ครูโอ๊ะ ชู ระนองโมเดล “กศน.ปักหมุดสร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนพิการ-ผู้ด้อยโอกาส” เตรียมต่อยอดพัฒนาไปเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2564 นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศธ. (ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการ รมช.ศธ.) และนายพะโยม ชิณวงศ์ ประธานคณะทำงาน รมช.ศธ. ลงพื้นที่ กศน.ตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง เพื่อ “ปักหมุดระนองโมเดล” เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อคนพิการ-ผู้ด้อยโอกาส ในรูปแบบ Ranong Model ในระหว่างการติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 (กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน) ณ จังหวัดกระบี่
 width=
“การจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา “Ranong Model” มีจุดเริ่มต้นมาจากนโยบาย กศน. WOW ที่มีจุดเน้นพัฒนา 6 Good ซึ่งมีการพัฒนาครูและบุคลากรในสังกัด สำนักงาน กศน.ระนอง (Good teacher) ให้มีสมรรถนะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถจัดการเรียนรู้และการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับนักศึกษาพิการทั้ง 24 คน อย่างมีคุณภาพ แบ่งเป็น ระดับประถมศึกษา 3 คน มัธยมศึกษาตอนต้น 9 คน และมัธยมศึกษาตอนปลาย 13 คน และแบ่งตามประเภทความพิการ ได้แก่ บกพร่องทางการมองเห็น 1 คน สติปัญญา 12 คน ร่างกายหรือการเคลื่อนไหว 9 คน และออทิสติก 3 คน โดยได้เริ่มดำเนินการพัฒนาครูผู้สอนในการใช้แบบคัดกรองคนพิการทางการศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเด็กป่วยในโรงพยาบาล การเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) การจัดทำแผนบูรณาการ พัฒนาหลักสูตรคุณภาพชีวิตไทย-เมียนมา
 width=  width=  width=  width=  width=  width=  width=  width=
การส่งเสริมการศึกษาอาชีพ (Re skill and Up skill) และออกใบรับรองความสามารถด้านอาชีพ (Good Activities) การสร้างแบรนด์ กศน. พร้อมส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ (Good Innovation) นอกจากนี้ กศน.จังหวัดระนอง ยังพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมสมรรถนะผู้สูงอายุ ที่เน้นการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน (Good partnership) ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือไทย สำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ หรือหลงลืมหนังสือ
 width=  width=  width=  width=  width=
ฝากให้ชาวการศึกษาของระนอง ร้อยรวมดวงใจในการพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชนคนไทย ให้ได้รับการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ พัฒนาการเรียนรู้ตลอดทุกช่วงวัย สร้างความเป็นอยู่ที่ดี ก่อนที่ กศน.จะขยายการสร้างโอกาสแก่ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส รูปแบบระนองโมเดล อีกจำนวน 82 คน ในอำเภอเมืองระนอง และ เลขาธิการ กศน.ได้นำนโยบายไปปฏิบัติและสั่งการให้มีการนำร่องใน 18 กลุ่มทั่วประเทศนำโมเดลนี้ไปดำเนินการต่อไป
 width=  width=  width=  width=  width=
และในส่วนของข้อห่วงใยเกี่ยวกับผู้ที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา ขณะนี้ สพฐ. กับ กศน.จะจับมือร่วมกันนำคนกลุ่มนี้กลับเข้ามาเรียนตามบทบาทหน้าที่ ทั้งในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนของ สพฐ. และการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย ของ กศน.” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
 width=  width=  width=
จากนั้น รมช.ศึกษาธิการ และคณะ เยี่ยมชมนิทรรศการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนบุคคลที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์หรือไม่มีสัญชาติไทย พร้อมมอบของที่ระลึกแก่นักศึกษาผู้พิการ จำนวน 4 ราย การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ รูปแบบ Re Skill & Up Skill การขับเคลื่อนนโยบาย กศน. WOW และจากนั้นเดินทางลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้พิการและมอบถุงยังชีพ จำนวน 4 หลัง ที่ ตำบลนาคาและตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และอำเภอทับปุด จังหวัดกระบี่
นวรัตน์ รามสูต : สรุป/เรียบเรียง
สถาพร ถาวรสุข : ภาพ
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ. : รายงาน
15/11/2564