โรงแรมโกลเดน ทิวลิป เอสเซนเชี่ยล วสุ – นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดการประชุมเสวนา “ประเทศไทยควรปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างไร” เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2556 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โดยมี ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด และนางฉวีวรรณ คลังแสง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหาร สพฐ. รวมทั้งครู นักวิชาการ ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน เข้าร่วมเสวนาในครั้งนี้จำนวนมาก
รมว.ศธ. กล่าวว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่สำคัญ เพื่อใช้ในการต่อต่อสื่อสาร นำไปใช้เป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อ รวมทั้งเพื่อศึกษาค้นคว้าหาความรู้ จึงจำเป็นต้องเน้นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารได้ เพราะปัจจุบันร้อยละ 90 ผู้เรียนถูกเน้นให้เรียนแบบท่องจำคำศัพท์ หรือเน้นไวยากรณ์มากจนเกินไป ในขณะที่การพูดหรือการเขียนมีน้อยมากหรือถึงขั้นไม่มี ตนเองเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ ป.1 จนถึงอุดมศึกษามากว่า 16 ปี ไม่มี Conversion Class แม้แต่ชั้นเดียว ใกล้เคียงมากที่สุดก็คือเหมือนการแสดงแต่ท่องภาษาอังกฤษมาพูด ซึ่งการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็ยังคงเรียนไม่ต่างจากเดิม ที่ยังคงใช้เรียนภาษาอังกฤษแบบจับกฎเกณฑ์ ทำให้เรียนได้ยากมาก พูดไม่ได้ สื่อสารไม่เข้าใจ
ย้ำว่า การเรียนภาษาต่างประเทศจำเป็นต้องเรียนแบบเข้มข้น เพราะหากเรียนวันละนิดหน่อยคงไม่ได้ผล เหมือนเอาน้ำไปตากแดด ตากทั้งปีก็เท่าไรก็ไม่มีทางที่จะทำให้น้ำเดือดได้ จึงจำเป็นต้องปรับวิธีการเรียนการสอนแบบเข้มข้น ซึ่งอาจจะมีระบบวิชาเลือกเพิ่มขึ้น ที่เน้นให้เด็กเรียนตามความสมัครใจ ไม่ใช่บังคับให้เรียนทั้งห้อง หรืออาจจะมีการจัดทำค่ายภาษาอังกฤษ หรือมีการนำสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย นำแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่มีมาตรฐานเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบ Interactive ผ่านแท็บเล็ต โน้ตบุ้ค คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะเด็กชั้น ป.1-2 ที่มีแท็บเล็ตใช้แล้ว ควรนำแท็บเล็ตมาใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้จากเจ้าของภาษาผ่านแอพพลิเคชั่นที่ทันสมัยได้โดยตรง ไม่ใช่เรียนจากครูที่ออกเสียงสำเนียงไม่ถูกต้อง เพราะเรียนไปก็ไม่สามารถสื่อสารกับชาวต่างประเทศได้ เหมือนกับเรามีเพื่อนชาวต่างประเทศ แต่จะให้มาสอนภาษาไทยแก่ลูกหลานของเรา เราก็คงไม่เอา ดังนั้นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ จึงถือเป็นความจำเป็นในการเรียนการสอนยุคปัจจุบัน
รมว.ศธ.ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมภายหลังพิธีเปิดและรับฟังความคิดเห็นในช่วงเช้า โดยกล่าวว่า การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศ ทำให้เห็นได้ชัดว่าเราต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และปฏิรูประบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศกันอย่างขนานใหญ่ ทั้งในส่วนของหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและประเมินผล กระบวนการผลิตและพัฒนาครู การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพราะปัจจุบันผลสัมฤทธิ์
การเสวนาในครั้งนี้ จึงหวังว่าจะมีการนำความรู้ ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ลงมือปฏิบัติ และผู้เกี่ยวข้อง ได้มองเห็นภาพรวม ปัญหาเชิงนโยบาย เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า การประชุมเสวนาในครั้งนี้มี 5 ประเด็นสำคัญที่นำมาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันในที่ประชุม คือ
ประเด็นที่ 1 สภาพปัจจุบัน ปัญหา และการพัฒนาที่ผ่านมา เช่น การเรียนภาษาต่างประเทศของคนไทยควรเป็นอย่างไร กลยุทธ์ในการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร โปรแกรม EP IEP IP และการส่งเสริมการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ฯลฯ
ประเด็นที่ 2 การใช้มาตรฐานการสื่อสารภาษา การสอบวัดระดับความรู้ และการกำหนดเป้าหมาย เช่น การพัฒนาผู้เรียนแต่ละกลุ่ม/ระดับให้เหมาะสม การพัฒนาผู้เรียนพร้อมกำหนดตัวชี้วัดด้วยการสอบวัดระดับแบบต่างๆ ฯลฯ
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
27/9/2556