“สกว.”เผย9ผลวิจัยเด่นของนักศึกษาคปก. มีเรื่อง “การรู้จำอักษรธรรมล้านนาที่จารในคัมภีร์ใบลานบนฐานการจำแนกเชิงลำดับชั้นแบบกึ่งมีผู้สอน” รวมอยู่ด้วย
เฟซบุ๊ก”สกว.”ได้เปิดเผยผลงานวิจัยเด่นของนักศึกษา คปก. ในงานประชุมวิชาการ ครัังที่ 18 มีจำนวน 9 โครงการ ประกอบด้วย
1. การพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยยีนผิดปกติของโรคด้วยอนุภาคแม่เหล็กนาโน เช่น ตรวจหาเชื้อมะเร็งเม็ดเลือดขาว และเชื้อมาลาเรียระยะแกมมีโตไซต์ เพื่อประโยชน์ด้านการควบคุมการระบาดของโรคมาลาเรีย โดย รศ. ดร.กุลชาติ จังภัทรพงศา และนายเธียรรัตน์ ตั้งไชยคีรี ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. การตรวจวัดดีเอ็นเอหลายชนิดพร้อมกันโดยใช้สารรีดอกซ์บรรจุอนุภาคซิลิกา โดย ดร.มิทราน โซมาซันดรัม และ น.ส.นบชุลี ชีวีวัฒนากูล ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
3. การพัฒนาและประเมินการนำส่งเคอร์คิวมินในรูปแบบก่อแพเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดย รศ. ดร.ฤดีกร วิวัฒนปฐพี และ น.ส.ณัฏฐา เกิดสกุลดี ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4. การผลิตเชื้อเพลิงทดแทนและสารเคมีที่มีมูลค่าเพิ่มจากของเหลือใช้ในอุตสาหกรรมทางการเกษตรและกากเหลือใช้ชีวภาพ โดย ผศ. ดร.วรพล เกียรติกิตติพงษ์ และนายทรงพล พิมเสน ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5. การเพิ่มความสามารถการถ่ายเทความร้อนและลักษณะเฉพาะการไหลสองสถานะของสารทำความเย็นทางเลือกระหว่างการเดือดและการควบแน่นภายในท่อที่มีรอยบุ๋ม โดย ศ. ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ และนาย คณิต อรุณรัตน์ เทคโนโลยีพลังงานนานาชาติ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
6. การรู้จำอักษรธรรมล้านนาที่จารในคัมภีร์ใบลานบนฐานการจำแนกเชิงลำดับชั้นแบบกึ่งมีผู้สอน โดย รศ. ดร.จีรยุทธ ไชยจารุวณิช และนายปภังกร อิ่นแก้ว ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7. การศึกษาภูมิทัศน์นิเวศวิทยาของนกยูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดย รศ. ดร.โทมัสโซ ซาวินี และนายนิติ สุขุมาลย์ ภาควิชานิเวศวิทยาการอนุรักษ์ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรร
8. นิเวศวิทยาและการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ของกลุ่มนกแว่นในประเทศไทย โดย รศ. ดร.โทมัสโซ ซาวินี และ น.ส.สมหญิง ทัฬหิกรณ์ ภาควิชานิเวศวิทยาการอนุรักษ์ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
9. ผลกระทบของชายขอบป่าต่อ สังคมของนก การอยู่รอดของรังนก และสังคมของสัตว์ผู้ล่ารัง โดย รศ. ดร.จอร์จ เกล และ น.ส.ดาภะวัลย์ คำชา ภาควิชาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ที่มา : http://www.banmuang.co.th/news/education/82683