิจารณาว่า หากจำเป็นจะต้องสแกนนักเรียนชั้นอื่นๆ จะมีภาระหรือความจำเป็นหรือไม่อย่างไร และขอให้คิดแบบทดสอบวัดการอ่านภาษาไทยที่จะต้องได้มาตรฐานด้วย ไม่ใช่นำเอาวรรณคดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากไปวัดกับเด็ก จะทำให้เด็กสอบไม่ได้อยู่ดี และแบบทดสอบนั้นก็ไม่สามารถวัดได้
ควรมีระบบวัดผลกลางของประเทศ เพื่อโยงไปที่ผลสัมฤทธิ์
ประเด็นการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จะโยงไปถึงระบบการทดสอบวัดผลกลางของ สทศ. เพราะหากจัดการเรียนการสอนโดยไม่มีการวัดผลของประเทศที่เป็นระบบ ทำให้เราไม่รู้การวัดผลโดยรวมของประเทศ จนเมื่อมีผล
ดังนั้น จึงต้องทบทวนการวางระบบการวัดผลกันใหม่ โดยได้คุยกับ สทศ.ว่าควรจะวัดผลกี่ชั้น วิชาอะไรบ้าง และให้เป็นมาตรฐานได้อย่างไร ซึ่งคิดว่าการใช้ระบบวัดผลกลางในบางสาขาวิชา ต้องอิงกับมาตรฐานต่างประเทศ เพราะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาส่วนใหญ่ใช้ระบบวัดผลกลาง ในขณะที่ไทย แม้จะมีระบบการทดสอบ NT อยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ทำทุกชั้นเรียน ดังนั้นในแต่ละชั้นจะทำอย่างไร เช่นวิชาภาษาไทย ที่มีการวัดผลในชั้น ป.6 ก็พบปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จำนวนมาก กรณีนี้จึงควรนำมาดูว่าควรจะต้องทำระบบวัดผลกลางกี่ชั้นกันแน่ เพื่อให้ระบบการวัดผลสามารถนำไปปรับปรุงเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะได้รู้ว่าเด็กเรียนไปแล้ว ได้ผลอย่างไร มีปัญหาตรงไหน เพื่อนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นได้ต่อไป
ย้ำว่าในระยะต่อไป การวัดผลก็จะมีผลต่อเกรดการเรียนของนักเรียน ดังนั้นสิ่งสำคัญของการวัดผล คือ การออกแบบและน้ำหนักในการวัด ซึ่งอาจจะไม่ใช่ข้อสอบล้วนๆ อย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจจะมีกิจกรรมอื่นๆ ประกอบด้วย ส่วนจะวัดผลในชั้นเรียนหรือวิชาใด ต้องฝากนักวิชาการมาช่วยออกแบบ เพราะตนเองไม่ต้องการให้ใช้ความรู้สึกมากำหนด แต่ในแง่ความจำเป็นของการจัดการศึกษา จำเป็นต้องมี และหลายประเทศในโลกก็ดำเนินการเช่นนี้กันอยู่ในศตวรรษที่ 21
ให้มีระบบข้อมูลเพื่อเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินและแก้ปัญหาในเขตพื้นที่การศึกษา
อีกเรื่องที่ฝากไว้ให้ดำเนินการเป็นรูปธรรม คือ ระบบข้อมูล ซึ่งเคยกล่าวกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศแล้วว่า ต้องการให้ช่วยพิจารณาถึงการแต่งตั้งโยกย้ายครู ผู้บริหาร ว่ามีการกระจุกตัวหรือไม่อย่างไร เพราะบางโรงเรียนเด็กอ่อนมากๆ แต่กลับไม่มีครูคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนนั้นๆ เลย เรื่องเหล่านี้เราจึงควรมีระบบข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ มีรายละเอียดมากขึ้น เช่น ข้อมูลครูขาดแคลนเป็นอย่างไร หรือข้อตกลงในการประเมินเขตพื้นที่การศึกษา ระหว่าง สพฐ. กับเขตพื้นที่การศึกษา ควรจะต้องดูผลสัมฤทธิ์ด้านใดบ้าง หรือการพิจารณาการย้ายของครู ทาง อ.ก.ค.ศ.จะต้องมีวิธีประเมินอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวของครู ที่ส่วนใหญ่ไปอยู่ในโรงเรียนใหญ่ๆ
ดังนั้น อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษา ก็จำเป็นต้องมีระบบวิธีประเมิน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วย
ควรมีกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กช่วงปิดเทอม
ช่วงเวลาเดือนตุลาคม เป็นช่วงปิดเทอม ควรมีกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับนักเรียน แต่ก็ต้องคำนึงให้มีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น หาก สพฐ.จะจัดค่ายภาษาจีนหรือภาษาอังกฤษ ให้เป็นตัวอย่างในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศโดยใช้เวลา 3 วัน ก็อาจไม่เหมาะสม เพราะวันแรกแนะนำตัว วันที่สองเรียน วันที่สามลา ซึ่งไม่มีทางได้ผลหากจะจัดค่ายภาษาโดยใช้เวลาเพียง 2-3 วัน แต่หาก สพฐ.จัดค่ายภาษาโดยใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ หรือจัดให้นักเรียนไปต่างประเทศด้วย ก็น่าจะได้ผลดีขึ้น จึงฝากให้คิดกิจกรรมสำคัญช่วงปิดเทอมไปด้วย แต่หากปิดเทอมนี้ไม่มีเวลาเตรียมการ ก็ขอให้พิจารณาช่วงเปิดเทอมมาแล้วจะให้เด็กทำอะไร หรือช่วงปิดเทอมใหญ่ จะมีกิจกรรมอะไรที่เหมาะสมให้มากขึ้น
กิจกรรมที่สำคัญหนึ่งและถือเป็นนโยบายสำคัญที่โยงกับการอาชีวศึกษา คือ ให้เขตพื้นที่การศึกษาแนะนำอาชีพในโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อต้องการส่งเสริมให้เด็กได้เห็นช่องทางต่างๆ ในการเรียนทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ให้เด็กเห็นว่าสุดท้ายแล้วก็ต้องมีอาชีพกันทุกคน แต่อาชีพอะไรที่จบออกมาแล้วหางานทำได้ง่ายและมีรายได้สูง ซึ่งนโยบายสำคัญของ ศธ.คือเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวะต่อสามัญ จากปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่ 64:36 ให้เป็น 50:50 และภายหลังต้องการให้เป็น 51:49 เพื่อให้เห็นภาพการส่งเสริมให้เรียนสายอาชีพมากขึ้น จึงขอให้ สพฐ.ช่วยย้ำว่าหากเรายังมีสัดส่วนผู้เรียนสายสามัญมากกว่า ประเทศชาติจะไปไม่รอด ทั้งที่ประเทศมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทไปแล้ว หากไม่มีการผลิตกำลังคนสายอาชีพให้มากขึ้น ก็จะมีคนเดินจบออกจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยไปตกงานจำนวนมาก
ตัวอย่างสำคัญที่เราต้องเร่งการผลิตกำลังคนสายอาชีพคือ ในนิคมอุตสาหกรรมหนึ่งที่จังหวัดระยอง ปัจจุบันมีความต้องการแรงงานมากถึง 1-2 แสนคน และในอนาคตต้องการมากถึง 5 แสนคนในนิคมอุตสาหกรรมนั้นๆ เพียงนิคมอุตสาหกรรมเดียว ดังนั้นหากเด็กรู้ว่าเรียนแล้วได้ประโยชน์จากการมีงานทำ มีรายได้ที่สูง จะได้เลือกเรียนในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ แต่หากปล่อยให้เด็กเรียนโดยไม่ให้คำแนะนำ เมื่อเด็กเรียนไปแล้ว จะไปสั่งห้ามเรียนก็ไม่ได้ นอกจากนี้ที่ผ่านมาพบว่าการจะเข้าไปแนะนำอาชีพในโรงเรียน โรงเรียนก็กลัวว่าจะเสียเงินอุดหนุนรายหัวไป
จึงขอให้ สพฐ.เป็นเจ้าภาพที่ 1 และ สอศ.เป็นเจ้าภาพที่ 2 ในการดำเนินการเรื่องนี้ หากเขตพื้นที่การศึกษาใดไม่มีการแนะนำอาชีพในโรงเรียน ถือว่าเขตพื้นที่การศึกษานั้นบกพร่อง ฉะนั้นโรงเรียนจะต้องไปขอให้อาชีวศึกษาเข้ามาแนะนำ และต่อไปก็จะมีเด็กอาชีวะไปเยี่ยมโรงเรียน ในขณะที่บางประเทศมีโครงการถึงขั้นที่ว่า เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้ใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ไปใช้ชีวิตในวิทยาลัยอาชีวะ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่าการเรียนสายอาชีพ มีความก้าวหน้าและได้ประโยชน์โดยตรงต่อตนเองอย่างไร
สรุป/รายงาน
9/10/2556