ครูกัลยา ชื่นชม “รร.ชุนชมดอยช้าง” เตรียมขยายผลโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีต ไปสู่โรงเรียนทั่วประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2564 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นิเทศเชิงประจักษ์ เพื่อให้เห็นสภาพจริงการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน (Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farming) พร้อมด้วยนายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาและประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์และนโยบาย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีโดยมีนายวุฒิชัย เสาวโกมุท รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย, นายเกรียงไกร ฟูธรรม ผู้อำนวยการโรงเรียนชัมชนดอยช้าง นำคณะผู้บริหาร ส่วนราชการ ลงพื้นที่ในครั้งนี้ ณ โรงเรียนชุมชนดอยช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 จังหวัดเชียงราย

 width=
 width=
 width=
 width=
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน (Science Technology Innovation (STI) : Smart Intensive Farming) ดำเนินโครงการโดยมีโรงเรียนนำร่อง จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่
1. โรงเรียนห้วยสักวิทยาคม จังหวัดเชียงราย
2. โรงเรียนชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย
3. โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่
4. โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่
5. โรงเรียนเวียงมอกวิทยา จังหวัดลำปาง
6. โรงเรียนศรีสังวาลย์ จังหวัดเชียงใหม่

เพื่อบูรณาการการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิทยาการคำนวณกับการทำเกษตรแบบประณีตในโรงเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะและสามารถนำองค์ความรู้มาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปต่อยอดในการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้ภายในโรงเรียน
สำหรับการนิเทศเชิงประจักษ์โรงเรียนชุมชนดอยช้างในครั้งนี้ พบว่ามีความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ในการสร้างองค์ความรู้ทางด้านเกษตรกรรม โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐาน เข้ามาใช้ประโยชน์ ในภาคการเกษตร ซึ่งสามารถขยายผลไปสู่ชุมชน โดยครูผู้สอนจะได้รับการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาการคำนวณ Coding For Farm มาใช้ในการสร้างองค์ความรู้ให้แก่นักเรียนในภาคการเกษตร ซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในภาคการเกษตรจะส่งผลให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นและมีคุณภาพ ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนและเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อนักเรียนเกิดองค์ความรู้ ก็สามารถจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ หรือสามารถต่อยอดไปถึงชุมชน
ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมการดำเนินโครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตในโรงเรียน อาทิ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาอมก๋อย ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงโครงการหลวงวาวี, สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) รวมไปถึงศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO STEM-ED)

“โครงการอัจฉริยะเกษตรประณีตโรงเรียนชุมชนดอยช้าง ถือเป็นตัวอย่างที่สำคัญอันหนึ่งของโครงการที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ซึ่งในอนาคต ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะดำเนินการขยายผลไปสู่โรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อนำไปสู่การผลักดัน ให้เกิดการยกระดับกระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้าภาคการเกษตร ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว

 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
 width=
ทิพย์สุดา ศรีษะแก้ว​: สรุป/ถ่ายภาพ
นวรัตน์​ ราม​สูต​: เรียบเรียง
กลุ่ม​ประชา​สัมพันธ์​ สร.: รายงาน
26/11/2564