1.
เห็นชอบร่างมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง)
มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (ก.พ.ป.)
ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการเพื่อประกาศใช้ต่อไป
โดยให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 เรื่อง (ร่าง)
มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ
และให้ใช้มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติเป็นมาตรฐานกลางของประเทศแทน
พร้อมทั้งให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องพิจารณานำมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริม
สนับสนุนให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล
และรับผิดชอบ มีการบริหารจัดการ การประเมินผลการดำเนินงาน
เพื่อยกระดับการพัฒนาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานฯ
รวมทั้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)
ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานและรายงานต่อ ก.พ.ป. เป็นระยะ ๆ
หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ในส่วนของการบูรณาการทำงานนั้น ให้ ศธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
พิจารณาดำเนินการตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
เมื่อแผนแม่บทดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว รวมถึงแผน/ยุทธศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
สาระสำคัญ (ร่าง) มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการดูแลพัฒนาและจัดการศึกษา
และการดำเนินงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดที่ดูแลเด็กในเวลากลางวัน
ช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิด 6 ปีบริบูรณ์
หรือก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ที่สามารถนำไปใช้ประเมินการดำเนินงานของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในทุกสังกัด
ประมาณกว่า 53,335 แห่ง
เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดบริการและความต่อเนื่องของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
โดยกำหนดมาตรฐานย่อย 3 ด้าน คือ 1)
ด้านการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 2)
ด้านครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแลและจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
และ 3) ด้านคุณภาพของเด็กปฐมวัย แบ่งเป็นเด็กแรกเกิด อายุ 2 ปี
และเด็กอายุ 3 ปี อายุ 6 ปี (ก่อนเข้าประถมศึกษาปีที่ 1)
2.
รับทราบสรุปการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 10 และอื่น ๆ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติ
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้
รับทราบ สรุปสาระสำคัญการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ครั้งที่ 10
และการประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย
ร่วมลงนามในกฎบัตรเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของประเทศสมาชิกอาเซียนหรือผู้แทนในโอกาสแรก
และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)
ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยร่วมลงนามในกฎบัตรเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนสำหรับการลงนามดังกล่าว
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 10
มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์อาเซียน
แผนงาน/โครงการกิจกรรมด้านการศึกษาภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน
อาเซียนบวกสาม สุดยอดเอเชียตะวันออก
และความร่วมมืออาเซียนกับประเทศคู่เจรจา
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นเพื่อการพัฒนาการดำเนินความร่วมมือด้านการศึกษาอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของภูมิภาค
รวมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินความร่วมมือระหว่างกันให้สอดรับกับพลวัตการเปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ การประชุมฯ
ได้มีการพิจารณารับรองกฎบัตรเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
แผนปฏิบัติการอาเซียน จีน เพื่อความร่วมมือด้านการศึกษา พ.ศ. 2560
2563 และแผนปฏิบัติการอาเซียนบวกสามด้านการศึกษา พ.ศ. 2561 2568
ซึ่งเอกสารทั้งสามฉบับได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่
30 ตุลาคม 2561 แล้ว
ตลอดจนรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินความร่วมมือเพื่อพัฒนาการศึกษาภายใต้แผนงานการศึกษาอาเซียน
พ.ศ. 2559 -2563 รวมทั้งยังมีหัวข้ออื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น
การจัดกิจกรรมภายใต้ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ตกหล่น
โดยประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพในโครงการ
การประชาสัมพันธ์การดำเนินการเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนที่ตกหล่นและสร้าง
commitment ร่วมกันเพื่อให้มีการดำเนินการที่เข้มแข็ง
และการเตรียมการเป็นเจ้าภาพการเป็นประธานอาเซียน ในปี 2562
ของประเทศไทย และมีการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 29
ตุลาคม 1 พฤศจิกายน 2561 ณ กรุงเนปยีดอ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ดังนี้ (1) การประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนบวกสามครั้งที่ 4 (2)
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 9 (3)
การประชุมคณะทำงานอาเซียน รัสเซียด้านการศึกษา และ (4)
การหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมอินโดนีเซียและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการฟิลิปปินส์
3.
แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นางเจิดฤดี ชินเวโรจน์
ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ
(นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2561
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
4.
แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น
โดยมีองค์ประกอบ รวม 17 คน ประกอบด้วย นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
เป็นประธานกรรมการ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล
เป็นรองประธานกรรมการ นายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย
และนายโกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มีผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีกรรมการโดยตำแหน่งอีก 11 คน
มีอำนาจหน้าที่ กำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานสถาบันไทยโคเซ็น
และสนับสนุนนักเรียนนักศึกษาไทยในการไปศึกษาต่อ ณ สถาบันไทยโคเซ็น
ประเทศญี่ปุ่น
บริหารโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็นและกำกับดูแลแผนปฏิบัติการและงบประมาณในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านอุตสาหกรรมของสถาบันการศึกษารูปแบบโคเซ็นในประเทศไทย
เป็นต้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2562 เป็นต้นไป
Rewriter/Editor
บัลลังก์ โรหิตเสถียร