กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถนนราชดำเนินนอก – พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมประชุมหารือระหว่างผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2557 เพื่อติดตามความก้าวหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือด้านหลักสูตรพลศึกษา วิทยาศาสตร์การกีฬา และมัคคุเทศก์ โดยมี ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองกระทรวง ร่วมประชุมในครั้งนี้
รมว.ศธ. กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีและผู้บริหารจากทั้งสองกระทรวง คือ ศธ.และ กก. เพื่อ
สำหรับผลการหารือ
สำหรับแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา คือ ให้มีการสอนสาระวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาทุกสัปดาห์ในระดับชั้น ป.1 – ม.6 โดยเน้นกิจกรรมการเคลื่อนไหว ออกกำลังกาย เล่นเกมส์ และกีฬาไทย/สากล จัดให้มีกิจกรรมกายบริหารหลังเคารพธงชาติหรือก่อนเลิกเรียนทุกวันๆ ละ 15-20 นาที และกิจกรรมชุมนุม ชมรมพลศึกษา ให้นักเรียนเลือกตามความถนัดและสนใจ ตลอดจนบูรณาการวิชาพลศึกษาควบคู่กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
– อัตรากำลังของครูพลศึกษา สพฐ.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมหาวิทยาลัย อยู่ระหว่างดำเนินการจัดอบรมหลักสูตรพลศึกษาให้กับครูพลศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2) องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
มีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์การกีฬาระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอกในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น รวมทั้งหลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิตในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้หารือกับสถาบันพลศึกษา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนเตรียมความพร้อมศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้องค์ความรู้และกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬา เด็กและเยาวชน
3) การปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ ให้กับนักเรียนอาชีวศึกษา เพื่อให้สอดรับกับพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดรับกับพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 โดยได้เพิ่มหลักสูตรภาษาต่างประเทศที่ขาดแคลน เช่น ภาษาอาเซียน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น พร้อมทั้งเปิดรับครูอาสาสมัครจีนเข้ามาสอนในวิทยาลัยสังกัด สอศ. ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา
4) การกำหนดหลักสูตรมัคคุเทศก์ ในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) และระดับอนุปริญญา
ในปัจจุบันคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 โดยกำหนดหลักสูตรมัคคุเทศก์ในระดับ ปวส. และระดับอนุปริญญา ให้สามารถรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ และอยู่ในระหว่างดำเนินการเสนอไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต่อไป
นอกจากนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้จบการศึกษาในระดับ ปวส. สามารถรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา 50 (1) (ค) จึงได้มีการเสนอปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องของคุณสมบัติของมัคคุเทศก์ให้เป็นกฎกระทรวง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปรับแก้คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตในอนาคต ทั้งนี้ ในระดับ ปวส. ได้มีการพิจารณาให้สามารถรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามหลักสูตรที่คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กำหนดแล้ว
นวรัตน์ รามสูต
24/12/2557