ครูกัลยา Kick off วิทยาศาสตร์พลังสิบ ครม.ให้งบกว่าหมื่นล้าน พัฒนาหลักสูตรสร้างโอกาสการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทุกพื้นที่อย่างเท่าเทียม ด้วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มิติใหม่

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน 2564 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน “Kick off โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ” ณ โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นายศุภชัย ศรีหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาและประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์และนโยบาย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีนางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา, ครู, นักเรียน, ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากโรงเรียนในโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และศรีสะเกษ ร่วมงาน และมีการถ่ายทอดสดกิจกรรมทางออนไลน์ให้กับผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้รับผิดชอบโครงการได้รับชมพร้อมกันทั่วประเทศ

 width=
 width=
 width=
 width=
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระยะ 10 ปี วงเงินงบประมาณ 9,000 กว่าล้านบาท เพื่อพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาครู สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือและห้องปฏิบัติการ ให้กับโรงเรียนในโครงการเพื่อให้นักเรียนทุกพื้นที่ของประเทศไทยมีโอกาสการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เน้นการปฏิบัติจริง เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้ มีโอกาสใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่การทดลองและห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์พลังสิบที่เน้นการพัฒนาทักษะและสมรรถนะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายอีก 5 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัย ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวในทุกมิติทั้งด้านหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาครู ผู้บริหาร นักเรียนและการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ให้กับโรงเรียนในโครงการ

สำหรับการคิกออฟโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบที่จัดขึ้น ณ โรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา จังหวัดอุบลราชธานี ในครั้งนี้ เป็นตัวอย่างที่สำคัญอันหนึ่งของโครงการที่แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายการพัฒนายกระดับคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ในพื้นที่ทั่วประเทศให้เกิดโอการการพัฒนาอย่างเท่าเทียม ซึ่งโรงเรียนม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับอำเภอที่ได้รับคัดเลือกจากโครงการในการเตรียมความพร้อมให้เป็นศูนย์อบรมพัฒนาขยายผลการจัดการเรียนรู้ตามโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบให้กับโรงเรียนเครือข่ายในจังหวัดอุบลราชธานีอีก 10 แห่ง ซึ่งในโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบมีโรงเรียนศูนย์อบรมพัฒนาขยายผลที่เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับอำเภอมากกว่า 20 แห่งที่จะได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนประจำจังหวัดหรือโรงเรียนชั้นนำของประเทศไทยต่อไป เพื่อเป็นการสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาต้นเองด้วยการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีความสุข เกิดสมรรถนะที่สำคัญในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงแก้ปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างคุณค่าให้กับตนเอง ซึ่งการดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์ลพลังสิบจะเป็นอีกโครงการสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาที่จะยกระดับการเรียนการสอนเพิ่มโฮกาสการเรียนรู้ สู่สมรรถนะใหม่ด้วยวิทยาศาสตร์ใกล้ตัว เพื่อสร้างมูลค่าในตัวเอง เศรษฐกิจและครอบครัวต่อไป

“การคิกออฟโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบที่จัดขึ้นในครั้งนี้ เป็นการแสดงจุดเริ่มต้นและความมุ่งมั่นตั้งใจของดิฉัน และผู้บริหารกระทรวงศึกษาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้บริหารเครือข่ายความร่วมมือของโครงการทุกท่านในการนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมการเรียนที่เน้นการพัฒนาทักษะและสมรรถนะสำคัญผ่านกระบวนการหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือและห้องปฏิบัติการที่จะเกิดขึ้นในโครงการ เพื่อจะพัฒนาให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกับคุณภาพของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยมีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการและการพัฒนาครู” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว

 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
ต่อมาในช่วงบ่าย รมช.ศึกษาธิการ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัย ในการเตรียมความพร้อม เพื่อยกระดับเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ประจำเขตตรวจราชการที่ 14

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวแสดงความยินดีแก่โรงเรียนอุบลราชธานี ศรีวนาลัย ที่ได้รับคัดเลือกให้ยกระดับจากโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบล ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ประจำเขตตรวจราชการที่ 14 กลุ่มจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และยโสธร สะท้อนให้เห็นผลงานด้านวิทยาศาสตร์ ที่ยอดเยี่ยม ตลอดจนช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เปิดโอกาสให้เยาวชน ในพื้นที่ได้สอบเข้าโรงเรียน คุณภาพระดับประเทศต่อไป พร้อมทั้งต้องการให้โรงเรียนมีความเชื่อมโยงกับ สังคมภายนอกมากขึ้น เนื่องจากการได้รับความร่วมมือหรือข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า และเครือข่ายต่าง ๆ จะทำให้การเรียนมีเป้าหมายมากยิ่งขึ้น สามารถแก้ปัญหาชุมชน สังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าการลงทุนลงแรงจากนี้ไปจะสามารถ จะสร้างบุคลากรคุณภาพให้กับประเทศได้ มีเด็กที่เก่งทั้งวิชาการ การเข้าสังคม มีความรักสถาบัน และเรียนรู้วัฒนธรรม เพื่อสามารถเท่าทันโลกยุคใหม่ได้ในอนาคต

 width=
 width=
 width=
ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว​: สรุป/ถ่ายภาพ
นวรัตน์​ ราม​สูต​: เรียบเรียง
กลุ่ม​ประชา​สัมพันธ์​ สร.: รายงาน
11/11/2564