9 เมษายน 2557 – นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงข้อเสนอของผู้บริหาร ครู และประชาชน ในการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
รมว.ศธ.กล่าวว่า จากการที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการประชุมผู้บริหาร ครู ผู้ทรงคุณวุฒิ ในการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2557 ที่จังหวัดปัตตานี ได้มีข้อเสนอที่น่าสนใจในประเด็นต่างๆ ดังนี้
การเพิ่มจำนวนนักเรียนในโรงเรียนของรัฐ ระดับมัธยมศึกษา
ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีนักเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 167,571 คน เรียนอยู่ในสถานศึกษาของรัฐร้อยละ 82.11 และเรียนอยู่ในสถานศึกษาเอกชนเพียงร้อยละ 17.89 ซึ่งมีทิศทางกลับกันในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีจำนวนนักเรียนรวม 41,121 คน เรียนอยู่ในสถานศึกษาเอกชน ร้อยละ 60.34 และมีเพียงร้อยละ 39.66 ที่เข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมาย
จากการประชุม ได้มีแนวทางในการเพิ่มปริมาณนักเรียนนักศึกษา ดังนี้
1) ขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขยายผลโรงเรียนรูปแบบสวนพระยาโมเดล ให้เพิ่มขึ้นเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 โรงเรียน ซึ่ง “สวนพระยาโมเดล” เป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่ดำเนินการในโรงเรียนสวนพระยาวิทยา อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 ที่จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาแบบเข้ม หรือการสอน 2 ระบบ คือ วิชาสามัญและอิสลามศึกษา เพื่อจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สร้างนักเรียนที่มีความรู้วิชาสามัญควบคู่วิชาศาสนา โดยมีการนำภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมวางแผนการขับเคลื่อนกระบวนการทั้งระบบ เพื่อมุ่งหวังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ยอมรับของชุมชน มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นทั้งวิชาสามัญและศาสนา มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น และมีหน่วยงานต่างๆ ให้ความสนในมาศึกษาดูงานจำนวนมาก
2) ให้จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาแบบเข้มในโรงเรียนของรัฐ ซึ่ง สพฐ.ได้จัดการศึกษาอิสลามแบบเข้ม 320-400 ชั่วโมงต่อปีใน 350 โรงเรียน โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และประชาชนมีความพึงพอใจสูงมาก จึงขอเสนอให้พิจารณาบรรจุข้าราชการครูวิชาเอกอิสลามศึกษาให้เพียงพอกับปริมาณงาน พัฒนาบุคลากรผู้สอนอิสลามศึกษาอย่างต่อเนื่อง และอบรมเรื่องการจัดทำข้อสอบ I-Net ของ สทศ.อย่างเร่งด่วน รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอน
3) ควรเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวสำหรับนักเรียนปฐมวัย (3 ขวบ) สังกัด สพฐ. ซึ่งปัจจุบัน สพฐ.อุดหนุนงบรายหัวระดับปฐมวัยให้แก่ชั้นอนุบาล 1-2 อายุ 4 ขวบ และ 5 ขวบเท่านั้น ทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดสรรรับเด็กอายุ 3 ขวบ ส่งผลให้ปริมาณนักเรียนเข้าเรียนโรงเรียนรัฐน้อยลง จึงเสนอให้มีการพิจารณารับนักเรียนอายุ 3 ขวบเข้าเรียน เพื่อให้สามารถรับเงินอุดหนุนได้
การเพิ่มจำนวนนักศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ได้ตามเป้าหมายร้อยละ 30
รมว.ศธ.กล่าวว่า ปัจจุบันสัดส่วนนักเรียนที่เรียนสายอาชีวศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนี้ มีการพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมอาชีพในอำเภอห่างไกลและอำเภอหน้าด่านชายแดน จำนวน 22 ศูนย์ และจัดให้มีทุนอาชีวศึกษาระดับ ปวช./ปวส.จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทั้งจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอาชีพให้แก่ประชาชน/เยาวชนในพื้นที่ตามความต้องการ เพื่อมุ่งหวังเป้าหมายที่สูงขึ้น คือ สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อสามัญ เพิ่มขึ้นเป็น 30:70
สแกนการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน
ผลสแกนการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้น ป.
1) จังหวัดปัตตานี มีนักเรียนชั้น ป.3 จำนวน 3,637 คน อ่านไม่ออกร้อยละ 19 และเขียนไม่ได้ร้อยละ 27 สำหรับนักเรียนชั้น ป.6 มีจำนวน 3,860 คน อ่านไม่ออกร้อยละ 16 และเขียนไม่ได้ร้อยละ 16
2) จังหวัดยะลา มีนักเรียนชั้น ป.3 จำนวน 2,952 คน อ่านไม่ออกร้อยละ 31 และเขียนไม่ได้ร้อยละ 23 ส่วนนักเรียนชั้น ป.6 มีจำนวน 3,083 คน อ่านไม่ออกร้อยละ 24 และเขียนไม่ได้ร้อยละ 25
3) จังหวัดนราธิวาส เป็นจังหวัดที่มีอัตรานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้สูงที่สุด คือ มีนักเรียนชั้น ป.3 จำนวน 3,924 คน อ่านไม่ออกร้อยละ 43 และเขียนไม่ได้ร้อยละ 42 ส่วนนักเรียนชั้น ป.6 มีจำนวน 3,839 คน อ่านไม่ออกร้อยละ 32 และเขียนไม่ได้ร้อยละ 32
จึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น จัดการเรียนการสอนแบบสองภาษา (สพฐ.) ทวิภาษา (โครงการนำร่อง ม.มหิดล) และพหุภาษาช่วงปฐมวัย รวมทั้งจัดโครงการแก้ไขปัญหาการอ่านออกเขียนได้ฯ โดยเน้นการแจกรูปสะกดคำ เพิ่มชั่วโมงเรียนเป็น 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จัดครูสอนให้ตรงวิชาเอก และจัดอบรมครู เป็นต้น
ปัญหาการขาดเรียนของนักเรียน
ที่ประชุมจึงได้เสนอให้มีโครงการต่างๆ เช่น การส่งเสริมสุขภาวะนักเรียน โครงการเยี่ยมบ้านนักเรียน และจัดแนะแนวการศึกษาและอาชีพอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-Net) ของนักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่ามีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับประเทศ เช่น ในปีการศึกษา 2556 นักเรียนชั้น ม.6 จังหวัดปัตตานี มีคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทย ร้อยละ 32.48 คณิตศาสตร์ ร้อยละ 14.60 วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 24.67 สังคม ร้อยละ 25.01 และภาษาอังกฤษ ร้อยละ 17.65
ที่ประชุมจึงได้เสนอแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เช่น จัดติว/สอนเสริม อบรมครูที่สอนไม่ตรงวุฒิ พัฒนาครูและห้องปฏิบัติการ จัดทำข้อสอบกลางวิชาหลัก จัดโรงเรียนคู่แฝดไทย-มาเลเซีย รวมทั้งมอบทุนแก่นักเรียนเรียนดีในระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ “ทุนคุรุทายาท” เป็นต้น
รมว.ศธ.กล่าวว่า ข้อเสนอต่างๆ ดังกล่าว ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผนพัฒนาและจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ซึ่ง ศธ.ย้ำมาโดยตลอดว่า จำเป็นจะต้องจัดการศึกษาโดยเน้นให้มีการรับฟังความคิดเห็นความต้องการจากประชาชนและชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และสอดคล้องกับภาคการผลิตด้วย ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนี้ ศธ.จะนำไปพิจารณาในการวางแผนพัฒนาและจัดการศึกษาในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป อย่างไรก็ตามขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สป./สพฐ. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสวัสดิภาพของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา
นวรัตน์ รามสูต
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
4/4/2557
เผยแพร่ 9/4/2557