การสอนซ่อมเสริมโดยวิธีเพื่อนสอนเพื่อน

  การสอนซ่อมเสริมโดยวิธีเพื่อนสอนเพื่อน : พี่สอนน้อง
  


        อนาคต ของประเทศไทยขึ้นอยู่กับเด็ก และเยาวชนในวันนี้ เพราะในโลกยุคใหม่การแข่งขันขึ้นอยู่กับความรู้และความสามารถของคนในชาติ โดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge – based Economy) ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปฏิรูปการเรียนรู้โดยเร็วที่สุด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของเยาวชนให้สามารถคิดเป็น ทำเป็น มีทักษะในการจัดการ มีคุณธรรมและค่านิยมที่ดี และรักการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง (รุ่ง แก้วแดง : 2543) ในการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ


         จากการประเมินผลในระดับสถานศึกษา และในระดับชาติ พบว่า ผู้เรียนมีความรู้ในระดับต่ำ อ่านไม่ได้เขียนไม่ถูก คิดวิเคราะห์ไม่เป็น ยิ่งมีการกล่าวว่าไม่ควรให้เด็กซ้ำชั้น ทำให้ครูต้องปล่อยเด็กเลื่อนชั้นไปโดยที่เด็กไม่พร้อมที่จะเรียน จึงเป็นสาเหตุให้เกิดความบกพร่องในการเรียนรู้สะสมยิ่งขึ้นไป อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่างๆ ในหลักสูตรใหม่ระบุให้เป็นหน้าที่ของสถานศึกษาต้องจัดให้มีการเรียนการสอนซ่อมเสริมและจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วย


        การสอนซ่อมเสริม (Remedial Teaching) เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้แก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง และเสริมทักษะความสามารถให้ดีขึ้น เกิดจากสาเหตุหลัก 3 ประการคือ ตัวครู ตัวเด็ก และสื่อการเรียนรู้ ดังนี้


ปัญหาจากตัวครู เช่น

1. ครูบางคนมีงานอื่นมากเกินไป และต้องทำเร่งด่วน ทำให้ไม่มีเวลาสอนเต็มที่


2. บางคนต้องไปประชุมอบรมบ่อยครั้ง ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยตรง


3. โรงเรียนมีกิจกรรมมาก และแต่ละกิจกรรมต้องใช้เวลามาก ตั้งแต่ขั้นเตรียมงาน วันงานและการจัดเก็บให้เรียบร้อย


4. ขาดการศึกษา หรือวิเคราะห์ผู้เรียนอย่างจริงจัง และเป็นระบบ


5. ไม่สามารถออกแบบการเรียนรู้ที่มีคุณภาพขาดความผลิตนวัตกรรม หรือสื่อที่จะนำไปแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับจุดบกพร่องของผู้เรียน

ปัญหาจากตัวนักเรียน เช่น

1. ขาดความขยัน ความสนใจ และความรับผิดชอบต่อการเรียน


2. ความคิด และระดับสติปัญญาต่ำ ระบบความจำเป็นและการเรียนรู้ไม่ดี


3. มีปัญหาด้านทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน


4. สภาพเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาภายในครอบครัว

ปัญหาจากสื่อการเรียนรู้ เช่น

1. สื่อขาดแคลนและไม่พอเพียง


2. สื่อไม่มีคุณภาพ และน่าสนใจที่จะส่งเสริมการเรียนรู้
 
1. ช่วยให้นักเรียนที่มีความรู้พื้นฐานต่ำมีความรู้สูงขึ้น


2. ช่วยให้นักเรียนที่เรียนช้ามีความเข้าใจทัดเทียมกับนักเรียนคนอื่นๆ


3. ช่วยให้นักเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินผลการเรียนรู้มีความรู้เพียงพอที่จะสอบผ่านรายวิชานั้นๆ


4. ช่วยให้นักเรียนที่สามารถผ่านการประเมินแต่มีการเรียนรู้ในระดับที่ไม่น่าพอใจ ได้พัฒนาตน

5. เองอย่างเต็มความสามารถ


ช่วยให้นักเรียนที่มีความสามารถดี สามารถพัฒนาตนเองเข้าสอบแข่งขันในระดับต่างๆ ได้
 
1. ครูต้องวิเคราะห์ปัญหาของผู้เรียนเป็นรายคน โดยวิธีการวินิจฉัยตามผลการเรียนรู้ หรือสาระของวิชานั้นๆ เพื่อนำมาวางแผนการสอนและผลิตสื่อ


2. ครูต้องรู้ข้อบกพร่องของนักเรียน และรู้วิธีแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี


3. การสอนซ่อมเสริม ต้องเริ่มจากความรู้พื้นฐาน หรือเนื้อหาย่อยๆ ไปสู่เนื้อหาใหญ่เป็นระบบ


4. ในการสอนควรใช้สื่อการเรียนรู้ แบบฝึกและวิธีการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนในของนักเรียน


5. ต้องมีการติดตามและประเมินผลอย่างสอดคล้องกับจุดบกพร่องที่ซ่อมเสริม ให้กำลังใจและเสริมแรง
 
1. การสอนโดยครู แบบตัวต่อตัว เหมาะกับนักเรียนที่มีความบกพร่องไม่มาก หรือนักเรียนในชั้นเล็กๆ


2. การสอนเป็นกลุ่มย่อย ในกรณีที่นักเรียนมีความบกพร่องเหมือนๆ กัน กลุ่มหนึ่งประมาณ 3-5 คน


3. เพื่อนสอนเพื่อน ครูจะคัดเลือกนักเรียนที่เก่งช่วยสอนนักเรียนที่เรียนอ่อน อาจจะสอนตัวต่อตัวหรือเป็นกลุ่มก็ได้


4. พี่สอนน้อง เป็นการนำนักเรียนรุ่นพี่ที่มีความสามารถและผลการเรียนที่ดี มาช่วยสอนนักเรียนรุ่นน้องที่เรียนอ่อน หรือช่วยสอนเนื้อหาใหม่ก็ได้


5. การสอน โดยการศึกษาด้วยตนเอง จากสื่อ IT วีดีทัศน์ และชุดการเรียนต่างๆ 
 
ที่มาข้อมูล : สุกัน เทียนทอง วารสานวิชาการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2549 กระทรวงศึกษาธิการ