การปฏิรูปหลักสูตรการรู้หนังสือและการศึกษาต่อเนื่องของประเทศอินโดนีเซีย

การปฏิรูปหลักสูตรการรู้หนังสือและการศึกษาต่อเนื่องของประเทศอินโดนีเซีย


โดย Ekodjatmiko Sukarso
นันฐิณี ศรีธัญญา แปลสรุปและเรียบเรียง

1. ภูมิหลัง
ประเทศอินโดนีเซียได้ประกาศอิสรภาพ เมื่อปี ค.ศ. 1945 ในเวลานั้นมีประชากรจำนวน
90 % ไม่รู้หนังสือซึ่งเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่และไม่ง่ายที่จะหยิบยกปัญหาเรื่องการไม่รู้หนังสือมาเป็นประเด็น
หลักในการพัฒนา เนื่องจากขณะนั้นประเทศประสบปัญหามากมาย โดยเฉพาะต้องทุ่มงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคของประชากร จนกระทั่ง ๓ ปีให้หลังจึงได้มีการจัดสรรงบประมาณของชาติให้กับการศึกษาเป็นลำดับที่ ๑ โดย ๙๐ % จะจัดสรรให้กับการศึกษาในระบบที่เหลือจำนวน ๑๐ % เป็นการศึกษานอกระบบ


2. หลักการ
จากการสำรวจในปี ค.ศ. ๑๙๙๘ จนถึงกลางปี ๒๐๐๐ มีประชากรอินโดนีเซีย จำนวน ๒๑ ล้านคน ไม่รู้หนังสือ มีอายุราว ๑๐ ปี การปรับปรุงพัฒนาด้านการศึกษาในอินโดนีเซียจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายและไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่ารัฐบาลได้พยายามอย่างหนักในการจัดโครงการการเรียนรู้แล้วก็ตาม ดังนั้นรัฐบาลจึงได้เปลี่ยนแปลงนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
๑. ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อขจัดการไม่รู้หนังสือโดยใช้วิธีจัดการศึกษาต่อเนื่องให้เวลาผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการเรียนการศึกษาแบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐาน
๒. ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้เดิมที่กำหนดเนื้อหาจากส่วนกลางเป็นหลักให้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดความต้องการ สภาพปัญหาและศักยภาพของผู้เรียนและชุมชนเป็นหลัก
๓. ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการจากส่วนกลางเป็นหลักให้องค์กรการศึกษาชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการหากลุ่มเป้าหมาย การบริหารโครงการที่สนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชนเป็นหลักเพื่อสนองความต้องการที่หลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย การศึกษาแบบเบ็ดเสร็จจึงแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ประกอบด้วย การฝึกทักษะพื้นฐาน คู่มือแนะแนวการเรียนรู้และการเรียนด้วยตนเองการฝึกทักษะพื้นฐานจะเน้นสำหรับบุคคลที่ขาดทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณ ส่วนคู่มือแนะแนวการเรียนรู้จะให้โอกาสผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการนำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนการเรียนด้วยตนเองจะเน้นการช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้จากตำราและบทเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน การวางแผนเพิ่มพูนรายได้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามความต้องการของตนเอง


หลักการการอ่านออกเขียนได้
การจัดการศึกษาแบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐานจะใช้กลยุทธ์การพัฒนาจากระดับล่างขึ้นบน โดยมีหลักการดังนี้
1. บริบทของท้องถิ่น พิจารณาและตัดสินจากสภาพความต้องการด้านการอ่าน การเขียนและทักษะที่เป็นความต้องการของคนในชุมชนเนื่องจากวิถีชีวิตของคนที่อยู่ในเมืองย่อมต้องการการเรียนรู้ที่แตกต่างจากผู้คนที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นห่างไกล
2. ชุมชนออกแบบการเรียน ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะกำหนดแผนการเรียนตามความต้องการและความสนใจของตนเอง ผู้สอนต้องให้การฝึกอบรม และให้ความรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้วิธีออกแบบกิจกรรมการเรียนตามความต้องการ และความสนใจของตนเองในเรื่องหลักสูตร วัสดุการเรียนการสอนและการทำงานร่วมกับองค์กรเครือข่ายในชุมชน
3. กระบวนการมีส่วนร่วม ผู้เรียนต้องเข้าร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มและตัดสินใจวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนและจัดหาอุปกรณ์การเรียนด้วยตนเอง
4. ผลที่ได้รับ ผลลัพธ์จะวัดได้จากความสามารถเรียนรู้ของผู้เรียน ในการนำทักษะการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน


4. โครงการจัดการศึกษาเพื่อการรู้หนังสือ


1. วิธีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้จะประกอบด้วย ทักษะการเรียนรู้จากการปฏิบัติ หัวข้อที่ผู้เรียนต้องเรียนได้จากการสำรวจกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
1) การอภิปราย
2) การเขียน
3) การอ่าน
4) การคำนวณ
5) การปฏิบัติการและลงมือทำ ยกตัวอย่าง เช่น หากกลุ่มต้องการจะผลิตและขายเสื่อ เขาต้องมีการอภิปรายถึงแนวคิดและวางแผนการเรียนวิธีการทำเสื่อ ตลอดจนการบันทึกวัตถุดิบที่ใช้และวิธีการผลิตเสื่อที่สามารถหาอ่านได้จากแผ่นปลิวแนะนำวิธีการทำจากศูนย์การเรียน จากนั้นจึงคำนวณค่าวัสดุและต้นทุนที่ใช้ในการผลิตเสื่อและลงมือทำเสื่อ ตลอดจนวิเคราะห์ศักยภาพในการผลิตเสื่อ แล้วเขียนเป็นแผนการทำงาน ท้ายที่สุดจึงคำนวณราคาขายและจดบันทึกยอดขายและกำไร (ขาดทุน) ไว้


2. สื่อและวัสดุการเรียนการสอน นักการศึกษาชุมชนต้องจัดหาสื่อและวัสดุการเรียนการสอนที่มีประโยชน์ภายในท้องถิ่นให้กับผู้เรียนโดยสื่อเหล่านี้ต้องใช้ภาษาและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้เรียน เป็นหลัก นอกจากนี้ยังต้องเสนอแนะแนวทางช่วยให้ผู้เรียนสามารถวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย ในทำนองเดียวกันผู้สอนและผู้อำนวยความสะดวกยังมีหน้าที่พัฒนาหลักสูตร โดยการพัฒนาหลักสูตรทุกครั้งต้องมีนักการศึกษาชุมชนเข้าร่วมเป็นคณะทำงานหรือเป็นวิทยากร ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมีประสบการณ์ตรงและทราบความต้องการของผู้เรียน สภาพปัญหา วิธีการ การจัดหาวัสดุ การประเมินผลการเรียน ดังนั้นบทบาทของนักการศึกษาชุมชนจึงมีความสำคัญในการผลักดันให้หลักสูตรสนองความต้องการของผู้เรียน

3. คุณสมบัติของผู้เรียน กลุ่มผู้เรียนประกอบด้วยผู้เรียนอายุระหว่าง 10 ปีและ 44 ปี ที่มาจากหมู่บ้านเดียวกันและมีความสนใจร่วมกันในการเพิ่มพูนรายได้ การพัฒนาชุมชน การพัฒนาครอบครัวแต่มีประสบการณ์การเรียนรู้แตกต่างกันจึงจัดกลุ่มผู้เรียนทีไม่เคยเรียนหนังสือมาก่อนรวมกับกลุ่มคนที่เคยเรียนในโรงเรียนมาแล้ว 2-3 ปี ผู้สอนจึงต้องจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีระดับการเรียนรู้แตกต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือใช้วิธีจับคู่กันเพื่อจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้านการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณ
4. การประเมินผลอย่างต่อเนื่อง จากการที่ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มมีความสามารถในการเรียนรู้แตกต่างกัน ผู้เรียนจึงต้องประเมินตนเองเพื่อวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง การประเมินผลจึงวัดจากความสนใจ ความต้องการและทักษะในช่วงเวลาที่ผู้เรียนอยู่ในกลุ่ม ข้อมูลเหล่านี้จะใช้เป็นเกณฑ์วัดความก้าวหน้าของผู้เรียนทุก ๆ สิ้นเดือน ผู้สอนจะใช้เกณฑ์นี้ตรวจสอบความก้าวหน้าและการพัฒนาทักษะ และความสามารถพื้นฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อใช้ในการวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ในเดือนถัดไปในแต่ละเดือน ผู้สอนและผู้เรียนจะเขียนบันทึกเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนอย่างย่อ ๆ ผู้สอนจะรายงานให้ทราบว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่ผู้เรียนได้ทำ ใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนอะไรและมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ตลอดระยะเวลาเรียน ผู้เรียนจะเขียนบันทึกข้อคิดเห็นสั้น ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ เมื่อศึกษานิเทศก์มาตรวจเยี่ยม ผู้เรียนจะอภิปรายถึงความก้าวหน้าของกลุ่มและบอกความต้องการด้านสื่อและวิทยากรที่จะประกอบการเรียนในเดือนต่อไป เมื่อสิ้นสุดการเรียนในเดือนที่หก ผู้เรียนสามารถสอบวัดผลสัมฤทธิ์ความก้าวหน้าทางการเรียนระหว่างกลุ่มและเชื่อได้ว่าผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านเขียนและคิดคำนวณได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน


5. การศึกษาต่อเนื่อง
ในปี ค.ศ. 1994 เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่รัฐต้องจัดให้เด็กและเยาวชนที่มีอายุระหว่าง7-15 ปี ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 ปี โดยจัดโครงการรู้หนังสือทั้งรูปแบบการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบซึ่งรวมเรียกว่าการศึกษาต่อเนื่อง


1. วัตถุประสงค์ของการศึกษาต่อเนื่อง
1.1 เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต โดยเฉพาะเรื่องการทำงาน เน้นให้ผู้เรียนนำความรู้และทักษะ ตลอดจนข่าวสารข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
1.2 เป็นการเตรียมตัวเพื่ออนาคต โครงการจะเตรียมความพร้อมของผู้เรียนในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระบบหรือนอกระบบ เพื่อเป็นหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ค่อยเป็นค่อยไป แต่ มั่นคงที่จะช่วยให้ผู้เรียนสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ส่วนการศึกษาต่อเนื่องจะเน้นทั้งความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านธุรกิจ และเศรษฐกิจตลอดจนการพัฒนาชุมชน
1.3 โครงสร้างและการบริหารการศึกษาต่อเนื่องจะดำเนินการโดยผู้อำนวยการกองการศึกษาต่อเนื่อง จากส่วนกลางไปยังตำบล ซึ่งในแต่ละตำบลจะมีเจ้าหน้าที่ระดับชาติ จังหวัดและตำบลดูแลการบริหารและการจัดการ


2. แผนงานและกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องการศึกษาต่อเนื่องจะเน้นการเรียนรู้เพื่อชีวิต ผู้เรียนจะสามารถบอกสภาพปัญหาและ
แก้ปัญหาชีวิตได้ ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่าผู้เรียนได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนเพื่อรับวุฒิบัตร นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถดูแลสุขภาพและเลือกรับประทานอาหารได้ถูกสุขลักษณะและสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขส่วนแผนงานอื่น ๆ คือการจัดหลักสูตรซึ่งบริหารและดำเนินการโดยองค์กรเอกชนซึ่งมีจำนวนถึง 20,000 กว่าแห่งที่จัดหลักสูตรเน้นวิชาทักษะทางด้านการตัดเย็บเสื้อผ้า พิมพ์ดีด เสริมสวย ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ โภชนาการและช่างอิเล็คทรอนิกส์ แผนงานเพิ่มพูนรายได้สำหรับกลุ่มผู้เรียนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาชุมชน ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อลดปัญหาความยากจนระดับประเทศของประชาชนได้เช่นกัน





นันฐิณี ศรีธัญญา นักวิชาการศึกษา แปลสรุปเรียบเรียง จากการประชุม Asian-Pacific
Regional Forun for Lifelong Learning, 8-10 September 2001 at the Lotus Hotel Pang Suan Kaew Chiangmai, THAILAND.